จิตรกรรมฝาผนังริมฝั่งทะเลภาคตะวันออก บทสรุปจากการศึกษาระยะแรก

Authors

  • สุชาติ เถาทอง

Keywords:

จิตรกรรมฝาผนัง, ชลบุรี, จิตรกรรมฝาผนังพุทธศาสนา, ศิลปกรรมไทย

Abstract

ภาคตะวันออกมีประวัติศาสตร์และความเจริญทางศิลปะและวัฒนธรรมมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์สืบเนื่อง พัฒนามาจนถึงสมัยปัจจุบัน ปรากฏหลักฐานทางศิลปะและวัฒนธรรมที่มีคุณค่ากระจายอยู่ทั่วไปทั้งในเขตภาคตะวันออกตอนบนและภาคตะวันออกตอนล่าง แต่หลักฐานทั้งทางศิลปะและโบราณคดีกลับไม่เป็นที่รู้จักและได้รับความสนใจจากนักวิชาการ นักวิจัยมากนัก ที่จะเข้ามาศึกษา ค้นคว้า เพื่อวิเคราะห์หาข้อสรุปจากเนื้อหา หรือเรื่องราวจากหลักฐานต่าง ๆ เหล่านั้น ดังนั้นสมบัติทางวัฒนธรรมในหลายด้าน อาทิ จิตรกรรม ประติมากรรมสถาปัตยกรรม เป็นต้น ที่ถูกปิดซ่อนอยู่ภายในศาสนสถาน หรือ ถูกปล่อยทิ้งร้างตากแดด ตากฝน จึงถูกปล่อยปละละเลยโดย ขาดการดูแลเอาใจใส่ของผู้เกี่ยวข้องมาเป็นระยะเวลานาน มีผลให้ศิลปวัตถุและหรือเรื่องราวที่มีคุณค่าทั้งหลายต้องสูญสลายไปในที่สุดก่อนเวลาอันสมควร ในบทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของการวิจัย "พหุลักษณ์ของจิตรกรรมฝาผนังริมฝั่งทะเลภาคตะวันออก" ที่ต้องการศึกษาวิเคราะห์เพื่อค้นหารูปแบบ และวิวัฒนาการของจิตรกรรมฝาผนังในภูมิภาคนี้ ดำเนินการตีความจิตรกรรมฝาผนังเป็นรายกรณี โดยเฉพาะแนวรูปแบบที่ชัดเจนด้วยลักษณะร่วมของจิตรกรรมฝาผนังในแบบอย่างนั้นจำนวนมาก หรือเป็นแนวรูปแบบที่มีลักษณะเด่นเฉพาะ ซึ่งแม้จะมีจำนวนไม่มากก็ตาม ซึ่งจากการวิจัยได้ผลว่า พบหลักฐาน จิตรกรรมฝาผนังมากที่สุดที่จังหวัดชลบุรีในเขตริมฝั่งทะเลตอนบน รองลงมาที่จังหวัดจันทบุรีในเขตริมฝั่งทะเลตอนล่าง ส่วนที่จังหวัดระยองพบหลักฐานจิตรกรรมฝาผนังน้อยที่สุด (ตารางที่ 1) ซึ่งจังหวัดชลบุรีพบหลักฐาน มากที่สุด (50) และจังหวัดจันทบุรีรองลงมา (36.36) จังหวัดระยองพบแหล่งข้อมูลน้อยที่สุด (4.55) โดยที่ในจํานวน นี้มีวัดหลวงเพียง 7 แห่งเท่านั้น ปัจจัยที่จังหวัดชลบุรี และจันทบุรีมีจิตรกรรมฝาผนังมากกว่าจังหวัดอื่นในเขตริมฝั่งทะเลของภาคตะวันออกตอนล่าง น่าจะมีเหตุผลมาจากการเป็นศูนย์กลางของเมืองเก่า มีการติดต่อค้าขายกับเมืองต่าง ๆ มาแต่เดิมตั้งแต่สมัยทวารวดี รวมถึงการเป็นแหล่งกสิกรรมพืชไร่ พืชสวน และประมงที่สำคัญของประเทศสร้างรายได้ให้กับชุมชนท้องถิ่น ในแถบริมฝั่งทะเลมาตั้งแต่แรก อีกทั้งการเป็นชุมชนหรือเมืองที่ตั้งอยู่ไม่ห่างไกลจากเมืองหลวง สามารถรับแบบอย่าง และแบบแผนจิตรกรรมฝาผนังจากส่วนกลาง (ศิลปะกรุงเทพฯ) ได้โดยง่าย พบได้ว่าวัดในเขตริมฝั่งทะเลตอนบน (ชลบุรี ระยอง) มีภาพจิตรกรรมฝาผนังเขียนตามแบบอย่างช่างหลวงมากถึง 7 แบบ และรูปแบบมีลักษณะเป็นไป ตามแบบอย่างจิตรกรรมฝาผนังในส่วนกลางตามช่วงเวลาต่าง ๆ กัน ในขณะที่รูปแบบช่างท้องถิ่นมีภาพจิตรกรรม ฝาผนังถึง 17 แบบ แต่รูปแบบมีลักษณะต่าง ๆ กันออกไปไม่เป็นไปตามแบบแผน และหรือบรรทัดฐานของศิลปะ กรุงเทพฯ มากนัก (ตารางที่ 2) อีกทั้งรูปแบบช่างหลวงเขียนภาพลักษณะแบบไทยประเพณีรัชกาลที่ 4 มาก (2) ภายในอุโบสถหลังใหม่วัดอ่างศิลา และพระอุโบสถวัดไผ่ล้อม และเป็นรูปแบบที่มีคุณค่า มีความสําคัญทางศิลปะ ได้แก่ แบบอยุธยา ระยะแรกภายในพระวิหาร และแบบเลียนแบบครูช่างเดิมในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นภายในพระอุโบสถของวัดใหญ่อินทาราม จังหวัดชลบุรี หรือแบบประยุกต์ศิลปะตะวันตกภายในอุโบสถวัดเสม็ดก็เป็นรูปแบบช่างหลวงแบบรัชกาลที่ 4 แบบเดียวที่ปรากฏหลักฐานในภาคตะวันออกอีกด้วย

Downloads

Published

2024-02-06