สถาปัตยกรรมภาคตะวันออก (2)

Authors

  • สุวิทย์ จิระมณี

Keywords:

สถาปัตยกรรม, ไทย, ภาคตะวันออก

Abstract

(ต่อจากวารสารศิลปกรรมบูรพา ฉบับภาคต้น ปีการศึกษา 2544) ศิลปสถาปัตยกรรมร่วมสมัยวัฒนธรรมขอม แหล่งพบชุมชนโบราณสายวัฒนธรรมขอมในจังหวัดจันทบุรีบริเวณที่ชาวบ้านเรียกว่า "พะเนียด" ตำบลคลองนารายณ์ใกล้เชิงเขาสระบาป อำเภอเมืองพบแนวคันดินและซากโบราณสถานก่อด้วยศิลาแลงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าปัจจุบันโบราณสถานได้ถูกทำลายโดยชาวบ้านเข้าไปตั้งบ้านเรือนทำสวนในเขตติดกับโบราณสถานโบราณวัตถุสถานบางชิ้นที่หลงเหลือ บางส่วนได้รวบรวมไว้ที่วัดทองทั่ว ได้แก่ ทับหลัง เสากรอบประตู รูปสลักสิงห์อิฐเก่า ที่มีอายุทั้งเก่าและสร้างในภายหลัง โดยเฉพาะทับหลังรูปโค้งมาร เมื่อเทียบกับศิลปในกลุ่มกัมพูชาตามรูปประติมาณวิทยาลักษณะเป็นศิลปกรรมของแคว้นเจนละสมัย ถาลาบริวัตร สมัยก่อนเมืองพระนครมีอายุราวประมาณพุทธศตวรรษที่ 11 - 12 ซึ่งศาสตราจารย์ของ บอส เซอลิเยร์ ได้ให้ทรรศนะเกี่ยวกับทับหลังชิ้นนี้น่าจะเป็นหน้าบันมากกว่าเป็นทับหลัง มีอายุเก่าแก่ถึงพุทธศตวรรษที่ 8 - 11 และนอกจากนี้ยังพบเสากรอบประตูจากลักษณะฝีมือเป็นลวดลายศิลปกรรม ที่สร้างในสมัยหลัง และยังพบจารึกอักษรขอมโบราณ ศาสตราจารย์ยอช เซเดย์ สันนิษฐานว่าคงสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 800 – 1000 จากการพบร่องรอยและหลักฐานโบราณวัตถุสถานเมืองพะเนียด ซึ่งแสดงว่าในท้องถิ่นแถบเชิงเขาสระบาป พะเนียดและวัดทองทั่งมีชุมชนโบราณในสายวัฒนธรรมขอม มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 8 - 11 และยังคงสืบเนื่องมาถึงพุทธศตวรรษที่ 16 เนื่องด้วย หลักฐานโบราณวัตถุสถานได้ปรักหักพัง และเคลื่อนย้ายกระจัดกระจายจึงทำให้ไม่สามารถทำให้ทราบถึงลักษณะสถาปัตยกรรมที่เด่นชัดว่ามีลักษณะรูปแบบใดแน่นนอน ถึงแม้ว่าจะมีตำนานกล่าวถึงเมืองกาไวเกี่ยวกับผู้ครองนครโบราณแห่งนี้ เนื้อเรื่องในตำนานมักจะผูกพันกับชื่อสถานที่ในท้องถิ่นแถบนี้เล่าสืบทอดกันมาเช่นเดียวกับตำนานในท้องถิ่นอื่น

Downloads

Published

2024-02-06