การออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่าจากวัสดุเหลือใช้ประเภทป้ายโฆษณาสู่การสร้างอัตลักษณ์

Product design to add value from billboard waste to identity creation

Authors

  • รัชชานนท์ พัฒนโสภณ

Keywords:

ป้ายโฆษณาไวนิลเหลือใช้, เพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์, อัตลักษณ์สถานที่, billboard garbage, product upcycling, location identity

Abstract

บทความฉบับนี้นำเสนอผลการวิจัยการออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่าจากป้ายโฆษณาไวนิลที่ใช้แล้ว นำมาสร้างอัตลักษณ์จากสถานที่ตำบลแสนสุข จังหวัดชลบุรี มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและทำการทดลองคุณสมบัติ กรรมวิธีในการออกแบบวัสดุป้ายโฆษณาไวนิลที่ใช้แล้วนำมาออกแบบผลิตภัณฑ์ให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับการใช้งานเป็นผลิตภัณฑ์กระเป๋าต้นแบบให้กับตำบลแสนสุข จังหวัดชลบุรี โดยขอบเขตงานวิจัยครั้งนี้ จะออกแบบจากอัตลักษณ์ชายหาดบางแสน สู่ผลิตภัณฑ์กระเป๋าสำหรับการท่องเที่ยวชายทะเล ซึ่งกลุ่มเป้าหมายในการออกแบบ ได้แก่ ประชากรกลุ่มนักท่องเที่ยวทั้งในพื้นที่ และนอกพื้นที่จังหวัดชลบุรี โดยมีวิธีการเก็บรวบรวมสถิติจากแบบสอบถามความต้องการและความคิดเห็นของสถานที่และผลิตภัณฑ์กระเป๋าสำหรับการท่องเที่ยว ผลที่ได้จากการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ กิจกรรมการพักผ่อนริมทะเล 81% และการใช้กระเป๋าขนาดเล็กแบบกันน้ำ ทั้งหมด จำนวน 120 คน ผลที่ได้จากการศึกษาได้นําไปวิเคราะห์ ประเภทวัสดุป้ายโฆษณาไวนิลที่ใช้แล้วและวัสดุที่คัดเลือกจากสถานที่ชายหาดบางแสน คือ วัสดุ จากเตียงผ้าใบ วัสดุจากห่วงยางและวัสดุจากร่มชายหาด รูปแบบผลิตภัณฑ์ได้ทั้งหมด 3 รูปแบบ คือ รูปแบบ A1 กระเป๋าสะพายข้าง รูปแบบ A2 กระเป๋าคาดหน้าอก และรูปแบบ A3 กระเป๋าสะพายหลัง ที่ได้ผ่านการวิเคราะห์จากอัตลักษณ์ของสถานที่ชายหาดบางแสน จังหวัดชลบุรี ข้อค้นพบที่ได้ คือการผสมผสานวัสดุทั้ง 2 เข้าด้วยกันทำให้เกิดเป็นผลิตภัณฑ์รูปแบบใหม่ ซึ่งต่างจากผลิตภัณฑ์กระเป๋าไวนิลทั่วไป และยังออกแบบให้มีภาพลักษณ์ที่สอดคล้องกับสถานที่ ผลการสรุปการออกแบบผลิตภัณฑ์ทั้ง 3 รูปแบบ คือ รูปแบบ A1 ค่าเฉลี่ย 4.07 มีความพึงพอใจลำดับที่ 1 รูปแบบ A3 ค่าเฉลี่ย 3.95 มีความพึงพอใจลำดับที่ 2 เพราะว่าสามารถใช้สำหรับการท่องเที่ยวชายทะเลได้ดีด้วยภาพลักษณ์ของผลิตภัณฑ์มีความเหมาะสมกับการนำไปใช้งานและสะท้อนรูปทรงที่สวยงามจากอัตลักษณ์วัสดุป้ายโฆษณาไวนิลที่ใช้แล้วและวัสดุเสริมแสดงถึงภาพลักษณ์ชายหาดบางแสนจังหวัดชลบุรี  This research paper is to present the results of product design research done on used vinyl billboards and how upcycling can be added to them. It is also how these vinyl billboards can create an association with and identity for Saen Suk District in Chon Buri. The objective was to study and experiment on the properties of the design process of used vinyl billboard materials to design the product to be suitable and consistent with the use as a prototype bag product for Saen Suk Subdistrict. Chonburi Province by the scope of this research will be designed from the Bangsaen beach identity to a bag product for beach tourism The target group for the design is the population of tourists in the area. and outside the area Chonburi Province The method of collecting statistics is a questionnaire for needs. Use of places and luggage products for tourism The results of the data collection were 81% beach leisure activities and the use of waterproof small bags in total of 120 people. The results of the study were used to analyze used vinyl billboard materials and materials. Selected from Bangsaen Beach is the material from the canvas bed. Materials from rubber rings and materials from beach umbrellas A total of 3 product styles are available: A1 style cross body bag, A2 style chest bag, and A3 style backpack. which has been analyzed from the identity of Bang Saen Beach Chonburi Province findings It is a combination of both materials to create a new product that is different from other vinyl bags. and also designed to have an image that is consistent with the location. The results of the product design summary of all 3 formats are: A1 format, the average value is 4.07, the first satisfaction is the A3 format, the average value is 3.95, the second satisfaction is because it can be used for seaside tourism well with the product image. It is suitable for use and reflects the beautiful shape from the identity of the used vinyl billboard material and the supplementary material representing the image of Bangsaen Beach, Chonburi Province.

References

กรมควบคุมมลพิษ. (2561) รายงานสถานการณ์ขยะมูลฝอยชุมชนของประเทศไทย ปี 2559. แหล่งที่มา https://www.schoolofchangemakers.com/knowledge/11678, สืบค้นเมื่อ กุมภาพันธ์ 2565

กิ่งพร ทองใบ. (2541). สื่อโฆษณาภายนอกอาคาร ขั้นตอนการออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ เพื่อการโฆษณาของบริษัทไอ.เจ.สยาม จำกัด กรณีศึกษา บริษัท Huawei แหล่งที่มา https://e-research.siam.edu/kb/2-21. สืบค้นเมื่อ กุมภาพันธ์ 2565

โครงการสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมไทย iTAP. (2557). 3RS หลักการจัดการของเสียขั้นพื้นฐาน, เข้าถึงได้จาก หนังสือพัฒนาเศษวัสดุอย่างสร้างสรรค์.

โครงการ Upcycling the Oceans Thailand. (2562), เนรมิตขยะพลาสติกในท้องทะเลให้กลายเป็นสินค้าแฟชั่น, แหล่งที่มา https://adaymagazine.com/upcycling-the-oceans, สืบค้นเมื่อ กุมภาพันธ์ 2565.

บุริม โอทกานนท์. (2552). อัตลักษณ์ของแบรนด์, แหล่งที่มา http://panupat-arti3901.blogspot.com/ 2012/07/logo.html, สืบค้นเมื่อ ตุลาคม 2565

ปภัสรา โคตะขุน (2559), รูปทรงและคําศัพท์คณิตศาสตร์, แหล่งที่มา https://prapasara.blogspot.com/ 2016/12/blog-post.html, สืบค้นเมื่อ ตุลาคม 2565

ภาณุ อิงคะวัต (2561) กระแสแฟชั่น, Grey Hound Brand, แหล่งที่มา https://readthecloud.co/ceo-5/

โรงงานผลิตเครื่องหนัง leather mine. (2559), วัตถุดิบสังเคราะห์หนังเทียม, แหล่งที่มา www.leathermine. com, สืบค้นเมื่อ ตุลาคม 2565.

วสันต์ แผลงลิทธิ์. (2559). การตลาดออนไลน์, แหล่งที่มา https://www.wynnsoft-solution.com/, สืบค้นเมื่อ สิงหาคม 2565.

วิลเลียม แมคโดโนจ์. (2561), แหล่งกำเนิดสู่แหล่งกำเนิด แหล่งที่มา http://www.tcdc.or.th/articles/design- creativity/17190/William-McDonough, สืบค้นเมื่อ มิถุนายน 2565.

เว็บไซต์แบรนต์ดูดี. (2561). กลยุทธ์การตลาดออนไลน์ 4Cs. แหล่งที่มา https://www.branddoodee.com/ category/, สืบค้นเมื่อ มิถุนายน 2565

ศิริวรรณ เสรีรัตน์และคณะ. (2541). กลยุทธ์การตลาด การบริหารการตลาด และกรณีศึกษา กรุงเทพฯ. ไดมอน อิน บิสสิเน็ต เวิร์ล

ศูนย์พิษวิทยารามาธิบดี. (2543), มลพิษจากการเผาไหม้พลาสติกบางชนิด ปี 2543. แหล่งที่มา https://med.mahidol.ac.th/poisoncenter/th/bulletin/bul99/v7n1/Table Monomer, สืบค้นเมื่อ ตุลาคม 2565.

สกนธ์ ภู่งามดี. (2545). แนวคิดความคิดสร้างสรรค์สำหรับการออกแบบผลิตภัณฑ์, สาขาดิจิทัลอาร์ต คณะดิจิทัลมีเดีย มหาวิทยาลัยศรีปทุม

สิงห์ อินทรชูโต. (2557). กระบวนการออกแบบจากเศษวัสดุ, เข้าถึงได้จาก หนังสือพัฒนาเศษวัสดุ อย่างสร้างสรรค์

สุภาภรณ์ กาณจน์วีระโยธิน. (2556). “จากอู่สู่อู่” Cradle to Cradle. สำนักพิมพ์มติชน แหล่งที่มา https://oyspace.wordpress.com/2012/03/28/cradle-to-cradle, สืบค้นเมื่อ ตุลาคม 2565

สุมิตรา ศรีวิบูลย์. (2547). การออกแบบอัตลักษณ์, กรุงเทพฯ. Core Function.

สุวิธธ์ สาดสังข์. (2558). การจัดการสินค้าแฟชั่น, สาขาวิชาการออกแบบเครื่องแต่งกาย คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

อภิญญา เฟื่องฟูสกุล. (2543), แนวความคิดหลักการทางสังคมวิทยาเรื่องอัตลักษณ์ กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร

ไอวอรี่ ทาวเวอร์. (2565), ออกแบบป้ายอย่างไรให้โดนใจลูกค้า, แหล่งที่มา https://www.ivorytower.co.th, สืบค้นเมื่อ ธันวาคม 2565

Am2b Marketing. (2560), เทคนิค ออกแบบป้ายโฆษณา อย่างไรให้โดนใจผู้บริโภค แหล่งที่มา https://www.am2bmarketing.co.th/creative-design/billboard-design-part-37, สืบค้นเมื่อตุลาคม 2565.

Ehs Techniques and Thai National Lci Database. (2561). Life - Cycle Assessment. (2022, October 15). Retrieved from http://greenstylethailand.com/?p=3998, %2021%20Jun,%202018.

McCarty, E. J., &. Perreault, W. D. Jr. (1990). Basic marketing. Illinois: Ridchard D. Irwin.

Keawjan, R. (2013). Corporate identity design. (2022, October 15), Retrieved from http://panupat-arti3901.blogspot.com/2012/07/logo.html.

Kendall, D.G. (1984). Shape Manifolds, Procrustean Metrics, and Complex Projective Spaces. Bulletin of the London Mathematical Society, 16(2), 81-121.

Shannon South. (2562). Remade usa. (2022, October 15), Retrieved https://remadeusa.com/TS Frame Wood.

Hall, S. (1997). Representation: Cultural representations and signifying practices. London: Sage.

Downloads

Published

2023-09-25