การศึกษาและพัฒนากระบวนการผลิตวัสดุทดแทนไม้จากเศษเหลือทิ้งทางเกษตรกรรม เพื่อประยุกต์ใช้ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ร่วมสมัย

Authors

  • ทรงวุฒิ เอกวุฒิวงศา

Keywords:

การออกแบบผลิตภัณฑ์, ของเสียทางการเกษตร, วัสดุทดแทนไม้

Abstract

การศึกษาวิจัยนี้ผู้วิจัยกำหนดวัตถุประสงค์ในการวิจัย 3 ประการ คือ 1) ศึกษาคุณสมบัติกายภาพและคุณสมบัติจำเพาะของเศษเหลือทิ้งทางเกษตรกรรมในภาคอีสานของไทย ที่มีศักยภาพนำมาผลิตเป็นวัสดุทดแทนไม้ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ร่วมสมัยได้ 2) ศึกษาและพัฒนากระบวนการผลิตขั้นตอนในแปรรูปเศษเหลือทิ้งทางเกษตรกรรมเป็นวัสดุทดแทนไม้ 3) เพื่อออกแบบผลิตภัณฑ์ร่วมสมัยจากวัสดุทดแทนไม้ที่ได้จากเศษเหลือทิ้งทางเกษตรกรรม โดยผู้วิจัยได้ศึกษาและพัฒนากระบวนการผลิต อีกทั้งทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 19 จังหวัด ด้านความคิดเห็นและความพึงพอใจที่มีต่อผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากระบวนการผลิตวัสดุทดแทนไม้ที่พัฒนาใหม่ ซึ่งเป็นตัวแทนของกลุ่มประชากรในภาคอีสาน ผลการวิจัยพบว่ากระบวนการผลิตวัสดุทดแทนไม้จากเศษเหลือทิ้งในพื้นที่เกษตรกรรมของภาคอีสาน นั้นสามารถทำการผลิตได้ 2 กระบวนการผลิต คือ กระบวนการผลิตวัสดุทดแทนไม้แบบแผ่นเรียบ, กระบวนการผลิตวัสดุทดแทนไม้แบบขึ้นรูปอิสระ ซึ่งจะได้คุณลักษณะของแผ่นวัสดุทดแทนไม้ที่มีกลิ่นหอมและมีสีสันตามความต้องการของผู้บริโภค จากผลสรุปทั้ง 2 กระบวนการผลิตนำสู่กระบวนการออกแบบผลิตภัณฑ์ ทำการประเมินระดับประสิทธิภาพและความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่าง ในการนี้ทำการสรุป คือ 1) กระบวนการผลิตวัสดุทดแทนไม้แบบแผ่นเรียบ โดยใช้เยื่อวัสดุทดแทนไม้จากใบอ้อยและตอชังข้าว 93% และกาวไอโชไซยาเนต 7% 2) กระบวนการผลิตวัสดุทดแทนไม้แบบขึ้นรูปอิสระ โดยใช้เยื่อวัสดุทดแทนไม้จากใบอ้อยและตอชังข้าว 70% และพลาสติก PS (ผสมเบนชิน) 30% โดยมีความทนทานการเข้าทำลายของปลวกในสภาพแวดล้อมจำลอง มีความทนทานต่อการเข้าทำลายสูงอีกทั้งมีค่าเฉลี่ยการเข้าทำลายของปลวกน้อยมาก และด้านคุณสมบัติการป้องกันอุณหภูมิจากภายนอก ที่ระดับ 4-5 องศาเซลเซียส จากการวิเคราะห์พบว่า กระบวนการผลิตวัสดุทดแทนไม้ มีค่าจากการประเมินประสิทธิภาพ 1) ด้านกระบวนการผลิตวัสดุทดแทนไม้โดยมีค่าเฉลี่ยระดับ 4.07 มีความเหมาะสมในระดับดี 2) ด้านการผลิตในระบบอุตสาหกรรมมีค่าเฉลี่ยระดับ 4.22 มีความเหมาะสมในระดับดี 3) ด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์และเฟอร์นิเจอร์ มีค่าเฉลี่ยระดับ 4.33 มีความเหมาะสมในระดับดี และการประเมินความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างเกษตรจังหวัดทั้ง 19 จังหวัด มีค่าระดับความพึงพอใจต่อกระบวนการผลิตวัสดุทดแทนไม้เพื่อประยุกต์ใช้ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ค่าเฉลี่ยระดับ 4.26 มีความเหมาะสมในระดับดี  The objectives of this study are 3 objoctives. The first is study physical and specific properties of agriculture surplus as a material to replace wood in E-SARN region and improve quality to design modernization in product. The second is study and develop a product production process to replace of wood. The last is design modernization of product. The researcher studied and developed processes and his samples consisted of 19 provinces. Agent of E-SARN's people about their opinions and contents in new develop of production. The Results of this study indicated that there are processed to replace wood can do 2 processes. The processed are design a smooth pattern and an independent pattern; Summarize and Evaluation of contents the simply are Smooth pattern product processed made from Sugar-cane leaf's fiber and Sang-khaw stump 93% and Isocyanate glue 7%. 2) independent pattern product processed made from Sugar-cane leaf's fiber and Sang-khaw stump 70% and plastic PS (mixed benzene) 30%, it's protecting termites. In a model environment; to be durable high destroy of its and the average to decrease of destroy, too. And to be durable outside temperature at 4-5. The Analyzed found the process of product to replace wood have evaluation coefficient: 1) Processed way have a level suitable average at 4.07, 2) System processed in industry way have and furniture way have a level suitable average at a level suitable average at 4.22, 3) Design products 4.33. Evaluation of contents by the simply consisted of 19 provinces have a level suitable in contents of apply these products at 4.26.

Downloads

Published

2024-02-01