การวิเคราะห์องค์ประกอบศิลป์รูปธรรมเชื่อมโยงนามธรรมในงานประติมากรรมของภาคใต้

An analysis of concrete art elements linking abstraction in southern sculpture

Authors

  • สมพร ธุรี
  • พัฒนา ฉินนะโสต
  • บุญเรือง สมประจบ

Keywords:

ความคิดเชิงนามธรรม, พหุวัฒนธรรม, รูปธรรม, ประติมากรรมในภาคใต้, abstract idea, multicultural, concrete, sculpture in the south

Abstract

การวิเคราะห์ความคิดเชิงนามธรรมของสังคมพหุวัฒนธรรมในประติมากรรมของภาคใต้ เป็นการวิเคราะห์รูปธรรมด้านองค์ประกอบศิลป์ เนื้อหาสาระทางพุทธศาสนา ความเชื่อ และรูปแบบ การแสดงออกที่หลากหลายของพหุวัฒนธรรม ในสมัยรัตนโกสินทร์ (รัชกาลที่ 1 - รัชกาลที่ 9) และเพื่อการวิเคราะห์รูปธรรมสัมพันธ์กับความคิดเชิงนามธรรมของสังคมพหุวัฒนธรรมในประติมากรรมของภาคใต้ และเพื่ออนุรักษ์ สืบทอด สืบสาน และส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงศิลปวัฒนธรรมด้านพุทธศิลป์ของภาคใต้ ผลการวิเคราะห์ ความคิดเชิงนามธรรมของสังคมพหุวัฒนธรรมในประติมากรรมของภาคใต้ ที่มีความโดดเด่นของรูปแบบ องค์ประกอบศิลป์ ประกอบด้วยเนื้อหาพหุวัฒนธรรม และความเชื่อของท้องถิ่นในพระพุทธศาสนาที่ปรากฏในงานประติมากรรม ที่มีลัทธิความเชื่อที่หลากหลาย โดยมีศาสนาพุทธเป็นแกนในการดำเนินชีวิตและความเชื่อท้องถิ่นภาคใต้ โดยมีจิตวิญญาณของคนในท้องถิ่นเชื่อมโยงรูปแบบการแสดงออกในรูปธรรมในการประกอบกันของรูปทรงที่มีการผสมผสานในผลงาน เกิดความงาม วิธีคิด เกิดเป็นรสนิยมการแสดงออกที่มีความหลากหลายในความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน โดยการประกอบกันของหลากหลายรูปแบบ ได้แก่ รูปแบบช่างหลวง รูปแบบศิลปะจีน รูปแบบศิลปะตะวันตก รูปแบบศิลปะฮินดู-ชวา ซึ่งปรากฏการผสมผสานความเป็นเอกภาพในประติมากรรมของภาคใต้ เกิดเป็นชุดความรู้ที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ ภูมิปัญญาที่แสดงออกถึงความเชื่อ ความศรัทธาของชุมชนในภาคใต้ นำไปสู่การอนุรักษ์ สืบสานงานประติมากรรมในภาคใต้ในอนาคต และแนวคิดนามธรรมในเนื้อหาที่สร้างความสัมพันธ์การอยู่ร่วมกันของสังคมในอดีตที่มีความหลากหลายของศาสนา และสามารถนำไปใช้ในการลดความขัดแย้งทางสังคมในปัจจุบันที่มีความหลากหลายเพื่อให้เกิดความปรองดองและความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในสังคมปัจจุบันให้มีเอกภาพและสันติสุข  An Analysis of Abstract Concepts of Multicultural Society in Southern Sculpture It is a concrete analysis of artistic elements. Buddhist content, beliefs, and various expressions of multicultural in the Rattanakosin period (Rama I-Rama IX) and for analyzing concrete relations with abstract ideas of multicultural society in sculptures of the South. and to conserve, inherit, continue and promote cultural tourism in the area of Buddhist art in the South. analysis results Abstract Concepts of Multicultural Society in Southern Sculpture with distinctive style art elements Contains multicultural content and local beliefs in Buddhism appearing in the sculptures with a variety of beliefs with Buddhism as the core of life and beliefs in the southern region. with the spirit of local people Linked in the form of concrete expression in the combination of shapes that are mixed in the work, creating beauty, ways of thinking, resulting in a taste for expression that is diverse in unity. by the combination of a variety of styles, including the Royal Craftsmanship Chinese art style western art style Hindu-Javanese Art Forms which appears to combine the unity in the sculptures of the South. This resulted in a set of historical knowledge and wisdom that reflected the beliefs and faith of the communities in the South. lead to conservation Inheriting sculpture in the south in the future and abstract concepts in content that create relationships in the coexistence of societies in the past with a variety of religions and can be used to reduce conflicts in today’s diverse society in order to achieve harmony and unity in today’s society for unity and peace.

References

ชะลูด นิ่มเสมอ. (2534). องค์ประกอบของศิลปะ. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

วรรณิภา ณ สงขลา. (2533). จิตรกรรมไทยประเพณีชุดที่ 001 เล่มที่ 1. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

วรรณิภา ณ สงขลา. (2535). จิตรกรรมไทยประเพณี ชุดที่ 001 เล่มที่ 2 วรรณกรรม. กรุงเทพฯ: อมรินทร์

สถาบันทักษิณคดีศึกษา. (2529). สารานุกรมวัฒนธรรมภาคใต้ เล่มที่ 9. สงขลา: มูลนิธิทักษิณคดีศึกษา.

สมพร ธุรี. (2555). การวิเคราะห์ทัศนศิลป์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ทริปเปิ้ล เอ็ดดูเคชั่น.

สมพร ธุรี. (2565). พุทธศิลป์ของภาคใต้: แนวความคิดเชิงนามธรรมในรูปธรรมแบบพหุวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: ทริปเปิ้ล เอ็ดดูเคชั่น.

สุชาติ เถาทอง. (2559). ศิลปะวิจัย. กรุงเทพฯ: จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์.

อมรา พงศาพิชญ์. (2545). ความหลากหลายทางวัฒนธรรม: กระบวนทัศน์และบทบาทในประชาสังคม. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Downloads

Published

2023-11-25