การศึกษาเครื่องปั้นดินเผาของอีสานเพื่อประยุกต์ใช้กับการออกแบบผลิตภัณฑ์เซรามิก
An Investigation of the ISAN Pottery Artifacts with a Particular Reference to New Product Design
Keywords:
การพัฒนาเนื้อดินปั้น, คุณสมบัติเนื้อดินปั้น, อัตราสวนผสมที่เหมาะสม, development of new clay body, properties of clay body, proper mixed rationAbstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการผลิตและแหล่งดินที่ใช้ในการผลิตเครื่องปั้นดินเผา ในภาค อีสาน เพื่อพัฒนากระบวนการผลิตและพัฒนาแหล่งดินใหม่ โดยเน้นการนำดินที่มีในท้องถิ่นมาพัฒนา เช่น แหล่งดินที่ใช้ในการเกษตรกรรม หรือแหล่งดินอื่นๆที่ไม่ใช่แหล่งดินเดิม กรณีศึกษาใช้ดินจาก 3 แหล่งในเขตจังหวัดนครราชสีมา คือ ดินบ้านสุกร ตำบลหนองหลัก อำเภอชุมพวง ดินบ้านบุไผ่ ตำบลไทยสามัคคี อำเภอวังน้ำเขียว และดินบ้านหัวถนน ตำบลหัวทะเล อำเภอเมืองนครราชสีมา มาทำการทดลองหาส่วนผสมในอัตราสวนที่แตกต่างกัน และนำเนื้อดินที่ได้มาทดสอบหาค่าความชื้น ความเหนียว การหดตัวของเนื้อดินปั้นและความคงทนของเนื้อดินในการเผาไล่อุณหภูมิที่ต่างกัน ผลของการทดลองพบว่าอัตราสวนที่เหมาะสมที่สุดในการนำมาพัฒนาเป็นเนื้อดินปั่น คือ ดินบ้านสุกร :บ้านบุไผ่ :บ้าน หัวถนน (20 : 30 : 50) โดยคุณสมบัติของ เนื้อดินปั้น ที่ได้นี้มีความเหนียวปานกลาง สีหลังการเผาไล่อุณหภูมิให้สีน้ำตาลแดงสามารถนำมาสร้างนำมาขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ ทั้งใช้สอยภายในครัวเรือนและตกแต่งบ้าน รวมทั้งงานศิลปะเครื่องปั้นดินเผา ผลการวิจัยเพื่อพัฒนาเนื้อดินปั้นนี้ ทำให้เกิดองค์ความรู้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้แก่ชุมชนที่อาจไม่มีแหล่งดิน แต่สามารถพัฒนาเนื้อดินปั้นได้เอง เพื่อผลิตเครื่องปั้นดินเผาเป็นอาชีพเสริมในครอบครัว The purpose of this research was to study the production process of Isan pottery with reference to different sources of clays. It focused on the development of new mixed clay body from locally found agricultural soils and from new sources which were expected to enhance the quality of local soil and reduce production cost. In the experiments, clays samples were collected from three sources in Nakhonratchasima province. (A= Bansukon Tambon NongLak Amper Chumpoung, B= Amper Banbuphai Tambon Thaisamakkey Wangnamkeay and C= Banhuangtanoun Tambon Houytalay Amper Muang Nakhonratchasima) Sampled clays were then mixed with different ratios and tested for the moisture content, plasticity and shrinkage mixed clays were later. It burnt at different temperatures. From the experiments, the best ratio of mixed body clay was A : B : C = 20 :30 :50. This clay had medium plasticity, endured in different temperatures and gave radish brown It was made into color functioning and artistic items. In developing this new clay body and pottery had mode an apple contribution to Isans way of life design, the researcher emphasized the learning process that made benefit to Particularly, The local producers could employ the same approach in the development of alternation clay which could add value to the local pottery.Downloads
Published
2024-02-02
Issue
Section
Articles