พระเจ้าใหญ่ศรีสรรเพ็ชญ (พระปัทม์) จังหวัดอุบลราชธานี คุณค่าและการอนุรักษ์

Authors

  • ศมประสงค์ ชาวนาไร่

Keywords:

พระพุทธรูป, อุบลราชธานี, พระเจ้าใหญ่ศรีสรรเพ็ชญ

Abstract

พื้นที่จังหวัดอุบลราซธานีปัจจุบันพบร่องรอยการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์มาแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์แล้วจนพัฒนาสืบเนื่องลงมาในสมัยเริ่มแรกประวัติศาสตร์ชาติไทย ในวัฒนธรรมแบบมอญ - เขมร และยังหมายถึงบทบาทและความสำคัญในสมัยประวัติศาสตร์ชาติไทย ตั้งแต่ลำดับแรกเรื่อยลงมาและเฉพาะอย่างยิ่ง ในสมัยรัตนโกสินทร์ ที่ปรากฎหลักฐานทั้งจากเอกสารโบราณ โบราณวัตถุสถานต่าง ๆ เป็นอันมาก ในสมัยกรุงธนบุรี เมื่อพระเจ้าศิริบุญสารแห่งนครเวียงจันทน์ ได้ราชสมบัติต่อจากพระอัยกา (พระเจ้าชัยเชษฐาธิราชที่ ๒) นั้น เจ้าพระตาและเจ้าวรราชภักดี (ชาวอุบลราชธานีเรียก พระวอฯ เสนาบดี ๒ พี่น้อง ที่ช่วยให้พระองค์ได้สืบราชสมบัติยังคงเป็นเสนาบดีดังรัชกาลก่อนจนเมื่อถูกระแวงว่าจะชิงราชสมบัติ ด้วยคำยุยง จึงเป็นเหตุให้อพยพผู้คนสมัครพรรคพวกจากเวียงจันทน์เพื่อไปตั้งเมืองใหม่ เลยทำให้คำยุยงว่าจะเป็นกบฎ เป็นจริงขึ้นมาทางเวียงจันทน์จึงส่งกองทัพมาปราบ เจ้าพระตาเสียชีวิตในที่รบ เจ้าวรราชภักดีแม้จะรอดมาได้ในคราวนี้แต่ก็ต้องสิ้นชีพในสนามรบลงอีก จากการปราบปรามของเวียงจันทนในครั้งหลัง ทั้งที่ก่อนหน้านี้เจ้าวรราชภักดีเคยขอความช่วยเหลือจากทัพพม่า แต่พม่าซึ่งมีมังระแง เป็นแม่ทัพกลับช่วยข้างเวียงจันทน์ หรือแม้แต่การหนีไปพึ่งพระเจ้าไชยกุมาร (เจ้าองค์หลวง) เมืองจำปาศักดิ์ได้ไม่กี่ปีก็เกิดขัดใจกันอีก จนท้ายที่สุดได้เข้ามาสวามิภักดิ์เป็นข้าขอบขัณฑสีมากับพระเจ้ากรุงธนบุรี โดยมีเมืองนครราชสีมา เป็นตัวเชื่อมโยงความสัมพันธ์ฐานะประเทศราชในครั้งนี้

Downloads

Published

2024-02-05