การพัฒนารูปแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อส่งเสริมการตลาด : กรณีศึกษากลุ่มพัฒนาสตรีผ้าไทย จังหวัดอุบลราชธานี

Development of Packaging for Marketing Promotion a Case Study of Pattanasatree Thai Silk, Ubonratchathani Province

Authors

  • ศิริวิมล สายเวช

Keywords:

บรรจุภัณฑ์, ส่งเสริมการตลาด, กลุ่มพัฒนาสตรีผ้าไทย, จังหวัดอุบลราชธานี

Abstract

การพัฒนารูปแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อส่งเสริมการตลาด : กรณีศึกษากลุ่มพัฒนาสตรีผ้าไทย จังหวัดอุบลราชธานีมีวัตถุประสงค์ในการวิจัย 3 ประการคือ 1. เพื่อศึกษาปัจจัย เงื่อนไขของผลิตภัณฑ์ และปัญหาของบรรจุภัณฑ์ที่ผ่านมา 2. เพื่อพัฒนารูปแบบบรรจุภัณฑ์ผ้าให้มีรูปแบบสวยงามและเป็นเอกลักษณ์ของกลุ่มพัฒนาสตรีผ้าไทย 3. เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์ โดยการวิจัยเป็นการวิจัยที่มีส่วนร่วมกับทางชุมชนโดยตรง ตั้งแต่เมื่อเริ่มศึกษาปัญหา การศึกษา ความเป็นมา สิ่งที่ชุมชนต้องการให้แก้ไขและการวิเคราะห์ร่วมกัน โดยยึดเอาความต้องการของผู้บริโภค และศักยภาพของชุมชนเป็นหลัก จึงเป็นที่มาของการวิจัยเพื่อท้องถิ่นอย่างสมบูรณ์ กระบวนการในการทำวิจัยเริ่มจากการศึกษาถึงปัจจัยในเรื่อง ราคา จุดอ่อนจุดแข็งของบรรจุภัณฑ์ ผ้าทอทั้งอดีตปัจจุบันและอนาคต การจัดเวทีประชุมแลกเปลี่ยน การเปิดรับเอาข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากทางชุมชน รวมไปถึงการลงสำรวจบรรจุภัณฑ์ผ้าทอในพื้นที่จังหวัดอุบล และจังหวัดใกล้เคียง นอกจากนั้น ยังทำการสำรวจความพึงพอใจของผู้บริโภคว่าสิ่งที่ต้องการให้เกิดขึ้นของรูปแบบบรรจุภัณฑ์ผ้าทอนั้นเป็นเช่นไร เมื่อได้คำตอบที่เกิดจากการสังเคราะห์เรียบร้อย สรุปได้ คือ  คือ “การพัฒนาในเรื่องบรรจุภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง โดยการใช้วัสดุในท้องถิ่น หรือ การใช้วัสดุที่เป็นธรรมชาติ ย่อยสลายได้ง่าย สิ่งหนึ่งที่ต้องการคือ บรรจุภัณฑ์ที่มีเอกลักษณ์บ่งบอกถึงความเป็นอุบล และการใช้บรรจุภัณฑ์หมุนเวียนได้ ในเรื่องของราคา ก็เพิ่มขึ้น ตามสมควร ตามสภาพเศรษฐกิจ”ประเภทบรรจุภัณฑ์ที่ต้องการ อันดับหนึ่งคือ เครื่องจักรสาน อันดับสอง คือ ถุงผ้า ซึ่งผู้วิจัยและชุมชนก็ได้นำเอาบทสรุปข้างต้นมาประเมินความเป็นไปได้ในการผลิต ซึ่งต้องลงพื้นที่สำรวจในเรื่องของวัสดุ แรงงาน ราคา รวมไปถึงสำรวจอัตลักษณ์เมืองอุบล เพื่อจะนำมาใช้ในการออกแบบ เมื่อการลงพื้นที่สำรวจพบว่า มีวัสดุธรรมชาติค่อนข้างมากในชุมชนนำมาใช้ประโยชน์ได้ อีกทั้งยังมีกลุ่มแรงงานฝีมือที่มีความสามารถในการทำงาน และในเรื่องของราคาเมื่อเปรียบเทียบกับของเดิม รูปแบบใหม่จะมีราคาต้นทุนต่ำ ถึง พอประมาณ แต่คุณค่าทางจิตใจสูงและเกิดการสร้างงาน สร้างรายได้ให้กับชุมชน ผู้วิจัยได้ลงมือรวบรวมเอาประเด็นหลักที่จะช่วยสร้างสรรค์งานออกแบบ โดยวางได้ประเด็นที่ 1 ต้องผลิตมาจากวัสดุธรรมชาติ หรือ วัสดุเหลือใช้ ประเด็นที่ 2 ราคาไม่แพง ประเด็นที่ 3 สามารถนำไปใช้ต่อได้ ประเด็นที่ 4 มีเอกลักษณ์ บ่งบอกถึงความเป็นพื้นถิ่น ประเด็นที่ 5 ดีไซน์ สวยงาม น่าใช้ ประเด็นที่ 6 เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งเมื่อทำการผลิตออกมาเป็นต้นแบบนั้น บทสรุปการนำไปใช้จริงพบว่าเป็นที่น่าพอใจอย่างมาก ที่ทางทีมวิจัยสามารถตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค และผู้ผลิต ชุมชนก็เกิดรายได้ เกิดกลุ่มที่ทำการผลิตบรรจุภัณฑ์ผ้าทอเฉพาะ ซึ่งจะเห็นได้ว่าบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ และเป็นงานวิจัยที่กินได้ ใช้ได้จริง เกิดความภาคภูมิ อีกทั้งยังสามารถนำไปปรับใช้กับงานวิจัยอื่นๆ ในอนาคต

Downloads

Published

2024-01-30