ศิลปะร่วมสมัยบนรากเหง้าแห่งวัฒนธรรมเดิม : การพัฒนาศิลปะการแสดงร่วมสมัยจากดนตรีและท่ารำโบราณ (โขน) ระหว่างศิลปินไทยและกัมพูชา
Keywords:
ศิลปกรรมร่วมสมัย, ศิลปะการแสดง, โขน, การรำ, กัมพูชาAbstract
กล่าวนำถึงการทำงานและศิลปะในกัมพูชา โครงการการพัฒนาศิลปะร่วมสมัย โดยพัฒนาบนพื้นฐานของรากเหง้าวัฒนธรรมของตนเองนั้น เกิดขึ้นโดยการดำริของรองศาสตราจารย์พรรัตน์ ดำรุง อาจารย์ประจำภาควิชาศิลปะการละคร คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ Mr. Fred Frumberg ศิลปินชาวอเมริกัน ซึ่งดำรงตำแหน่ง Director ของ Amrita Performing at ประเทศกัมพูชา Amrita Performing Art เป็นองค์กรที่มีหน้าที่ทำงานด้าน Cultural Management ในประเทศกัมพูชา โดยดูแลศิลปินชาวกัมพูชา ตลอดจนรวบรวม เก็บข้อมูล ฟื้นฟูศิลปะของกัมพูชาในทุก ๆ ด้านเช่น จิตรกรรม ประติมากรรม ดนตรีและการแสดง ซึ่งนับเป็นองค์กรที่มีบทบาทต่อองค์กรทางศิลปะของกัมพูชาเป็นอย่างมาก ผู้เขียนได้มีโอกาสร่วมเดินทางและทำงานกับคณะทำงานชุดนี้โดยได้รับคัดเลือกเข้าร่วมทำงาน ในฐานะนักขับร้องเพลงไทย ซึ่งมีความเข้าใจในด้านทฤษฎีดนตรีไทย และความรู้พื้นฐานด้านดนตรีกัมพูชา การเดินทางไปประเทศกัมพูชา ในครั้งนี้นับได้ว่าเป็นครั้งที่สำคัญครั้งหนึ่งของศิลปินไทยและกัมพูชา เพราะกัมพูชาและไทยมีรูปแบบศิลปะที่มีลักษณะใกล้เคียงกันมาก ดังนั้นคณะทำงานเชื่อว่าเมื่อกล่าวถึงงานศิลปะการแสดงร่วมสมัยในกัมพูชา คงมีทั้งคนที่ตื่นเต้นกับผลงานที่กำลังจะเกิดขึ้น และคนตามแบบอนุรักษ์นิยมที่ไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลงใด ๆ เลย ซึ่งเมื่อเดินทางไปกัมพูชาก็ปรากฎว่าเป็นเช่นนั้นจริง ๆDownloads
Published
2024-02-05
Issue
Section
Articles