การออกแบบอินเตอร์เฟสของแอปพลิเคชันธุรกิจบริการส่งอาหารโดยใช้แนวคิดเศรษฐกิจขี้เกียจ

Interface Design for food delivery business application by using the lazy economy concept

Authors

  • พชร บุตตะโยธี
  • อารยะ ศรีกัลยาณบุตร

Keywords:

เศรษฐกิจขี้เกียจ (Lazy Economy), ธุรกิจบริการสั่งอาหาร (Food Delivery Business), หน้าจอส่วนต่อประสานระหว่างผู้ใช้กับระบบ (User Interface/Ul)

Abstract

เศรษฐกิจขี้เกียจเป็นการตลาดแนวใหม่ ซึ่งเกิดจากพฤติกรรมของผู้บริโภคที่ต้องการความสะดวกสบายในการดำรงชีวิต สามารถเก็บแรงหรือเวลาไว้ไปทำอย่างอื่นได้ ถือเป็นแรงผลักดันที่ทำให้ธุรกิจต่าง ๆ ต้องปรับตัวเพื่อให้สอดคล้องกับการบริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป ธุรกิจที่เป็นกระแสสำคัญในปัจจุบันนี้คือ ธุรกิจบริการส่งอาหาร (Food Delivery) ทว่าธุรกิจนี้ยังมีช่องว่างทางการตลาดที่ยังไม่ครอบคลุมพฤติกรรมของคนไทยบางส่วนที่ยังคงต้องการความสะดวกสบายมากกว่าเดิม งานวิจัยนี้จึงมุ่งเน้นการออกแบบเรขศิลป์สำหรับเศรษฐกิจขี้เกียจ กรณีศึกษาธุรกิจบริการส่งอาหาร โดยมีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดและกลยุทธ์สำหรับธุรกิจโดยใช้เศรษฐกิจขี้เกียจ 2) เพื่อศึกษากลุ่มเป้าหมายที่เหมาะสมกับกรณีศึกษาธุรกิจบริการส่งอาหาร 3) เพื่อสร้างแนวทางในการออกแบบเรขศิลป์ที่เหมาะสมโดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพรูปแบบ Practice Based Research ในการทำงานสร้างสรรค์โดยให้การปฏิบัติเป็นเครื่องมือนำไปสู่ความรู้ใหม่ วิธีวิจัยประกอบด้วย 1) เก็บรวบรวมวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง 2) สร้างเครื่องมือในการวิจัยครั้งที่ 1 3) เก็บข้อมูลและวิเคราะห์ครั้งที่ 1 ด้วย การสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้เชี่ยวชาญทั้งหมด 3 ท่าน และเก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์กลุ่มย่อย (Focus group) โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) จำนวน 16 ท่าน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 8 ท่าน แบ่งกลุ่มตามเพศ 4) สร้างเครื่องมือในการวิจัยครั้งที่ 2 5) เก็บข้อมูลและวิเคราะห์ครั้งที่ 2 จากผู้เชี่ยวชาญและกลุ่มตัวอย่างเดิม ด้วยวิธีการเดิม ผลการศึกษาด้านกลยุทธ์พบ ว่าจุดขายสำคัญคือ 1) มีบริการช่วยคิดคัดเลือกเมนูอาหารอัตโนมัติ 2) มีบริการสั่งอาหารหลายมื้อได้ในครั้งเดียว 3) มีบริการจัดส่งที่ผู้ใช้ปรับเปลี่ยนได้ตามความต้องการ ผลการศึกษาด้านประชากร พบว่ากลุ่มเป้าหมายหลักคือคนใน Generation Y มีพฤติกรรมรักสบาย ต้องการบริการที่สะดวก สบาย ประหยัดแรง ประหยัดเวลา ผลการศึกษาแนวทางในการออกแบบเรขศิลป์พบว่า แนวโน้ม Soft shadows เป็นแนวโน้มที่เหมาะสมมากที่สุด รองลงมาคือแนวโน้ม Mixing photography with graphics และ Glassmorphism ซึ่งกลุ่มเพศชายพึงพอใจกับแนวโน้ม Mixing photography with graphics มากกว่า ในขณะที่กลุ่มเพศหญิงพึงพอใจกับแนวโน้ม Glassmorphism มากกว่า ลำดับถัดมาที่มีความเหมาะสมในการนำไปใช้งานต่อได้ คือแนวโน้ม 3D Graphics ส่วนแนวโน้ม Brutalism และ Geometric เป็นแนวโน้มที่ไม่เหมาะสมกับกลุ่ม เป้าหมายและธุรกิจนี้  Lazy economy is a new marketing originated from consumer behavior with the need for convenience in life and the ability to save energy and time to do other things. It is the driving force that makes businesses to adapt themselves to meet the changing consumption. The main trend business today is food delivery business, but it still has a gap in the market that does not cover the behavior of some Thai people who still need more convenience. This research focuses on graphic design for the lazy economy: a case study of food delivery business. The objectives are as follows: 1) to study ideas and strategies for businesses by using lazy economy. 2) to study the target groups of a case study of food delivery business. 3) to create the suitable graphic design guidelines. The research method is by using a qualitative research model of practice-based research in creative work by using practice as a tool to discover the new knowledge. The research practice consisted of 1) collect and review literature. 2) research instrument development for phase 1. 3) collect and analysis data for phase 1 by in-depth interview of 3 experts and collect data from focus group interview by using method of purposive sampling of 16 people, divided into 2 groups of 8 people each by gender. 4) developed instrument for phase 2. 5) collect and analyst data for phase 2 by the same method with the same experts and sampling. The finding for the business strategy in term of the key selling point was 1) automatic menu selection assistance. 2) multiple meals order at one time. 3) user-adjustable delivery services. The result of the demographic study found that the main target group is people in Y generation who needed a more comfortable lifestyle and convenience with energy and time-saving services. A study of graphic design trends found that soft shadows trend was the most appropriate trend followed by mixing photography with graphics trend and Glassmorphism trend. Males were more preferred with mixing photography with graphics, while females were more preferred with the Glassmorphism trend. The next preferred trend is the 3D Graphics trend, while the Brutalism and Geometric trends were not suitable for this target group and the business.

References

กรมประชาสัมพันธ์. (2564), Gen Y Gen Me ประชากรกลุ่มใหญ่ในโลกยุคดิจิตอล. [ออนไลน์] แหล่งที่มา https://www.prd.go.th/thicontenticategoryidetailid/31/id/10847, สืบค้นเมื่อมีนาคม 2564.

ถนัดกิจ จันกิเสน (2563), มองโอกาสในวิกฤต ZEN” เปิดโมเดลธุรกิจใหม่ “ผูกปิ่นโตอาหารญี่ปุ่น” รับพฤติกรรมคนไม่ออกไปกินข้าวนอกบ้าน, สำนักข่าว THE STANDARD. [ออนไลน์] แหล่งที่มาhttps://thestandard.corzen -business-model, สืบค้นเมื่อ พฤศจิกายน 2564.

บัซซี่บล็อก. (16 กันยายน 2562), เศรษฐกิจขี้เกียจ (Lazy Economy), คอลัมน์อินโนสเปซ หนังสือพิมพ์คมชัดลึก [ออนไลน์]. แหล่งที่มา https://www.komchadluek.netinewsilifes.yle/388610, สืบค้นเมื่อ มกราคม 2563.

ผู้จัดการออนไลน์. (6 พฤศจิกายน 2563), กลุ่ม “Milennials” ฐานผู้บริโภคสําคัญ ผลักดันการเติบโตทางเศรษฐกิจ. [ออนไลน์], แหล่งที่มา https://mgronline.com'smesidetal/9630000114917, สืบค้นเมื่อ พฤศจิกายน 2563.

พฤทธิ์ พุฒจร. (2563) 9 แนวโน้มใหม่การออกแบบกราฟิก ประจำปี 2564. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา https://spidyhero.wordpress.com/ 2021/01/20/9uigraphicdesigntrendsfor2021, สืบค้นเมื่อ พฤศจิกายน 2564.

ภาพพิมพ์ พิมมะรัตน์. (2563)- ผูกปิ่นโตแบบ Wasteless Food delivery กับ RISE Cafe. greenery. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา htps://www.greenery.orgiarticlestwastesides tory-wasteless-food delivery-rise-cafe, สืบค้นเมื่อ พฤศจิกายน 2564.

รัชพล เตชะพงศ์กิต, ฝ่ายวิเคราะห์และเตือนภัยทางเศรษฐกิจ, สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.). (2562). การปรับตัวของ SME ร้านอาหารต่อการเติบโตของบริการธุรกิจ Food Delivery Application. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา https://www.sme.go.th/ uploadimod_downlcadidownload-20190920041159.pdf, สืบค้นเมื่อ กุมภาพันธ์ 2563.

ไลฟ์ฟินคอร์ป. (2564) รู้จัก Business Model Canvas (ออนไลน์), แหล่งที่มา https://www.set.or.thisetienterprise/html.da?name=bmc, สืบค้นเมื่อ พฤศจิกายน 2563.

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, (2562). บทวิเคราะห์แนวโน้มธุรกิจ, อุตสาหกรรม, การแข่งขันของแอปพลิเคชันสั่งอาหาร ดันธุรกิจ Food Delivery เติบโตต่อเนื่อง คาดมีมูลค่าสูงถึง 33,000 - 35,000 ล้านบาท ในปี 2562. กระแสทรรศน์. [ออนไลน์]. ฉบับที่ 2395. แหล่งที่มา https://www.kasikomresearch.com/thianalysis/k-econ/business/ Pagesiz2995.aspx, สืบค้นเมื่อ สิงหาคม 2563

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2564). บทวิเคราะห์แนวโน้มธุรกิจ, บริการ, โควิด-19 และมาตรการควบคุม การระบาด....คาดทั้งปี 2564 มูลค่าตลาดจัดส่งอาหารขยายตัวร้อยละ 18.4 - 24.4. กระแสทรรศน์ [ออนไลน์]. ฉบับที่ 3256. แหล่งที่มา https://lkasikomresearch.com/th/analysisk- econ/business/Pagesifoad-delivery-23256. aspx, สืบค้นเมื่อ สิงหาคม 2563

ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ สังกัดสํานักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) (2562). เจาะเทรนด์โลก 2020 โดย TCDC Positive Power. [ออนไลน์]. แหล่งที่มาhttp://resource.tcdc.or.thvebook/TCDC-TREND2020.pdf, สืบค้นเมื่อ กุมภาพันธ์ 2563

สํานักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิทส์ (สพธอ.). (2563). ETDA เผย คน Gen-Y สั่งอาหาร ออนไลน์มากสุด และกว่า 40% สั่งเพราะหวั่นโควิด-19 [ออนไลน์]. แหล่งที่มา https://www.etda.or.thith/https/www-etda-or-thth/newsevents/pr-news/Online-Food-Delivery-Survey-2020.aspx. สืบค้นเมื่อ พฤศจิกายน 2563

สํานักงานสถิติแห่งชาติ. (2553). จํานวนประชากรจากการทะเบียน จําแนกตามอายุ เพศ และจังหวัด พ.ศ. 2563 [ออนไลน์]. แหล่งที่มา https://statbbi.nso.go.th/staticreport /page/sectorth/01.aspx, สืบค้นเมื่อ มีนาคม 2564

หนังสือพิมพ์ข่าวสด - ข่าวสดออนไลน์ (2563), ชัชชาติ ยกเคสร้านอาหารปรับตัว เปลี่ยนขายครั้งละ สิบมื้อ ตอบโจทย์สู่โควิด [ออนไลน์]. แหล่งที่มา https://www.khaosad.co.thipolitics'news_4079562, สืบค้นเมื่อ พฤศจิกายน 2564

designs Team (2563). 9 top app design trends for 2021. [ออนไลน์]. แหล่งที่มาhttps://99designs.com/blog/trend/9-top-app-design-trends-for-2021, สืบค้นเมื่อ พฤศจิกายน 2564

Aksarapak C. Contentshifu. (2563). 7Ps Marketing แกะสูตรกลยุทธ์การตลาดแบบ 7 ปัจจัย ที่คอยช่วยเหลือ Marketers [ออนไลน์]. แหล่งที่มา https://icontentshifu.com/blog/7ps- marketing-mix, สืบค้นเมื่อ พฤศจิกายน 2563

Jouan Marcel (2563). Top Web Trends for 2020 and why they are coming [ออนไลน์]. แหล่งที่มา https://www.litekart.in/blog/ top-web-trends-for-2020-and-why-they-are- coming-jouan-marcel, สืบค้นเมื่อ พฤศจิกายน 2564

Marketeer Team. (2562), สงครามแอป “ส่งอาหาร” ทำธุรกิจ Food Delivery พุ่ง 35,000 ล้าน [ออนไลน์]. แหล่งที่มา https://marketeeronline.co/archives/107485, สืบค้นเมื่อ พฤศจิกายน 2564

PP. (2561), ทำความเข้าใจพฤติกรรม “มิลเลนเนียลไทย” กลุ่มเป้าหมายแห่งอนาคต ที่มาพร้อมความย้อนแย้งในตัวเอง, Brand buffet. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา https://ww.brandbuffet.in.thy2018/10thai-millennial-behavior-feishman-hillard, สืบค้นเมื่อ พฤศจิกายน 2564.

Pran Suwannatat. (2553). เปิดศึกวงการ Food Delivery ไทย: การแข่งขันที่ไม่ใช่แค่โปรโมชั่นส่งฟรี [ออนไลน์]. แหล่งที่มา htps://brandinside.asia/food-delivery-competition-in-thailand, สืบค้นเมื่อ พฤศจิกายน 2564

Ratirita. (2564). ZEN Group พลิทกระบวนท่า เช่าครัวโรงแรม ตึกแถวนอกห้างฯ หาโมเดลสำรอง “ระยะยาว”, Positionning. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา https:!posioningmag.com/1343358, สืบค้นเมื่อ พฤศจิกายน 2564.

TerraBKK เคล็ดลับการลงทุน (2562), Where Y? สัดส่วน Gen Y ในประเทศไทย. [ออนไลน์] แหล่งที่มา https://www.terrabkk.com/anticles/191968, สืบค้นเมื่อ พฤศจิกายน 2563

UI Freebies. (2564). UI Design Trends in 2021. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา https://luireebies.net/ blog/ui-design-trends-in-2021, สืบค้นเมื่อ พฤศจิกายน 2564

Wewebplus Co.,ltd. (2564), 11 แนวโน้มการออกแบบ UX/UI ที่จะได้รับความสนใจจากผู้ใช้ในปี 2020-2021 [ออนไลน์]. แหล่งที่มา https://wewebplus.com/blogsidetail?id -qQEcAatl, สืบค้นเมื่อ พฤศจิกายน 2564

Downloads

Published

2023-09-25