การพัฒนาสิ่งทอจากเฮมพ์ สำหรับงานสร้างสรรค์แฟชั่นเครื่องแต่งกาย

Hemp Textiles Developing for Fashion Apparel

Authors

  • ขวัญชัย บุญสม
  • ศิวรี อรัญนารถ

Keywords:

เฮมพ์, กัญชง, หัตถกรรมสร้างสรรค์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม, การพัฒนาสิ่งทอ, Hemp, Environmental creative crafts, Textile development

Abstract

จากกระแสความยั่งยืนในกระบวนการผลิตและการบริโภคปัจจุบัน ส่งผลให้เกิดการพัฒนาสิ่งทอทางเลือกจากเส้นใยธรรมชาติต่าง ๆ มากยิ่งขึ้น แต่กล่าวได้ว่ายังมีเพียงส่วนน้อยที่ถูกนำมาพัฒนาต่อในบริบทของการออกแบบแฟชั่นเครื่องแต่งกาย บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของการวิจัยเรื่อง นวัตกรรมการสร้างสรรค์ตราสินค้าเครื่องแต่งกายสตรีจากเฮมพ์ สำหรับกลุ่มผู้บริโภคงานหัตถกรรม สร้างสรรค์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ด้วยแนวคิดทุนวัฒนธรรมเจแปนนอร์ดิก เพื่อความยั่งยืน มีวัตถุประสงค์เพื่อหาแนวทางการออกแบบพัฒนาสิ่งทอจากเฮมพ์ เพื่อนำมาใช้ในการออกแบบแฟชั่นเครื่องแต่งกาย โดยใช้กระบวนการทดลองสร้างสรรค์ผลงาน ร่วมกับการเก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม ประเมินผลการพัฒนาสิ่งทอผู้เชี่ยวชาญการพัฒนาสิ่งทอ และการออกแบบแฟชั่นเครื่องแต่งกาย ผลจากการศึกษาพบว่าในกระบวนการทดลองทอเส้นใยเฮมพ์แบบหัตถกรรมทอร่วมกับเส้นใยชนิดอื่นด้วยกี่ทอแบบมือ แบบ 2 ตะกอ แบบลายขัดมาตรฐาน และ 4 ตะกอ แบบลายทอมาตรฐาน จะได้สิ่งทอที่มีลักษณะที่แตกต่างกันเหมาะสำหรับการนำไปใช้ประโยชน์ได้หลากหลายผลิตภัณฑ์ โดยการใช้วิธีการทอแบบเส้นยืนด้วยฝ้ายปั่นเกลียวอุตสาหกรรม เส้นพุ่งด้วยเฮมพ์ต้มสุกและการทอแบบเส้นยืนเฮมพ์ต้มสุก เส้นพุ่งด้วยเส้นไหมหลีบ มีความเหมาะสมกับการนำมาใช้ สำหรับงานแฟชั่นเครื่องแต่งกายมากที่สุด ทั้งนี้แนวทางของอัตราส่วนของเส้นใยชนิดอื่นที่ทอร่วม ส่งผลให้ผ้ามีน้ำหนัก ความหนาบางที่เหมาะแก่การทำเครื่องแต่งกายที่มีโครงสร้างอยู่ทรง มีความแข็งแรง และคงทนมากขึ้นในด้านสีเป็นสัจจะวัสดุ คือ สีธรรมชาติของตัววัตถุดิบที่เกิดจากการผสมเส้นใยชนิดอื่นทำให้เกิดลวดลายขึ้น โดยลดขั้นตอนการฟอกย้อม ลดการใช้น้ำลงจากกระบวนการย้อมสี  The present day’s sustainable production and consumption trends have given rise to the popularity of developing textiles from various kinds of natural fibers. However, only a few natural textiles are being developed in order to be utilized as clothing materials. This article is a part of the research The Branding Innovation of Womenswear from Hemp for Environmental Creative Crafts Target Group by Japanordic Cultural Capital Concept to Sustainability. The objectives are to create and develop textiles from Hemp to be used as a material for fashion apparels, and to conduct a survey on the people with expertise in textile development and fashion design to evaluate the final products. The research experiments with handwoven fabrics from the hybrid between hand spun Hemp yarn and other kinds of yarn, using a plain weave pattern from a 2-shaft loom and the twill pattern from a 4-shaft loom. The results reveal that the end products have distinct qualities which can be versatile for ranges of products. The fabrics most suitable for clothing production are those woven by a combination of cotton twist spun yarn as the warp and the boiled Hemp yarn as the weft and a combination of the boiled Hemp yarn as the warp and the hand spun Leub as the weft. The ratios of the other type of yarn used in combination with Hemp yarn affect the thickness and the weightiness of the end products, creating fabrics suitable for more durable and structured garments. The organic coloring, created from the mixing of the natural fibers and the other fibers, also produces distinctive patterns on the fabrics, reducing the steps and the amount of water used in the dying process.

References

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม. ม.ป.ป. ความรู้ที่ไม่ลับ นำสู่การเพื่อศักยภาพทางธุรกิจ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม. สืบค้น 18 มิถุนายน 2565. จาก https://www.dip.go.th/files/Cluster/7.pdf

ประภัสสร ทิพย์รัตน์. ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 1 เชียงใหม่. 2562. “พืชกัญชา: ความรู้ทั่วไปและการตรวจสอบสารสำคัญ”. สืบค้น 16 กุมภาพันธ์ 2564. จาก https://www.oncb.go.th/ncsmi/cannabis4/.pdf.

ผู้จัดการออนไลน์. (2560). TCDC เผย “เส้นใยกัญชง” ขึ้นแท่นวัตถุดิบสิ่งทอสร้างสรรค์ ปี 17 อนาคตแฟชั่นไทย. สืบค้น 16 กุมภาพันธ์ 2564. จาก https://mgronline.com/smes/detail/9600000016286

ผู้จัดการออนไลน์. (2564). WGSN เผย 13 เทรนด์แรงปี 65 “แท็กซี่บินได้-อวตาร์คอมเมิร์ซ” สืบค้น 21 ธันวาคม 2564. จาก https://mgronline.com/business/detail/9640000125834

มนทิรา สุขเจริญ และพันธวัศ สัมพันธ์พานิช. (2562.) จุดเริ่มต้นว่าด้วยเรื่องของ “เฮมพ์ หรือ “กัญชง” ที่ไม่ใช่ “กัญชา”. วารสารสิ่งแวดล้อม, ปีที่ 23 (ฉบับที่ 3)

รุ่งทิพย์. (2559). บทความ: “เฮมพ์” นวัตกรรมเพื่อการพัฒนาชุมชนและสิ่งแวดล้อมอย่างพอเพียงและยั่งยืน. วารสารสิ่งแวดล้อม. สืบค้น 19 พฤษภาคม 2566. จาก https://ej.eric.chula.ac.th/article/view/251

ศูนย์วิชาการสารเสพติดภาคเหนือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. (2563). รายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาพัฒนาการจัดการ เฮมพ์ (กัญชง) ในพื้นที่ต้นแบบภาคเหนือตอนบน ภายใต้กฎกระทรวง. สืบค้น 16 กุมภาพันธ์ 2564. จาก https://nctc.oncb.go.th/manage/researchMgt/import/researchFull/ 20201223_084522Hamp.pdf

สุรัติวดี ภาคอุทัย และกนกวรรณ ศรีงาม. (2551.) รายงานฉบับสมบูรณ์, การศึกษาวิจัยและพัฒนา Test kit เพื่อวิเคราะห์ปริมาณสาร THC ในกัญชง, ภายใต้ชุดโครงการ : โครงการพัฒนากัญชงเชิงเศรษฐกิจเพื่อสนับสนุนการสร้างมูลค่า. สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) เชียงใหม่. สืบค้น 16 กุมภาพันธ์ 2564. จาก http://mis.agri.cmu.ac.th/download/research/0-003-B-51_file.doc.

สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน). (2564.) สินิตย์ ดัน “เส้นใยกัญชง” เป็นวัตถุดิบ ผลิตงานศิลปหัตถกรรมไทย. สืบค้น 18 มิถุนายน 2565. จาก https://www.sacit.or.th/th/ detail/2022-07-18-11-31-05

สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน). (ม.ป.ป.) เส้นใยธรรมชาติเพื่อการพัฒนาสิ่งทอ. สืบค้น 18 มิถุนายน 2565. จาก https://www.sacit.or.th/uploads/items attachmentsfb3f76858cb38e5b 7fd113e0bc1c0721/_1e9bd3aebc9745ffeaa7e9a6bf46f1aa.pdf

อิสเรศ วงศ์เสถียรโสภณ. (2564). แนวโน้มความยั่งยืนที่ส่งผลกระทบต่อรูปแบบแฟชั่นไทย. สืบค้น 16 กุมภาพันธ์ 2564. จาก https://www.thaitextile.org/th/insign/detail.2426.1.0.html

Downloads

Published

2023-11-25