การพัฒนางานหัตถกรรมร่วมสมัยจากพืชวงศ์หญ้า
The development of contemporary gramineae handcrafts
Keywords:
การออกแบบผลิตภัณฑ์, ผลิตภัณฑ์ใหม่, หญ้า, หัตถกรรมAbstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการดำเนินงานวิจัย 3 ประการดังนี้ 1) ศึกษาคุณสมบัติด้านต่างๆ ของพืชวงศ์หญ้า เพื่อคัดเลือกพันธุ์ที่เหมาะสมในการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ 2) ศึกษาเทคนิคและกระบวนการต่างๆ ในการผลิตงานหัตถกรรมจากเส้นใยพืช 3) ศึกษาแนวทางในการออกแบบและนำวัสดุที่ได้จากพืชวงศ์หญ้ามาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ได้อย่างเหมาะสมจากการนำพืชวงศ์หญ้าทั้งหมด 80 ชนิดใพื้นที่ภาคอีสาน มาวิเคราะห์หาความเหมาะสมผู้วิจัยได้กำหนดเกณฑ์เพื่อคัดเลือกหญ้าชนิดที่มีคุณสมบัติเหมาะสมทั้งในด้าน ลักษณะทางกายภาพ ปริมาณเส้นใยและแหล่งวัตถุดิบ เพื่อนำไปทดลองกระบวนการแปรรูปวัสดุ พอสรุปได้ว่า มีหญ้าที่ผ่านเกณฑ์ทั้งหมด 34 ชนิด โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มการทดลองตามลักษณะทางกายภาพของหญ้าชนิดต่างๆ ที่นำมาใช้ คือ กลุ่มหญ้าที่ใช้ประโยชน์จากลำตัน กลุ่มหญ้าที่ใช้ประโยชน์จากก้านช่อดอกและกลุ่มหญ้าที่ใช้ประโยชน์จากใบ จากนั้นจึงนำมาทดลองแปรรูป พบว่าหญ้าที่เหมาะสมกับการนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์จำนวน 18 ชนิด จำแนกตามลักษณะวัสดุเป็น 3 กลุ่มคือ กลุ่มเส้นตอก กลุ่มเส้นเชือกและกลุ่มลำปล้อง โดยนำมาทดสอบหาความเหมาะสมจาก 2 วิธีการ คือ 1) การทดสอบเพื่อหาค่ารับแรงดึงสูงสุดของวัสดุ 2) ประเมินความเหมาะสมโดยผู้เชี่ยวชาญงานหัตถกรรมจากเส้นใยพืช สรุปได้ว่าหญ้าทั้ง 18 ชนิดหญ้าที่นำผ่านกระบวนการทดลองและทดสอบวัสดุ สามารถนำมาใช้ในงานหัตถกรรมได้ทั้งหมดโดยใช้กระบวนการขึ้รูปผลิตภัณฑ์ที่แตกต่างกัน นอกจากนี้วัสดุที่ได้จากหญ้าบางชนิดยังมีคุณสมบัติเฉพาะที่ควรนำมาเป็นข้อพิจารณา ประกอบการออกแบบและพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ร่วมสมัย เช่น ด้านความสวยงามที่เกิดจากสีตามธรรมชาติของด้านความงามจากพื้นผิวภายนอกของหญ้า และด้านกลิ่น ในการนี้ ผู้วิจัยจึงได้เป็นสรุปแนวคิดในการออกแบบพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ร่วมสมัยจากพืชวงศ์หญ้า 3 ประการคือ 1) นำลักษณะเด่นที่แตกต่างกันของหญ้ามาประยุกต์ใช้ร่วมในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ 2) พืชวงศ์หญ้ามีคุณสมบัติที่เหมาะสมกับการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ประเภทสิ่งของเครื่องใช้ และประเภทประดับตกแต่งภายในอาคาร 3) รูปแบบผลิตภัณฑ์จากหญ้าควรมีความสอดคล้องกับการใช้งานของผู้บริโภคในยุคปัจจุบัน There are 3 purposes to this study: 1) to examine the characteristics of Gramineae to select the right species for products, 2) to study the techniques and processes of plant fiber handcraft production, 3) to study the way to design products with the suitable application of Gramineae materials. Bringing 80 species of Gramineae in Isaan region to analysis to find out appropriateness, the researcher set the criteria for the selection of species with suitability in terms of physical features, fiber quantity, and sources for material processing experiment. It was summed up that 34 kinds of Gramineae meet the criteria. These can be categorized into 3 groups, according to the physical features of the plants: stem benefits, peduncle benefits, and leaf benefits. Then after processing experiment. it was found that 18 species are suitable for processing into products. These species are classified into 3 groups: strips, cord, and internodes. The suitability experiment was conducted with 2 methods: 1) finding the highest pullout strength of the material and 2) approximating the suitability by fiber handcraft experts. In conclusion, all the 18 species of Gramineae that was brought to material testing can be used in handcraft with different sorts of product formation. Furthermore, some Gramineae materials have unique characteristics that should be considered in the design and development of contemporary products, such as in terms of the beauty due to natural color, the beauty due to the surface of the plant, and the smell. Here the guideline for the design and development of contemporary Gramineae products can be summed up into three points. 1) Make use of the distinctions of the species in integrated application in product development. 2) The characteristics of Gramineae are fit for utilitarian and decorative articles in buildings. 3) The forms of Gramineae products should correspond to the functions to be used by present day consumers.Downloads
Published
2024-02-02
Issue
Section
Articles