การจัดการแสดงโขน : กรณีโรงมหรสพหลวงศาลาเฉลิมกรุง

Khon Performance of Sala Chalermkrung Royal Theatre

Authors

  • จุฬาลักษณ์ เอกวัฒนพันธ์
  • เลิศศิริร์ บวรกิตติ
  • สุชาติ เถาทอง

Keywords:

ประวัติการแสดง, รูปแบบการจัดการแสดง, แนวทางการพัฒนา การจัดการแสดงโขน, โรงมหรสพหลวงศาลาเฉลิมกรุง, Khon performance history, management pattern on Khon performance, developmental scheme for Khon performance, Sala Chaloemkrung Royal Theatre

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อเก็บรวบรวมประวัติการจัดการแสดงโขนของโรงมหรสพหลวงศาลาเฉลิมกรุง (2) เพื่อศึกษาแบบแผนการดําเนินงานการจัดการแสดงโขนของโรงมหรสพหลวงศาลาเฉลิมกรุงในปัจจุบันและ (3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาด้านการจัดการแสดงโขนของโรงมหรสพหลวงศาลาเฉลิมกรุง โดยเริ่มต้นจากกลุ่มประชากร ตัวอย่างประกอบด้วย ผู้บริหารจัดการแสดง จำนวน 1 คน เจ้าหน้าที่ฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับองค์กรการจัดการแสดง จำนวน 5 คน และผู้ชมจำนวน 100 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์ สำหรับ ผู้จัดการแสดง เจ้าหน้าที่ฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับองค์กร การจัดการแสดงและแบบสอบ ถามสำหรับผู้ชมการแสดง การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้เชิงพรรณนา ในการเก็บรวมรวมประวัติที่เกี่ยวกับการดำเนินงานจัดการแสดงโขน เชิงคุณภาพ โดยวิเคราะห์ข้อมูลจากบทสัมภาษณ์ จากนั้นจึงนำผลมาเปรียบเทียบกับหลักบริหารทั่วไปและหลักการจัดการแสดงเชิงปริมาณ โดยการนำแบบสอบถามมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS ผลการวิจัยพบว่า 1. การเก็บรวบรวมประวัติการจัดการแสดงโขนของโรงมหรสพหลวงศาลาเฉลิมกรุง จัดการแสดงโขนทั้งหมด 3 ครั้ง ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2546 เดือนกรกฎาคม โขนจิตนฤมิต ตอน ยกรบ ครั้งที่ 2 วันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2548 ชุดพระจักราวตาร ครั้งที่ 3 วันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2550 ชุดหนุมานชาญกำแหง 2. แบบแผนการดำเนินงานการจัดการแสดงโขนของโรงมหรสพหลวงศาลาเฉลิมกรุงในปัจจุบัน บริษัทเฉลิมกรุงมณีทัศน์ จำกัด เป็นผู้ดูแลโรงมหรสพหลวงศาลาเฉลิมกรุง ได้ว่าจ้างให้บริษัท ศิลป์ศิริโขนละคร จำกัด เป็นผู้ดูแลในส่วนของการจัดแสดงโขน มีการบริหารงานตามหลักการบริหารทั่วไป มีการวางแผนตามนโยบายของโรงมหรสพหลวง ศาลาเฉลิมกรุง, ดำเนินการจัดองค์การแบบองค์กรผลิตละครเวที (Theatre Company), การจัดคนเข้าทำงาน ได้คัดเลือกผู้ที่มีประสบการณ์ในแต่ฝ่ายเข้าร่วมทำงาน,การสั่งการโดยผู้กำกับเวที (Stage Manager) เป็นผู้ประสาน งานกับทุกฝ่าย การบริหารมีโครงสร้างหลายชั้น จัดเป็นองค์การประเภทดิ่ง ข้อดี คือ มีการบริหารงานติดต่อสื่อสารรวดเร็วระหว่างหัวหน้า และลูกน้อง ข้อจำกัด มีระดับ การจัดการมาก ระยะทางระหว่างผู้บริหารถึงผู้แสดงห่างเกินไป ส่วนของการแสดง วันเวลา การจัดแสดงในวันศุกร์และวันเสาร์ เวลา 19.30 น. ระยะเวลาแสดง 1 ชั่วโมง 10 นาที มีการฝึกซ้อม เพื่อพัฒนาฝีมือของนักแสดง ภายใต้การควบคุมจากผู้เชี่ยวชาญ การคัดเลือกนักแสดงมีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางเป็นผู้คัดเลือก การออกแบบ แสง สี เสียง เหมาะสมกับรูปแบบการแสดงโขนร่วมสมัย การจัดลำดับของฉากการแสดง กระชับ ต่อเนื่อง การขับร้อง มีความไพเราะพร้อมเพียง เครื่องแต่งกายที่ใช้มีเอกลักษณ์ การทำให้ผู้ชมมีความรู้สึกร่วมระหว่างชมการแสดงมีแง่คิด จะสร้างความประทับใจให้แก่ผู้ชมได้ พิธีกรที่มีความรู้ที่เกี่ยวกับ การแสดงโขน ทำให้การดำเนินเรื่องชวนให้ติดตาม เอกสารที่ให้บริการข้อมูลมีความครบถ้วน และเป็นประโยชน์ สถานที่ที่ใช้จัดแสดงมีความพร้อม เหมาะสม พนักงานต้อนรับมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี เอื้อประโยชน์และสร้างความสะดวกให้แก่ผู้ชมก่อนเข้าชมการแสดง มีส่วนลดค่าเข้าชมการแสดงเฉพาะผู้ที่ติดต่อมาเท่านั้น 3. แนวทางการพัฒนาด้านการจัดการแสดง โขน มีดังนี้ ส่วนองค์กรการจัดการแสดง ควรมีทีมงานฝ่ายสร้างสรรค์ที่ทํางานประจํากับศาลาเฉลิมกรุง โดยตรง เพื่อความสะดวกในการพัฒนา ด้าน ฉาก แสง ได้อย่างรวดเร็ว ทีมงานทุกฝ่าย ควรมีความรู้เรื่องโขนเป็นอย่างดี เพื่อความเข้าใจ และแรงในการปฏิบัติงาน และให้ความเข้าใจขอบข่ายการรับผิดชอบแก่ทีมงานในแต่ละฝ่าย เพื่อป้องกันการปฏิบัติเกินหน้าที่ควรเลือกรับนักแสดงที่มีความพร้อมด้านเวลาเพื่อที่จะได้มีเวลาในการซ้อมอย่างเต็มที่ ควรเลือกรับนักแสดงที่มีฝีมือมาตรฐานสูงเท่าเทียมกันเพื่อการพัฒนา การแสดงให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น ควรหามาตรการควบคุมนักแสดงที่ขาดความรับผิดชอบในการแสดง ส่วนของการแสดง ควรขยายวันแสดงในวันอาทิตย์และวันหยุดนักขัตฤกษ์ รอบเวลา 19.00 น. เพราะการแสดงจะได้เลิกไม่ดึกเกินไป ควรเพิ่มการประชาสัมพันธ์บัตรส่วนลดเข้าชมการแสดงให้ประชาชนทั่วไปทราบอย่างทั่วถึง และครั้งต่อไปควรจัดแสดงโขนตอน นางลอย, ยกรบ, ศึกพรหมมาศ, นารายณ์ปราบนนทุก ควรมีการจัดกิจกรรมที่ให้ความรู้ทางด้านการแสดงโขน ควรทำการสาธิต ฝึกปฏิบัติโขน ให้แก่ เยาวชน นักเรียน นักศึกษา และเปิดโอกาสให้เข้าร่วมการแสดงกับโรงมหรสพหลวงศาลาเฉลิมกรุง พร้อมสร้างเครือข่ายกับสถาบันการศึกษาต่างๆ และพัฒนาบุคคลกรให้กับโรงมหรสพหลวงศาลาเฉลิมกรุงในอนาคต  The objectives of this research are to summarize the history of Khon performances at Sala Chalermkrung Royal Theatre; to study management pattern of Khon performances at Sala Chaloemkrung Royal Theatre, and to obtain developmental scheme for successful Khon performance at Sala Chaloemkrung Royal Theatre, by using research samples consisting populations of one manager, five different staffs and 100 audiences. The methods used in data collections were an in-depth interviews with the director, theatre staffs and questionnaires for audiences. Descriptive format is used for Qualitative analysis of data that is the Khon performance history. The method of data quantitative analysis used for the interview, and then results were interpreted in accordance with the general administrative principles and the performance principles, which questionnaires data were analyzed by the SPSS application program. The results found were that: 1. The history of Khon performance at Sala Chaloemkrung Royal Theatre showed three performance times in total, the first time in 2003, by Khon Chitnaluamit, episode: The Battlefield; the second time was on December 3, 2005, the episode of Chak Avatar, the third time was on December 26, 2007, the episode of The Defiant Hanuman. 2. The management pattern of the Khon performance at Sala Chalermkrung Royal Theatre was managed by Chaloemkrung Maneethat Co., Ltd. the trustee of the theatre has hired Silasiri Khon Co., Ltd. to manage and organize the Khon play. There were management in accordance with the general management principles, has planning in accordance with the policy of the Khon performance, Sala Chaloemkrung Royal Theatre. It managed the production that is organized by the theatre company, arrangements of the people to work by selecting the experienced people of each side to participate in working and stage manager directs it by coordinating with all sides. The management had several tiers and organized in the vertical direction model. The strength was the communication between the superiors and the subordinates was clear and quick, while the weakness was more on management aspect, and the far gap between the management and the performers was also a weaknessess. While the performance schedule was held on Friday and Saturday at 19.30 hours, the performance duration took 1 hour 10 minutes. There were rehearsals to develop the performing skill of the performers under the supervision of the experts. The selection of the performers was made by the experts; the design, lighting, color, and sound were suitable with the contemporary Khon performance. The sequence of each episode was compact and continuous mood. Singing had good melody and was concerted. The dresses were unique to induce the audiences' feelings during the play, and the hidden moral imbued in the performance had good impression on audiences. The well informed master of performance with good knowledge contributed to the interesting play. The document provided clear information was completed and useful. The space used in the performance is suitable, and the receptionists with good public relations skills is beneficial and pleased audiences before the performance begins, and there was discount on tickets upon request. 3. Developmental scheme for the Khon performance. The organization of performance should include permanent creative team to the Sala Chalermkrung for convenience in development of the stage scenery, lighting and sound effectively. All team members should have good knowledge on the Khon performance for understanding and efficiency in the performance and understanding in the scope of each team's duties in order to prevent from overlap works. Performers' selection should bases on time availability in order to have punctual time for rehearsal. Recruiting performers with high standard to develop better quality performance and find a measure to rule out irresponsible performers on the performance. In regards to the performance, it should include Sunday and public holidays at 19.00 hours time, so the plays are not finished too late. Increase the public relations using discounted tickets to attract general public for more wider audiences. The next episodes should be on the Floating Woman, Fight Mobilization, Promas Battle and Narai Defeats Nontook. There should be activities to provide knowledge on Khon performances, having demonstrations and Khon performance workshop available for youth, pupils and students to receive opportunities to participate and learn the performance with the Sala Chalermkrung Royal Theatre; and building a network with various educational institutions and provide trainings for the theatre staffs regularly.

Downloads

Published

2024-01-30