ศึกษาและพัฒนาเครื่องแยกหมึกพิมพ์จากน้ำมันก๊าด
Study and Development Factorable Machine for Kerosene
Keywords:
การออกแบบวิศวกรรม, หมึกพิมพ์, น้ำมันก๊าด, เครื่องแยกหมึกพิมพ์Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและพัฒนาระบบหมึกพิมพ์จากน้ำมันก๊าดและเพื่อทดลองและทดสอบคุณภาพของเครื่องแยกหมึกพิมพ์จากน้ำมันก๊าด โดยทำการพัฒนาเครื่องแยกหมึกพิมพ์จากน้ำมันก๊าด ให้มีประสิทธิภาพในการแยก แล้วทำการทดลองและทดสอบหาคุณภาพของหมึกพิมพ์และน้ำมันก๊าดที่ทำการแยกนั้นมีคุณภาพ สามารถนำของเสียกลับมาใช้งานใหม่เพื่อให้ทราบถึงกระบวนการแยกและการทำงานที่ดี ที่จะนำมาใช้ในงานอุตสาหกรรมและลดต้นทุนในการทำงานได้การวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาและพัฒนาเครื่องแยกหมึกพิมพ์จากน้ำมันก๊าด โดยใช้กลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มคือ กลุ่มที่ 1 ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบและวิศวกรรมเครื่องกล จำนวน 3 คน ผู้เชี่ยวชาญด้านทดสอบคุณภาพ 3 คน กลุ่มที่ 2 กลุ่มผู้ใช้งานทางการพิมพ์ จำนวน 40 คน โดยประเมินความพึงพอใจในด้านคุณภาพการใช้งาน ผลการวิจัยพบว่า ผู้เชี่ยวชาญประเมินด้านการออกแบบและวิศวกรรมเครื่องกล ผลการประเมินอยู่ในระดับดีมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.62) ผลที่ได้จากการทดสอบคุณภาพของหมึกพิมพ์ที่ผ่านการแยกด้วยเครื่องแยกหมึกพิมพ์จากน้ำมันก๊าดมีค่าความเข้มที่ลดลง มีค่า 0.09 ซึ่งมีค่าความเข้มที่ต่ำกว่ามาตรฐานที่กำหนดไว้ และมีค่าความต่างที่ 1.44 ดังนั้นหมึกพิมพ์ที่ผ่านการแยกด้วยเครื่องแยกจึงไม่สามารถนำมาใช้งานได้ การทดสอบความหนาแน่นของน้ำมันก๊าดที่ผ่านการแยกด้วยเครื่องแยกหมึกพิมพ์จากน้ำมันก๊ดพบว่ามีค่าความหนาแน่นที่ 0.78 ซึ่งเป็นค่าความหนาแน่นที่อยู่ในช่วงค่าความหนาแน่นตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ โดยมีค่าความต่างที่ 0.02 ดังนั้นน้ำมันก๊ดที่ผ่านการแยกด้วยเครื่องแยกจึงสามารถนำมาใช้านได้ การทดสอบค่าความหนืดของน้ำมันก๊าดที่ผ่านการเยกด้วยเครื่องแยกหมึกพิมพ์จากน้ำมันก๊าดมีค่าความหนืดที่ 0.91 ซึ่งเป็นค่าความหนืดที่อยู่ในช่วงค่าความหนาแน่นตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ โดยมีค่าความต่างที่ 0.12 ดังนั้นน้ำมันก๊าดที่ผ่านการแยกด้วยเครื่องแยกจึงสามารถนำมาใช้งานได้ ส่วนผู้ใช้งานทางด้านการพิมพ์ประเมินความพึงพอใจ คุณภาพในการใช้งาน (ค่าเฉลี่ย = 4.83) The purpose of the research was to study and develop the kerosene ink system as will as to do experiment and test the quality of the device for separation of kerosene from ink. The device was developed to the capacity of effective separation. Then the quality of the separated kerosene and ink was experimented and tested to see whether it had good quality and could be brought back to use in new jobs. The studies also aimed to find out the separation process and the process of better work that was performed in industry and led to the cost reduction. The research studied and developed a device for separating paraffin from ink by using 2 groups of sample. One group was composed of 3 specialists in design and engineering and 3 experts in quality control while the other was composed of 40 workers using the device. Satisfaction of quality in using the device was evaluated. The research found that specialists in design and engineering evaluated the device very positive (average = 4.62). The quality test resulted that the ink that had not been separated had the maximum while the intensity value of the separated ink using the device was lowered to 0.92. The margin of difference was 0.61. The ink that was separated, then, could not be reused. In testing kerosene, it was found out that the non-separated kerosene while the separated kerosene using the device had the density of 0.78 with a value of 0.02 in difference. With that density, the separated kerosene could be bought back to use. To test the value of viscosity, the non-separated kerosene while the separated kerosene had the viscosity value of 0.91. The margin of difference was 0.12. The range of viscosity showed that the separated kerosene could be brought back to use. The users were satisfied with the quality in use (average =4.83).Downloads
Published
2024-01-31
Issue
Section
Articles