วัดจีนประชาสโมสร (เล่งฮกยี่) : ศิลปกรรม ความหมายทางสัญลักษณ์และบทบาทวัดพระพุทธศาสนาฝ่ายจีน

Authors

  • วันชัย แก้วไทรสุ่น

Keywords:

รูปแบบทางศิลปกรรม, สัญลักษณ์, บทบาทของวัดจีน

Abstract

วัดจีนประชาสโมสร (เล่งฮกยี่) เป็นวัดที่ดำเนินการสร้างโดยคนจีน และคนไทยเชื้อสายจีนที่มีพัฒนาการจากความเป็นเมืองเริ่มแรกตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 จนถึงสมัยรัชกาลที่ 5 จึงได้มีการสร้างวัดขึ้นในพื้นที่ที่อาศัยอยู่ ในปัจจุบันมีความเชื่อกันว่า เป็นตำแหน่งของท้องมังกร และวัดจีนประชาสโมสรยังได้รับอิทธิพลรูปแบบทางศิลปกรรมจากวัดเล่งเน่ยยี่ เช่น ในเรื่องของการวางแผนผังโครงสร้างของหลังคา การจัดวางตำแหน่งของรูปเคารพ แต่รูปแบบของอาคารภายนอก เช่น หลังคา จั่ว รูปแบบของรูปเคารพ การประดับประติมากรรมตกแต่งและภาพจิตรกรรม เป็นแบบศิลปกรรมที่แตกต่างกันไม่เหมือนกัน อีกทั้งพบว่าในระยะหลังการสร้างวัดจีนประชาสโมสร มีการเปลี่ยนแปลงและเพิ่มเติมเป็นไปตามพลวัตทางวัฒนธรรม ที่มีลักษณะเฉพาะของวัดไม่เหมือนกับวัดเล่งเน่ยยี่และวัดอื่นๆ แต่ทั้งนี้รูปแบบทางสถาปัตยกรรม ที่ปรากฏเป็นลักษณะศิลปกรรมแบบแต้จิ๋ว ที่เป็นผลพัฒนาการมาจากอิทธิพลทางตอนใต้ของประเทศจีน ส่วนในด้านบทบาทของวัด มีผลมาจากความเชื่อของคนจีนและคนไทยเชื้อสายจีน โดยแรกสร้างวัดนั้นวัดได้รวมเอาความเชื่อดังกล่าวไว้ทั้งศาสนาเต๋า ศาสนาขงจื้อและพระพุทธศาสนาไว้ด้วยกันแต่หลักหัวใจสำคัญนั้น คือ รูปเคารพส่วนประธาน เป็นรูปทางพุทธศาสนามหายาน วัดจึงเป็นสัญลักษณ์ทางพุทธศาสนาฝ่ายมหายานจีนนิกายของมณฑลปราจีนบุรี ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 เป็นต้นมา จวบจนถึงปัจจุบันวัดเป็นสถานที่ที่ให้ผู้มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนามุ่งเข้าสู่ธรรมะ โดยมีเป้าหมายที่จะมีความสุขความเจริญ ขั้นสุดท้ายคือการเจริญรอยตามพระพุทธองค์สู่แดนสุขาวดีเพื่อสู่นิพพานในที่สุด  This research studied the background of Chinese living in Chachoengsao province, Thailand through the art of Watchinprachasamosorn and its relationship with Chinese communities. The research method focused on the historical documents such as the royal chronicles, archives and published literatures as well as on site survey and interview. The study shown that Watchinprachasamosorn constructed by Chinese and the Thai-Chinese in the time of King Rama the third until King Rama the fifth. The temple built in the residential area, where presently believed as an auspicious location. Originally, the art of Watchinprachasamosorn derived from the art style of Watlengnengyee, Bangkok, especially the planning and roof structure design. However, the exterior of the temple, decorative art and the worship sculptures of Watchinprachasamosorn are unique. The temple built with different concept compared with Watlengnengyee. According to the cultural changes, the temple was rebuilt and renovated particularly in the Chaozhou style, the art that prevailed in the southern part of mainland China. Moreover, Watchinprachasamosorn is a symbol of Chinese Mahayana Buddhism since King Rama the fifth's reign to presently. The temple is the path for Buddhists toward the Sukhavati heaven and the nirvana.

Downloads

Published

2024-01-30