การวิจัยทางศิลปกรรมศาสตร์

Authors

  • ภรดี พันธุภากร

Keywords:

ศิลปกรรม, ศิลปะ, การศึกษาและการสอน, วิจัย

Abstract

มนุยษ์เป็นผู้ที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และใช้ความพยายามเสาะแสวงหาความรู้ด้วยวิธีการต่าง ๆ นับแต่อดีตถึงปัจจุบัน ดังนั้นการวิจัย อันเป็นวิธีการที่เชื่อมโยงระบบความคิดกับการค้นหาข้อเท็จจริงอย่างมีระบบ มีขั้นตอน ทั้งเป็นการกระทำอย่างมีจุดมุ่งหมายแน่นอน มีการรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องในหลายลักษณะ และนำมา วิเคราะห์ด้วยวิธีการที่เหมาะสม เพื่อตอบปัญหา ได้ข้อพิสูจน์ ได้ความรู้ใหม่หรือได้ประดิษฐ์กรรมใหม่นั้น จึงเป็นวิธีการเสาะแสวงหาความรู้ของมนุษย์ ที่มีความชัดเจนและเป็นระบบ กระนั้นก็ตาม การวิจัยดูราวกับจะเป็นวิธีการที่ยุ่งยากสลับซับซ้อนเป็นเหตุเป็นผล เป็นข้อเท็จจริงที่ต้องพิสูจน์ได้ในทางวิทยาศาสตร์ ขณะที่ศิลปกรรมศาสตร์ เป็นศาสตร์ทางศิลปะที่มีสุนทรีย์มีอารมณ์ ความรู้สึกนึกคิดที่เกิดจากจินตนาการและความประทับใจ ซึ่งบางครั้งอาจมีเหตุผลที่อธิบายได้ ขณะที่บางครั้งอาจไร้ซึ่งเหตุผลหรือ อธิบายไม่ได้ในเชิงวิชาการ การวิจัยทางศิลปกรรมศาสตร์ จึงนับเป็นความจำเป็นที่จะต้องศึกษาค้นคว้า ในสิ่งที่เกี่ยวข้องกับสุนทรียอารมณ์ จินตนาการ ความประทับใจ แสดงออกด้วยผลงานทางศิลปกรรมสาขาต่าง ๆ ในรูปแบบที่หลากหลาย ให้เข้าใจได้ด้วยความเป็นเหตุเป็นผลด้วยข้อเท็จจริง และด้วยวิธีการวิจัยที่เหมาะสม ศิลปกรรมศาสตร์ เป็นศาสตร์ทางด้านศิลปะ ซึ่งแต่เดิมเป็นความรู้ทางด้านศิลปะและรวมเรียกว่าวิจิตรศิลป์ ซึ่งประกอบด้วยความรู้และการสร้างงานศิลปะ 5 ประเภท ได้แก่ 1. จิตรกรรม (Painting) งานศิลปะที่แสดงออกด้วยสีและเงาในลักษณะ 2 มิติ 2. ประติมากรรม (Sculpture) งานศิลปะที่แสดงออกในลักษณะงาน 3 มิติ ด้วยวัสดุชนิดต่าง ๆ มีปริมาตรของรูปทรง 3. สถาปัตยกรรม (Architecture) เป็นศาสตร์และศิลปะที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างความสัมพันธ์ระหว่างปริมาตรของรูปทรงกับพื้นที่ว่าง 4. วรรณกรรม (Literature) เป็นศาสตร์เป็นศิลปะที่แสดงออกด้วยภาษาด้วยเรื่องราวด้วยท่วงทำนอง 5. ดนตรีและนาฏศิลป์ (Music and Drama) เป็นศาสตร์ทางด้านศิลปะที่ แสดงออกด้วยเสียง ท่วงทำนอง จังหวะ และลีลาการเคลื่อนไหวของร่างกาย

Downloads

Published

2024-02-06