การประเมินหลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต (ศป.บ.) พ.ศ. 2545 ของคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

Authors

  • นพดล ใจเจริญ

Keywords:

มหาวิทยาลัยบูรพา คณะศิลปกรรมศาสตร์, การประเมินหลักสูตร, หลักสูตร

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินหลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต (ศป.บ.) พ.ศ. 2545 ของคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เกี่ยวกับองค์ประกอบด้านบริบทปัจจัยเบื้องต้น กระบวนการและผลผลิตที่เกิดจากการใช้หลักสูตรกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านหลักสูตร จำนวน 20 คน ได้จากการสุมแบบเจาะจง อาจารย์ จำนวน 24 คน ได้จากการสุมอย่างง่าย นิสิต จำนวน 350 คน ได้จากการสุมแบบชั้นภูมิ และประชาชน จำนวน 30 คน ได้จากการสุมแบบเจาะจงเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบประเมินหลักสูตร แบบสอบถามและแบบสำรวจ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการประเมินองค์ประกอบด้านบริบท จุดมุ่งหมายของหลักสูตรยังสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมปัจจุบัน 2) ผลการประเมินองค์ประกอบด้านปัจจัยเบื้องต้นแต่ละด้านส่วนใหญ่มีความเหมาะสมอยู่ในระดับปานกลาง 3) ผลการประเมินองค์ประกอบด้านกระบวนการทุกด้านมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก 4) ผลการประเมินองค์ประกอบด้านผลผลิต ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิตคณะศิลปกรรมศาสตร์ มีผลการเรียนเฉลี่ยอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง และคุณลักษณะของนิสิตตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตรมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก  The objective of this study was to evaluate the 2545 B.E. Bachelor's Degree curriculum of the Faculty of Fine and Applied Arts of Burapha University on the factors of context, basis components, process and its output. The population for this research was form three sources: purposive sampling, 20 curriculum specialists and 30 general people; simple random sampling, 24 lecturers; and stratified random sampling, 350 students. The instruments were curriculum evaluation form, open-ended and closed questionnaires, and the statistics employed for data analysis were percentage, mean and standard deviation. The result on the context evaluation showed that the curriculum was still coincident to present situation. On the basis components and process, it showed that both basis components and process were mostly highly appropriate. Finally, on its output and students' learning achievement, it showed that students' average grading result was in fair level and the characteristic of the students was highly appropriate.

Downloads

Published

2024-02-02