หลักนาฏยประดิษฐ์สำหรับการแข่งขันเชียร์ลีดดิ้ง : กรณีศึกษาการออกแบบท่าเต้นรำของสราวุฒิ สำเนียงดี

Choreographic Principle for Cheerleading Tournament: A Case Study the Choreography of Sarawut Samniangdee

Authors

  • ธรากร จันทนะสาโร

Keywords:

ศิลปะการแสดง, นาฏยศิลป์, การออกแบบท่าเต้นรำ, กีฬาเชียร์ลีดดิ้ง, Performing Arts, Dance, Choreography, Cheerleading

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหลักนาฏยประดิษฐ์สำหรับการแข่งขันเชียร์ลีดดิ้งแบบสากลของทีมเชียร์ลีดเดอร์มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ภายใต้การออกแบบการแสดงและ นาฏยศิลป์โดย นายสราวุฒิ สำเนียงดี ผู้วิจัยวิเคราะห์จากการแข่งขันรายการซีคอนสแควร์ เชียร์ลีดดิ้ง ระหว่างปี พ.ศ. 2547-2551 (รอบชิงชนะเลิศ) ใช้วิธีวิจัยโดยการสัมภาษณ์ นักนาฏยประดิษฐ์ นาฏยศิลปิน ครูอาจารย์ ผู้เชี่ยวชาญ และผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านศิลปะ การแสดง นาฏยศิลป์ และกีฬาเชียร์ลีดดิ้ง การศึกษาผลงานการแข่งขัน การสังเกตุร่วมกับการฝึกปฏิบัติท่าทางนาฏยศิลป์ และการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ทฤษฎีการวิเคราะห์การเคลื่อนไหวร่างกาย (Laban Movement Analysis) โดยผลการวิจัยสรุปได้เป็น 5 สาระสำคัญ คือ 1. องค์ประกอบ 2. โครงสร้าง 3. กลวิธี 4. กลไก 5. แนวคิดและเจตคติ ซึ่งทั้งหมดจะมีความสอดคล้องกลมกลืนเป็นอันเดียวกัน ส่งผลให้เกิดนาฏยลักษณ์ที่ถือเป็นแก่นสำคัญของหลักนาฏยประดิษฐ์ดังกล่าว 10 ประการ และเป็นนาฏยลักษณ์ของนาฏยศิลปินอย่างเด่นชัด  The research aims to study the application of Choreography theory to the International Cheerleading Contests of Bangkok University Cheerleading team under the choreographed by Mr. Sarawut Samniangdee, the analytical researcher from the contest in TV show called "Seacon Square Thailand Cheerleading Championship" between 2004 and 2008 (Final Round). The methodologies are the interviews with Choreographers, teachers, professors, and experts in Choreographic performance and Cheerleading, the results of the contests, the observations with choreography practice, and the data analysis by using Movement Theory analysis (Laban Movement Analysis). The findings can be concluded into 5 parts which are composition, structure, mechanism, technique, and concept and attitude. These parts are harmonically combined to become Choreographic features which are the main core of the 10 choreography and also choreographer without a doubt.

Downloads

Published

2024-01-30