ศิลปกรรมบำบัดคืออะไร

What is Art Therapy

Authors

  • เลิศศิริร์ บวรกิตติ

Keywords:

ศิลปกรรมบำบัด

Abstract

Few people in Thailand are familiar with 'Art therpy' despite the fact that this field has been well established in the Western world for many decades. Thus, it is the purpose of the recent conference on "An Introductory Course on Art therapy" to bring forth the subject to the Thai practitioners, both the visual artists and psychiatrists, to become acquainted with it. A short paper entitled "What is Art therapy" was among several highlights relevant to the conference theme. The presentation briefly described the Thai word 'silpagum bumbud' and the word 'Art Therapy', and its historical meaning for background knowledge, with the aim at raising an awareness of the work and profession of 'Art Therapy' in Thailand with the hope that the understanding of the subject would lead to the institution of art therapy practice more widely in Thailand. The speaker stipulated that 'Art Therapy' is a mental health modality which will find many applications in Thailand as it does in Western countries; the need for art therapy will in part relate to increasing stress levels in Thai society engendered by the rapid changes in socioeconomic conditions in recent years.  การประชุมวิชาการ “แนะนำศิลปกรรมบำบัด” เมื่อวันที่ ๑๗-๒๑ มีนาคม ๒๕๓๙ ที่คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เป็นผู้ริเริ่มและวางแผนประสานกับองค์กรดวงประทีบแห่งตะวันออก - ลอสแองเจลีส, สรอ. จนเกือบขั้นสุดท้ายแล้ว แต่ประสบปัญหาบางประการจึงมอบให้ คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากรเป็นผู้ดำเนินจัดการประชุมเป็นรูปธรรมดังเป็นที่ประจักษ์แล้ว เมื่องานได้สิ้นสุดลงผู้เกี่ยวข้องและผู้เข้าประชุมต่างเห็นพ้องกันว่าเป็นงานที่ได้ผลสมเป้าหมาย “แนะนำศิลปกรรมบำบัด” และคุ้มค่า เกิดคาด รายการต่างๆ ของการประชุมรวมทั้งแผ่นบรรยาย ได้สร้างความเข้าใจศิลปกรรมบำบัดสมัยใหม่ ให้แก่นักศิลปกรรมบำบัดและจิตแพทย์ลึกซึ้ง และกว้างขวางกว่าเดิม หัวข้อการบรรยายที่สำคัญและเป็นจุดเด่นของการประชุมก็คือ “ศิลปกรรมบำบัดคืออะไร” จากคณะศิลปกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพาและ “ศิลปกรรมบำบัด: จิตบำบัดทางเลือก” ของกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. ผู้เขียนขอนำบทบรรยายในการประชุมหัวข้อ “ศิลปกรรมบำบัดคืออะไร” มาเสนอเพื่อผู้สนใจจะได้ติดตามศึกษาต่อไป การบรรยายเริ่มด้วยการอธิบายแก้ความสับสนในการใช้ศัพท์ “ศิลปะบำบัด” และ “ศิลปกรรมบำบัด” ในความหมายของ Art Therapy. ผู้บรรยายอ้างรากศัพท์ตามความหมายในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ซึ่งศิลปะบำบัดอาจหมายถึง การบำบัดอย่างมีศิลปะ (artistic therapy) และศิลปกรรมบำบัด หมายถึง การใช้งาน ด้านศิลปกรรมเพื่อการบำบัดรักษาผู้ป่วย (art as therapy). ผู้บรรยายได้ยกตัวอย่างคำ “ศิลปศาสตร์” (Liberal Arts) กับคำ “ศิลปกรรมศาสตร์” (Fine Arts) แสดงถึงความแตกต่าง ระหว่างการใช้ คำ “ศิลปะ” กับ “ศิลปกรรม” ต่อจากนั้น ผู้บรรยายได้เสนอนิยาม 'ศิลปกรรมบำบัด (Art therapy) ที่เคยให้ไว้ในบทความเรื่อง “ศิลปกรรมบำบัด : ความสังเขป” ว่า ‘ศิลปกรรมบำบัด’ คือ การใช้งานศิลปะ หรือศิลปกรรม ไปบำบัดรักษาผู้ป่วย และเป็นกระบวนการการบำบัดทางเลือก วิธีหนึ่งของ จิตบำบัด' (Psychotherapy) ที่เป็นการบำบัดภาวะ ผิดปกติทางจิตวิทยา ปัจจุบัน ‘ศิลปกรรมบำบัด’ เป็นศาสตร์ที่แพร่หลายเป็นวิชาชีพแล้วในประเทศสหรัฐอเมริกาตั้งแต่ จิตแพทย์ โนแลน เอน ดี.ซี. ได้ริเริ่มแนวคิดและต่อมามีนักศิลปกรรมบำบัด ที่มีชื่อเสียงหลายท่านเช่น มาร์กาเร็ต นอมบวร์ก และ อีดิธ เครเมอร์ ได้ให้กำเนิดศาสตร์นี้ขึ้นเป็นรูปธรรม ‘ศิลปกรรมบำบัด’ อาศัยกิจกรรมทั้งด้านศิลปกรรมและจิตวิทยาในการบำบัดผู้ป่วยทางจิตโดยใช้งานศิลปะประเภทที่เน้นการแสดงออกทางอารมณ์ เช่น ทัศนศิลป์ ดนตรี และศิลปะการแสดงและการละคร ฯลฯ อย่างไรก็ดี โดยกำเนิดและสากล นักศิลปกรรมบำบัดและจิตแพทย์นิยมใช้ ทัศนศิลป์ เช่น จิตรกรรม และประติมากรรม ในการบำบัดเท่านั้นเพราะสื่อศิลปกรรมเหล่านี้เป็น “ภาษาสัญลักษณ์” ที่เป็นการแสดงออกอย่างอิสระของอารมณ์ ความรู้สึก ความขัดแย้ง และความต้องการ อันเป็นปรากฏการณ์ที่สามารถนำมาวิเคราะห์และวินิจฉัยภาวะทางอารมณ์และจิตใจได้

Downloads

Published

2024-02-02