การออกแบบนวัตกรรมโคมไฟอัตลักษณ์ลวดลายศิลปะหนังใหญ่

Innovative design lamp identity pattern art Nang Yai

Authors

  • ธรรมรัตน์ บุญสุข
  • รุ่งนภา สุวรรณศรี

Keywords:

การออกแบบนวัตกรรม, โคมไฟ, อัตลักษณ์ลวดลาย, ศิลปะหนังใหญ่ , Innovative design, lamps, identity pattern, Nang Yai Art

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาอัตลักษณ์ลวดลายศิลปะหนังใหญ่ 2) เพื่อศึกษานวัตกรรมโคมไฟอัตลักษณ์ลวดลายศิลปะหนังใหญ่ 3) เพื่อสร้างต้นแบบและศึกษาความพึงพอใจนวัตกรรมโคมไฟอัตลักษณ์ลวดลายศิลปะหนังใหญ่ ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ เจ้าของร้านขายโคมไฟและลูกค้าที่มาเลือกซื้อโคมไฟในตลาดนัดจตุจักร จำนวน 50 คน โดยใช้เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อต้นแบบนวัตกรรมโคมไฟ อัตลักษณ์ลวดลายศิลปะหนังใหญ่ ผลการวิจัยพบว่า ส่วนที่ 1 อัตลักษณ์ลวดลายศิลปะหนังใหญ่ มีองค์ประกอบของตัวหนังใหญ่ คือ ลวดลาย สีสัน รูปทรง ซึ่งลวดลายการฉลุเป็นลายไทยพื้นฐานเป็นแม่แบบจากจิตรกรรมไทย โดยลวดลายรูปหนังใหญ่ส่วนใหญ่เกิดจากเครื่องมือที่เรียกว่า ตุ๊ดตู่ มีลักษณะเป็นแท่งเหล็กกลวงรูกลมขนาดต่าง ๆ ตอกเรียงต่อกัน จนเกิดเป็นลวดลายต่าง ๆ บนตัวหนัง ส่วนที่ 2 กำหนดแนวคิดในการออกแบบนวัตกรรมโคมไฟอัตลักษณ์ลวดลายศิลปะหนังใหญ่ให้สามารถใช้สอยได้ตามหน้าที่อย่างเหมาะสมโดยใช้แนวคิดการออกแบบอัตลักษณ์ หลักการออกแบบผลิตภัณฑ์ แนวคิดนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบ ประกอบด้วย โคมไฟแขวน โคมไฟตั้งพื้น และโคมไฟติดผนังเพื่อให้ได้รูปแบบที่แสดงอัตลักษณ์ลวดลายของศิลปะหนังใหญ่ ที่มีความงามในด้านลวดลายและพื้นผิว รูปทรงโคมไฟใช้ออกแบบมาจากรูปทรงเรขาคณิตรูปทรงกรวย โดยใช้สีแดง สีน้ำตาล สีส้ม และสีธรรมชาติใช้ในทำต้นแบบโคมไฟ ส่วนที่ 3 ต้นแบบผลิตภัณฑ์โคมไฟทั้ง 3 แบบ พบว่า ผู้บริโภค มีความพึงพอใจผลิตภัณฑ์ต้นแบบโคมไฟแขวนโดยรวมในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.03) โคมไฟตั้งพื้นโดยรวมในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.04) และโคมไฟติดผนังโดยรวมในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.08) ซึ่งรูปแบบผลิตภัณฑ์มีความสวยงามและเหมาะสมกับการใช้งาน มีรูปทรงที่มีความร่วมสมัยสามารถเป็นผลิตภัณฑ์ทางเลือกให้กับผู้บริโภคที่นิยมในความแปลกใหม่มีคุณค่าของศิลปะไทย  The objectives of this creative innovation are as followed: 1) To study the identity pattern of Nang Yai Art. 2) To study the Innovative lamp design with the identity pattern of Nang Yai Art. 3) To create prototypes and assess the customer satisfaction with the Innovative lamp design with the identity pattern of Nang Yai Art. Populations and samples in the research include 50 individuals comprising lamp shop owners and customers who purchase lamps at the Jatujak Weekend Market. The research tool employed for the study is satisfaction questionnaire regarding the prototype of the Innovative lamp design with the identity pattern of Nang Yai Art. The study found that in Part 1, the identity pattern of Nang Yai Art consists of elements such as leather patterns, colors, and shapes. The carving patterns are basic Thai art typically derived from traditional Thai paintings. The majority of the Nang Yai patterns are created using a tool called “tut too” which is a hollow steel cylinder of various sizes arranged and hammered onto the leather surface to create patterns on the leather sheet. In Part 2, the concept for Innovative lamp design aims to provide functional usability while adhering to the identity pattern of Nang Yai Art, product design concepts, and innovative product development. The products, consisting of hanging lamps, floor lamps, and wall-mounted lamps, are designed to showcase the identity pattern of Nang Yai Art. The design emphasizes the beauty of the patterns and surface textures. The lamp shapes are inspired by cone shape in geometry, utilizing colors such as red, brown, orange, and natural tones in the creation of the prototype lamps In Part 3, Of all 3 prototype lamps, overall customer satisfaction for the hanging lamps is high (average =4.03), overall customer satisfaction for the floor lamps is high (average =4.04), and overall consumer satisfaction for the wall-mounted lamps is also high (average =4.08).  The product designs exhibit both beauty and functionality, featuring contemporary forms which cater to customers who value novelty and appreciate Thai art.

References

ชิน อยู่ดี. (2530). มูลกำเนิดของคนไทย. ศิลปวัฒนธรรมไทย. ปีที่ 11 (ฉบับพิเศษ)

ทองเจือ เขียดทอง. (2542). การออกแบบสัญลักษณ์ Logo trade mark symbol. กรุงเทพฯ: สิปปะภา.

ปานฉัตท์ อินทร์คง. (2560). การประยุกต์ใช้ผ้าทอจันเสนร่วมกับงานจักสานเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนเชิงพาณิชย์ จังหวัดนครสวรรค์. กรมส่งเสริมวัฒนธรรมกระทรวงวัฒนธรรม.

ปิยะชาติ อิศรภักดี. (2559). Branding 4.0. กรุงเทพมหานคร : อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง จำกัด.

มนตรี ตราโมท. (2502). การละเล่นของไทย. กรุงเทพมหานคร : กรมศิลปากร.

รักษ์ วรกิจโภคาธร. (2547). การจัดการนวัตกรรมสำหรับผู้บริหาร. กรุงเทพฯ : สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

เรวัติ สุขสิกาญจน์. (2557). วารสารวิชาการ Veridian E-Journal ปีที่ 7 ฉบับที่ 3 เดือนกันยายน-ธันวาคม 2557

อุดมศักดิ์ สาริบุตร. (2550). ออกแบบเฟอร์นิเจอร์. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร. สาส์นสมเด็จ เล่ม 25. พระนคร: องค์การค้าของคุรุสภา.

Downloads

Published

2023-11-25