ศึกษาและออกแบบฉลากบรรจุภัณฑ์ยาเพื่อสื่อสารสำหรับผู้สูงอายุตามแนวคิดออกแบบเพื่อมวลชน
Study and Design of Elderly Medical Label Under a Universal Graphic Arts Design Concept
Keywords:
ฉลากบรรจุภัณฑ์ยา, โรคข้อเสื่อม, ผู้สูงอายุ, การออกแบบเพื่อมวลชน, Medical label package, Osteoarthritis, Elderly, Universal DesignAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) ศึกษาพฤติกรรมในการอ่านฉลากบรรจุภัณฑ์ยาเพื่อเป็นแนวทางในการออกแบบฉลากบรรจุภัณฑ์ยาตามแนวคิดการออกแบบเพื่อมวลชน (2) ออกแบบฉลากบรรจุภัณฑ์ยาตามแนวคิดการออกแบบเพื่อมวลชน ที่สามารถสื่อความหมายได้ชัดเจน (3) เพื่อประเมินความพึงพอใจของฉลากบรรจุภัณฑ์ยาที่ออกแบบกับกลุ่มผู้สูงอายุ การศึกษาข้อมูลเบื้องต้นในการดำเนินการวิจัยมีการนํารูปแบบการออกแบบฉลากบรรจุภัณฑ์ยาเพื่อสื่อสารสำหรับผู้สูงอายุตามแนวคิดออกแบบเพื่อมวลชน (Universal Design) โดยนำมาทดลองตามหลักการออกแบบเพื่อมวลชน 7 ข้อ ดังต่อไปนี้ (1) การใช้งานอย่างเท่าเทียม (2) มีความยืดหยุ่นในการใช้งาน (3) ความสะดวกในการใช้งาน (4) มีการให้ข้อมูลที่เพียงพอ (5) มีช่วงระยะและนัยให้กับความผิดพลาด (6) ใช้แรงทางกายภาพน้อย (7) มีขนาดพื้นที่ที่เหมาะสมกับการใช้ จากหลักการออกแบบเพื่อมวลชน 7 ข้อที่กล่าวมา เครื่องวิจัยที่ใช้มีแบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์และแบบการทดลอง โดยนำข้อมูลมาประกอบกับการวิเคราะห์ เพื่อสร้างงานต้นแบบที่สอดคล้องกับแนวทางการออกแบบเพื่อมวลชน ข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์มีการสังเกตพฤติกรรมการอ่านบรรจุภัณฑ์ที่ยาส่วนใหญ่สามารถเห็นชื่อสินค้าได้ชัดเจนมากที่สุด แต่การอ่านสรรพคุณและวิธีการใช้งานได้ไม่ชัดเจน บรรจุภัณฑ์มีขนาดตัวอักษรชื่อสินค้าที่เล็ก และบรรจุภัณฑ์ยาที่มีการใช้แบบอักษรที่ทำให้ผู้สูงอายุไม่สามารถอ่านได้ จึงจำเป็นต้องจดจำสี สามารถเพิ่มทักษะการสื่อสารสำหรับผู้สูงอายุตามแนวคิดการออกแบบเพื่อมวลชนได้ ตามผลตัวอักษรและสัญลักษณ์แทน ผลการวิจัยพบว่าแนวทางในการออกแบบฉลากบรรจุภัณฑ์ยา การอภิปรายรูปแบบฉลากบรรจุภัณฑ์ยา การประเมินความเหมาะสมจากผู้เชี่ยวชาญผู้วิจัยพบว่า “รูปแบบที่ 3” เป็นลักษณะแนวทางการออกแบบฉลากรูปแบบเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยค่าเฉลี่ย (average) = 4.13 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) = 0.708 และการประเมินความพึงพอใจของฉลากบรรจุภัณฑ์ยาที่ออกแบบกับผู้สูงอายุมีความพึงพอในในระดับพึงพอใจ มากโดยค่าเฉลี่ย (average) = 3.81 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) = 0.340 โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 The purpose of this research is to (1) study Medication packaging label reading behavior for the elderly to the ways to design the medication packaging label in under Universal Design Concepts, (2) to design the medication packaging label under Universal Design Concepts, and (3) to evaluate the satisfaction level of the labels, packaging design medication for an elderly. Preliminary study conducted research on the patterns of drug packaging label design for the elderly according to Universal Design concepts, which are (1) use equally, (2) flexibility in use (3) ease of use (4) perceptive information. (5) trial and error. (6) low of physical effort, and (7) suitable space utilization. The research tools are sample questionnaire, interview questionnaire, and tests, which obtained design criteria such as: observation from reading the packages, reading the prescription label, use of large labeling font, as well as recognition process for the increased age group. The results showed that the design guidelines for the packaging label medication can increase communication skills for senior citizens. From the debate the format medication label of reasonable assurance from the experts and researchers found that "Model 3" is the style and design guidelines for the label format appropriate at the highest level by the average (average) = 4.13, with standard deviation (S.D.) = 0.708. An evaluation on the satisfaction level of the packaging drugs label for an elderly yielded the satisfaction level of usage satisfaction with the average (average) = 3.81 and standard deviation (S.D.) = 0.340. The statistically significant is at the 0.05 level.Downloads
Published
2024-01-30
Issue
Section
Articles