เพลงย่ำค่ำสู่เพลงยิ้มแป้น : การปรับตัวและเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมปี่พาทย์มอญ

From ‘Phleng Yam Kham’ to ‘Phleng Yim Paen’: Adapting and Changes in Pipat Mon Culture

Authors

  • สันติ อุดมศรี
  • จรัญ กาญจนประดิษฐ์

Keywords:

ปี่พาทย์มอญ, การเปลี่ยนแปลงทางดนตรี, เพลงลูกทุ่ง, เพลงแหล่, งานศพ, Pipat Mon, Musical Change, Phleng Lukthung, Phleng Lukkrung, Funeral

Abstract

บทความวิจัยนี้มุ่งศึกษาการปรับเปลี่ยนรูปแบบบทเพลงบรรเลงของวงปี่พาทย์มอญ โดยใช้กรอบแนวคิดการเปลี่ยนแปลงทางดนตรีของศาสตราจารย์ ดร.เฉลิมศักดิ์ พิกุลศรี อธิบายถึงปัจจัยของการเปลี่ยนแปลงแนวคิดของการปรับตัวของนักดนตรีอาชีพและลักษณะเฉพาะของบทเพลงที่สร้างขึ้นใหม่ที่ได้รับความนิยมในช่วงหนึ่งทศวรรษที่ผ่านมา ดำเนินงานวิจัยตามกรอบงานวิจัยเชิงคุณภาพทางด้านชาติพันธุ์วรรณาและมานุษยวิทยาดนตรีเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกตอย่างมีส่วนร่วมในการบรรเลงปี่พาทย์มอญคณะรุ่งสุรินทร์บรรเลง อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี ในช่วงเดือนเมษายน-มิถุนายน 2565 ผลการวิจัยพบว่า บทเพลงบรรเลงตามประเพณีการบรรเลงในวงปี่พาทย์มอญที่นิยมกันในอดีตเริ่มถูกแทนที่ด้วยบทเพลงลูกทุ่ง เพลงลูกกรุง เพลงแหล่ และเพลงสมัยนิยมอย่างมีนัยสำคัญ บทเพลงดังกล่าวมิได้บรรเลงเช่นเดียวบทเพลงต้นฉบับ แต่ได้ถูกปรับเปลี่ยนรูปแบบการนำเสนอใหม่ให้อยู่ในรูปแบบเฉพาะที่สามารถบรรเลงด้วยวงปี่พาทย์มอญได้กระแสความนิยมจากผู้ฟังมีส่วนสำคัญที่ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงการบรรเลงบทเพลงในวงปี่พาทย์มอญ  The study aims to examine the adaptation of the traditional songs of the Piphat Mons in the funeral. The concept of musical changes of Chalermsuk Pikulsri is a theoretical framework to explain the factors of musical change, investigate how musicians recreated their new music, and analyze the characteristic of the reorganized songs, which have become a popularity order over the last decades. The qualitative research, ethnographical and ethnomusicological approaches are employed to collect the data with in-depth interviews and participant observation of the Pipit Mon of the “Khana Rungsirin Banleng”, Paktho District, Ratchaburi Province, from April-June 2022. It found that the traditional repertoires of the Pipat Mon played in the funeral have been increasingly replaced with the new form of music suite, Lukthung, Lukkrung, Lae, and popular music. However, those songs are adapted and localized in the style of Pipat Mon playing. The popularity and selection of the audiences played an important role in changing the traditional performance of the Pipat Mon in the funeral ceremony.

References

เฉลิมศักดิ์ พิกุลศรี. (2560). การเปลี่ยนแปลงทางดนตรี. ขอนแก่น: โรงพิมพ์แอนนาออฟเซต.

ธันยาภรณ์ โพธิกาวิน. (2565). การปรับตัวของวงปี่พาทย์มอญในจังหวัดราชบุรีท่ามกลางบริบทสังคมไทยร่วมสมัย. วารสารวิชาการ สถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 8(1), 1-18.

พิศาล บุญผูก. (2558). ปี่พาทย์มอญรำ. นนทบุรี : สำนักบรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

สันติ อุดมศรี. (2550). งานวิจัยการเก็บข้อมูลด้านศิลปะการแสดง ตามโครงการภูมิบ้านภูมิเมือง เรื่องวงปี่พาทย์ในจังหวัดราชบุรี. สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ.

Wong, D. (1998). Mon Music for Thai Deaths: Ethnicity and status in Thai Uraban Funerals. Asian Folklore Studies, Vol. 57, No.1, 99-130.

Downloads

Published

2023-11-25