ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสุนทรียศาสตร์
Keywords:
สุนทรียศาสตร์, ศิลปะ, ปรัชญาAbstract
สุนทรียศาสตร์เป็นศาสตร์ที่มีความสำคัญแขนงหนึ่งในปรัชญา 3 สาขาใหญ่คือ 1. ญาณวิทยา (Epistemology) ศึกษาเกี่ยวกับความรู้ 2. ภววิทยา (Ontology) ศึกษาเกี่ยวกับความจริง 3. คุณวิทยา (Axiology) ศึกษาเกี่ยวกับคุณค่า 3.1 ตรรกวิทยา (logic) 3.2 จริยศาสตร์ (ethics) 3.3 เทววิทยา (theology) 3.4 สุนทรียศาสตร์ (Aesthetics) ในที่นี้จะขอกล่าวถึงเฉพาะสุนทรียศาสตร์ซึ่งเป็นปรัชญาที่ศึกษาค้นหา คุณค่าเกี่ยวกับความงาม แบบแห่งความงาม หรือความงามที่เป็น "มโนภาพ (Idea) แห่งความงาม” ดังนั้น สาระสําคัญของสุนทรียศาสตร์ก็คือ ความเป็นมาที่มนุษย์ให้ความสนใจในประเด็นปัญหาทางความงามทั้งจากธรรมชาติและปัญหาที่ว่า อะไรคือตัวบ่งชี้คุณภาพสูงสุดและความเป็นสากลที่สุด ศิลปกรรมให้อะไรกับสังคมและมนุษย์สร้างสรรค์ศิลปกรรมอย่างไร เพื่ออะไร ความเป็นมาและความหมายการเคลื่อนไหวทางความคิดของนักปรัชญาเกี่ยวกับการค้นหาเครื่องมือที่จะช่วยตรวจสอบเพื่ออธิบายความรู้ ความจริง คุณค่าเกี่ยวกับความงามนั้นได้เริ่มกันมาตั้งแต่สมัยกรีกโบราณ เพราะแนวความคิดแบบกรีกมีลักษณะการศึกษาวิเคราะห์เชิงปรัชญา ค่อนข้างจะมีระบบ และมีการมองที่กว้างไกลออกไปโดยการค้นหาข้อมูลจากส่วนต่าง ๆ มาประกอบการอธิบาย ความรู้ นักปรัชญาของชาวกรีกหลายท่านที่เห็นถึงความสำคัญและกล่าวถึงแนวความคิดความเชื่อเกี่ยวกับความงามเริ่มตั้งแต่ช่วงประมาณ 600 ปี ก่อนค.ศ. หรือประมาณ 2,600 ปีมาแล้ว นักปรัชญา เช่น โสฟิสท์ โสเครทีส, เพลโต, อริสโตเติล มีการกล่าวถึงเรื่อง สิ่งที่มีผลต่อความรู้สึกของมนุษย์ ความจริงของความงาม ความสะเทือนใจ อันเป็นผลมาจาก ความรู้สึกประสาทสัมผัส (sense) และการกำหนดรู้รับรู้ (perceive) สัญชาน (Perception) ผลแห่งการรับรู้ความงามจากสิ่งรอบตัวเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นและมีการเสนอแนวคิดต่าง ๆ ขึ้น เพื่ออธิบายว่าความงามคืออะไร ทำไมมนุษย์ต้องรับรู้ความงามทำไมต้องเกิดความรู้สึกว่างาม ความงามสัมพันธ์กับสิ่งใด และอะไรเป็นเครื่องมือตัดสินว่างามหรือไม่งาม จากทรรศนะและแนวคิดต่าง ๆ ดังกล่าวที่ผ่านมาของนักปรัชญากรีกยังไม่มีการใช้คำว่า สุนทรียศาสตร์ (Aesthetics) โดยตรงแต่มีคำอยู่สองคำ คือ Aisthenathai หมายถึง การรับรู้ และคำว่า Aestheta หมายถึงสิ่งที่รับรู้ได้ ทั้งสองคำนำมารวมกันใช้ว่า Aithetikos มีความหมายว่า สิ่งที่เกี่ยวกับความรู้สึกทางการรับรู้ในสมัยกรีก กวีนิพนธ์ งานประพันธ์ บทพูด บทสนทนา การพูดในที่สาธารณะ วาทศิลป์ทั้งหลายมีความสำคัญ เป็นสิ่งที่มีความหมาย เป็นศิลปะหลังจากสมัยกรีกแล้วสังเกตได้ว่า มีผลงานนิพนธ์งานประพันธ์ความเรียงมากมายในประเทศเยอรมันที่เกี่ยวข้องกับการอธิบายความงามDownloads
Published
2024-02-06
Issue
Section
Articles