โครงการส่งเสริมความเข้มแข็งและสํานึกรักท้องถิ่นเชิงศิลปวัฒนธรรมของชุมชนเมืองหลังสวน จ.ชุมพร ด้วยความร่วมมือเชิงวิชาการของสาขาศิลปศึกษา

A project to promote the strength and sense of local love in terms of art and culture of the community of Muang Lang Suan, Chumphon Province, with the academic cooperation of Arts Education

Authors

  • พิสิฐ ตั้งพรประเสริฐ
  • ดวงรัตน์ ด่านไทยนำ
  • กฤษฎิ์ ตุลวรรธนะ

Keywords:

การเรียนรู้ชุมชน, กิจกรรมเพื่อชุมชน, ค่ายศิลปะ, ศิลปศึกษา, Community Learning, Community Activities, Art Camp, Art Education

Abstract

บทความนี้ได้นำเสนอกระบวนการดำเนินงานโครงการต่อยอดจากชุดโครงการ “ค่ายศิลปศึกษาสู่ชุมชน” เพื่อพัฒนาทักษะและประสบการณ์การเรียนรู้ด้านศิลปะให้กับเยาวชนเพื่อต่อยอดเส้นทางงานประกวดและส่งเสริมอาชีพ ณโรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านท่าตะเภา) จังหวัดชุมพร (พ.ศ. 2563) เป็นโครงการพัฒนานักศึกษาของสาขาศิลปศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ในการลงพื้นที่พัฒนาชุมชนนอกสถานที่ “ค่ายศิลปะ” ต่อมาปี พ.ศ. 2565 นี้ ได้มีการจัดกิจกรรมขึ้นอีกครั้ง ณ จังหวัดดังกล่าว แต่ได้เปลี่ยนจากชุมชนเป็นโรงเรียนอุดมวิทยากร อ.หลังสวน จ.ชุมพร เพื่อส่งเสริมนักศึกษา สาขาศิลปศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากรรุ่นต่อมา ภายใต้ชื่อ “โครงการส่งเสริมความเข้มแข็งและสำนึกรักท้องถิ่นเชิงศิลปวัฒนธรรมของชุมชนเมืองหลังสวน จ.ชุมพร ด้วยความร่วมมือเชิงวิชาการของสาขาศิลปศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร” ในการจัดกิจกรรมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อต้องการศึกษาเรียนรู้ ความต้องการของชุมชนและการเรียนรู้แนวทางการปฏิบัติงานจากการจัดกิจกรรมค่ายศิลปะที่ผ่านมาเป็นค่ายศิลปะปีที่ 2 นับว่า เป็นการพัฒนาต่อยอดขึ้นจากปีที่ 1 ใช้กระบวนการวิเคราะห์ การจัดกิจกรรมเพื่อชุมชนด้วยแนวคิด PDCA ของ วิลเลียม เอ็ดเวิร์ดส์ เดมิง (William Edwards Deming) และแนวคิดการจัดการเรียนรู้ชุมชนอย่างเป็นระบบ ผลการดำเนินงานการจัดกิจกรรมดังกล่าวสามารถสรุปได้ว่า ผู้เข้าร่วมกิจกรรมซึ่งประกอบ ด้วยนักเรียนโรงเรียนอุดมวิทยากร ครูและคณะผู้บริหารโรงเรียนอุดมวิทยากร, กลุ่มนักปราชญ์ชุมชน, กลุ่มคณะผู้ปกครองเมือง อำเภอหลังสวนและประชาชนทั่วไปจำนวน 50 คน มีความพึงพอใจตลอด การจัดกิจกรรม 3 คืน 4 วัน สรุปค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 86.6 อยู่ในระดับมาก ทั้งนี้ส่วนหนึ่งมาจากความสำเร็จ ตามชื่อโครงการ คนในชุมชนมีความภูมิใจสำนึกรักบ้านเกิด ได้ข้อมูลของดีในแต่ละชุมชนโดยทีม นักศึกษาและคณาจารย์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ไปจัดทําสื่อให้สิ่งที่ได้รับ คือ คนในชุมชนพร้อมใจในการให้ข้อมูลอย่างภาคภูมิใจและต้องการเชิญชวนคนมาเที่ยว สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการประสานความร่วมมือระหว่างภาคการศึกษาและภาคประชาชน ครบตามองค์ประกอบสำคัญยิ่งของชุมชนนั่นคือ “บวร” ได้อย่างเข้มแข็งและภาคภูมิใจ This article presents the project implementation process from the project series. “Art Education Camp to Community” to develop skills and experiences in art learning for young people to extend the path of the contest and promote careers at Municipal School 1 (Ban Tha Taphao), Chumphon Province (2020) as a student development project. of art education, Faculty of Education Silpakorn University in the community development area outside the “Art Camp” Later in the year 2022, there was another activity held in that province. but changed from the community to Udom Wittayakorn School, Lang Suan District, Chumphon Province to encourage student’s art education Faculty of Education Silpakorn University, the next generation, under the name of “project to promote strength and local consciousness in terms of art and culture of the community of Lang Suan, Chumphon province with academic cooperation of the field of art education Faculty of Education Silpakorn University. To want to study, learn the needs of the community and learn the operational guidelines from the past art camp activities as the 2nd year of the art camp, which is considered an extension of the development from the 1st year. Organization of activities for the community with the concept of PDCA of William Edwards Deming (William Edwards Deming) and the concept of systematic community learning management. The performance of such activities can be concluded that Participants, consisting of Udom Wittayakorn School Students Teachers and administrators of Udom Wittayakorn School, community scholars group, city governor group Lang Suan District and the general public of 50 people were satisfied throughout the 3 nights and 4 days of activities. In summary, the mean was 86.6 in a high level, which was considered very good. This is partly from the success of the project name. People in the community are proud of their homeland. Get good information in each community by a team of students and faculty Silpakorn University Go to create media for what you get, that is, people in the community are willing to proudly give information and want to invite people to come and visit. What is important is the coordination between the education sector and the public sector. complete according to the most important element of the community that is “Bowon” with strength and pride.  

References

ชยันต์ วรรธนะภูติ, (2537). การวิเคราะห์ข้อมูลในงานวิจัยเชิงคุณภาพ, กรุงเทพฯ : สายส่งศึกษิต เคล็ดไทย.

วีระพล บดีรัฐ. (2543), PDCA วงจรสู่ความสำเร็จ, จุลสาร : ประชาชน กรุงเทพฯ.

ประวัติโรงเรียนอุดมวิทยากร. (2553). [ออนไลน์]. แหล่งข้อมูล http://udomwittayakorn.ac.th/datashow_ 47055, สืบค้นเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2566.

ประเวศ วะสี. (31 กรกฎาคม 2555) จุดเปลี่ยนมหาวิทยาลัยไทย-จุดเปลี่ยนประเทศไทย, โพสต์ทูเดย์, 2.

วิกิพีเดีย. (2565) อำเภอหลังสวน. [ออนไลน์]. แหล่งข้อมูล https://th.wikipedia. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2566.

วิไลภรณ์ ฤทธิคุปต์. (2561). การพัฒนาความสามารถในการใช้คำถามของครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยการชี้แนะและเป็นพี่เลี้ยง, วารสารวิชาการหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 9(26), 111-120.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาแห่งชาติ (2552). แผนการศึกษาแห่งชาติฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2552-2559. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.

เสริมศักดิ์ ขุนพล. (2557). การสืบทอดและอนุรักษ์พิธีกรรมโนราโรงครูคณะเทพชัย โสภณศิลป์และคณะจำเริญ ศ.พนมศิลป์ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา วิทยานิพนธ์ปริญญาโทที่ไม่มีการตีพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

เสริมศักดิ์ ขุนพล. (2557). การศึกษาอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม ความเชื่อของชุมชนเกาะยอ วารสารปาริชาต มหาวิทยาลัยทักษิณ, 28(3), 82-103.

Crompton, J. L. (1979). An assessment of the image of Mexico as a vacation destination and the influence of geographical location upon that image. Journal of Travel Research, 17(4), 18-23.)

Pearce, P. L. (2005). Tourist behavior: Themes and conceptual schemes. Channel View Publications.

Swarbrooke, J. (1999). Tourism motivation and travel-related incentives. In J. Swarbrooke (Ed.), The Development and Management of Visitor Attractions (pp. 52-71). Butterworth-Heinemann

Downloads

Published

2023-09-25