การศึกษาผลงานออปอารต์ ของวิคเตอร์ วาซาร์ลีและทฤษฎีสีแสงของ อัลเบิร์ต เอชมันเซลล์ เพื่อสร้างงานศิลปะสร้างสรรค์

A study of Victor Vasarely's optical art and albert H. Munsell's light color theory for creative art

Authors

  • กฤษฎา แสงสืบชาติ

Keywords:

อัลเบิร์ต เอชมันเซลล์, วิคเตอร์วาซาร์ลี, ศิลปะ, วิจัย, แสง

Abstract

การวิจัย ฉบับนี้เป็นการวิจัย และพัฒนา (Research and Development : R&D) มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษา ผลงานออปอาร์ต ของวิคเตอร์ วาซาร์ลีและทฤษฎีสีแสง ของอัลเบิร์ต เอช. มันเซลล์โดยนำผลการศึกษามา พัฒนาเพื่อสร้างงานศิลปะสร้างสรรค์ของผู้วิจัยทั้งนี้ ผู้วิจัยใช้กลุ่มตัวอย่างผลงาน ของวิคเตอร์วาซาร์ลี จำนวน 18 ภาพ จากการคัดเลือกภาพของผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน โดยอาศัยเกณฑ์ในการคัดเลือก ภาพผลงานดังนี้ คือ 1. เป็นภาพผลงานศิลปะออปอาร์ตของวิคเตอร์ วาซาร์ลี ในช่วงปี ค.ศ. 1952 ถึงปี ค.ศ. 1972 2. เป็นภาพผลงานศิลปะออปอาร์ต ของวิคเตอร์ วาซาร์ลี ที่มีลักษณะเป็นนามธรรมไม่แสดงรูปที่เป็น เนื้อหา เช่น ภาพคน ภาพทิวทัศน์ หรืออื่น ๆ 3. เป็นผลงานที่มีสีขาวดำหรือสีในวงจรสีใน 3 ขั้น สีที่แสดงผลทางการมองเห็นให้เกิดการลวงตา 4. เป็นภาพผลงานในลักษณะ 2 มิติเท่านั้นคือมีลักษณะ ความกว้างและยาว จากนั้นผู้วิจัยจะทําการศึกษาทฤษฎี สีแสงของอัลเบิร์ต เอช. มันเซลล์ 5 สีแสง ที่มีผลต่อการ รับรู้สีของวัตถุในชั้นสีทั้ง 3 ชั้นสี ทั้งหมด 12 สีตามทฤษฎี วงจรสีโดยทั่วไปโดยผู้วิจัย กำหนด กำลังส่องสว่างของ สีแสง ทั้ง 5 สีแสง ไว้ที่ระดับ N7 และฉายแสงลงไปที่สีในขั้นสีทั้ง 12 สี พร้อมกัน เพื่อศึกษาผลการมองเห็นสีที่กำหนดไว้เป็นรหัสตัวเลข 4 ประเภทกล่าวคือ รหัสหมายเลข 1 คือการดูดกลืน สีแสงของวัตถุที่ วัตถุ สามารถปรากฏสีเดิมได้ รหัสหมายเลข 2 คือการดูดกลืนแสงสีที่ไม่ปรากฏ สีเดิม แต่มีสภาพดูดกลืนแสงสีนั้นจนวัตถุมีสีเป็นแสง สี นั้น ๆ ที่ส่องกระทบ รหัสหมายเลข 3 คือการดูดกลืนแสงของวัตถุ ทำให้เกิดสีใหม่ขึ้น รหัสหมายเลข 4 คือการดูดกลืนแสงสี ที่วัตถุมีสภาพเป็น สีเทา, น้ำตาลหรือดำ กล่าว คือวัตถุดูดกลืน แสงทั้งหมด ผลการศึกษาวิเคราะห์สรุปได้ดังนี้ การสร้างผลงานศิลปะออปอาร์ตของวิคเตอร์ วาซาร์ลี นั้นศิลปินได้พยายามสร้างการลวงตาในภาพ ผลงาน โดยการใช้รูปทรงทางเรขาคณิต (Geometic Forms) ในการทำงานมากที่สุด ในบางผลงานศิลปิน ได้ทดลอง แทรกรูปทรง อิสระเข้าร่วมในการ สร้างผลงาน ศิลปินเลือกรูปแบบของรูปทรง ทางเรขาคณิต มากกว่า 1 รูปแบบ เพื่อให้เกิดผลต่อการลวงตาแต่ รูปแบบของรูปทรง ที่ปรากฏมาก ที่สุดคือการใช้รูป แบบ รูปทรง เรขาคณิต 2 รูปแบบในผลงาน โดยนำรูปทรงเหล่านั้น มาประกอบกันโดยวิธีการทับซ้อนกัน มากที่สุด ตามด้วยวิธีการประกอบกันของรูปทรง แบบต่อเนื่องกันซึ่งการประกอบกัน ตามวิธีดังกล่าวทำให้ประสบความสำเร็จในการลวงตาเป็นอย่างยิ่ง ศิลปินอาศัยการจัดวางภาพ ในลักษณะดุลยภาพแบบสมมาตร กล่าวคือ ด้านซ้าย ด้านขวา ด้านบน และล่าง มองดูแล้วมีการจัดว่าง เท่าๆ กัน ศิลปินอาศัยวิธีการจัดจังหวะของรูปทรง เรขาคณิต นั้น ๆ ให้เกิดจังหวะซ้ำ ๆ กัน รวมทั้งวิธีการจัดจังหวะแบบขยายเพิ่มขึ้นและต่อเนื่องกันก็เป็นอีกวิธีที่ศิลปินเลือกใช้ ในเรื่องวิธีการเลือกใช้สีในภาพผลงานศิลปิน เลือกใช้ คือวิธีการของสีเอกรงค์ เป็นส่วนใหญ่ตามด้วย การใช้สีขาวและดำ ในภาพผลงาน ซึ่งวิธีการ ใช้สีทั้ง 2 แบบ มีผลต่อการสร้างภาพลวงตาเป็นอย่างมาก ผลการศึกษาการเปลี่ยนแปลงการดูดกลืน สีแสง ทั้ง 5 สีแสง ได้แก่ แสงสีเหลือง แสงสีเขียว, แสงสีแดง แสงสีม่วง และแสงสีน้ําเงิน ที่ถูกฉายลงบนสีทั้ง 12 สี ตามทฤษฎีวงจร สีทั้ง 3 ขั้นสีปรากฏผลว่าแสงสี เหลือง เมื่อฉายลงบนสี ในวงจรสีทั้ง 3 ขั้น สีในวงจร สีจะสามารถปรากฏสีเดิม ได้มากที่สุด แสงสีเขียวทำให้สีทั้ง 3 ขั้นสีไม่ปรากฏสีเดิม แต่มีสภาพดูดกลืนแสง สีนั้นจนวัตถุมีสีเปลี่ยนไปเป็นสีเขียวที่ส่องกระทบ คล้ายการย้อมสี แสงสีม่วงเพอร์เพิล ทำให้สีในขั้นสีทั้ง 3 ขั้นสีปรากฏสีใหม่ได้มากที่สุดคล้าย : การผสมสี และ แสงสีน้ำเงินทําให้สีทั้ง 3 ชั้นสี เปลี่ยนสภาพ สีจากเดิมเป็นสีเทา สีน้ำตาลหรือดำมากที่สุด จากการศึกษาวิเคราะห์ผลงานของ วิคเตอร์ วาซาาร์ลี และ ทฤษฎีสีแสงของอัลเบิร์ต เอช.มันเซลล์ ผู้วิจัยนำผลการศึกษดังกล่าวมาพัฒนาสร้างสรรค์ผลงาน ศิลปะสร้างสรรค์ในแบบผู้วิจัย จำนวน 7 ชิ้นผลงาน โดยสรุปวิธีการพัฒนาสร้างสรรค์ได้ดังนี้ ผู้วิจัยเลือกใช้รูปทรงเรขาคณิต ในการสร้างสรรค์ ผลงานมากที่สุดเพราะเป็นรูปทรงที่ศิลปินเลือกใช้และประสบความสำเร็จอย่างมาก การสร้างผลงานลวงตา โดยผู้วิจัยเลือกรูปแบบของรูปทรงแบบ 2 รูปทรง มากที่สุด โดยการนำรูปทรงทั้ง 2 รูปแบบมาทำการประกอบกัน ให้เกิดการต่อเนื่องกัน ด้วยวิธีการจัดวาง ดุลยภาพแบบสมมาตร อาศัยการจัดจังหวะ แบบขยาย เพิ่มขึ้นและต่อเนื่องกันจากจุดศูนย์กลาง ให้ความรู้สึกขยายออกในทุกทิศ ทุกทาง ผู้วิจัยเลือกวิธีการ ใช้สีตรงข้ามและวิธีการสีข้างเคียงในจำนวนเท่าๆ กันเพื่อเป็นส่วนประกอบในการสร้างงานศิลปะสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะที่แตกต่าง ออปอาร์ต ของ วิคเตอร์ วาซาร์ลี เพราะผู้วิจัยได้มุ่งเน้นการลวงตา ในเรื่องของสีแสงที่มีผลต่อการรับรู้สีของวัตถุซึ่งเป็นการลวงตาด้วยสีและแสงที่แตกต่างออกไป สีแสง ที่ผู้วิจัย เลือกใช้ในการสร้างผลงาน ครั้งนี้มากที่สุด คือแสงสีเหลือง เพราะแสงสีเหลือง มีผลกระทบต่อสี ในชั้นสีทั้ง 3 ขั้นสีน้อยที่สุด ส่วนแสงสีอื่นๆ ผู้วิจัยได้ เลือกใช้บ้าง เช่น แสงสีแดง แสง สีเขียว แสงสีน้ำเงิน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความจงใจในการทำปฏิกิริยาต่อการมองเห็นของแสง ที่มีต่อสีของวัตถุที่เลือกไว้ดุลยภาพแบบสมมาตร อาศัยการจัดจังหวะ แบบขยาย เพิ่มขึ้นและต่อเนื่องกันจากจุดศูนย์กลาง ให้ความรู้สึกขยายออกในทุกทิศทุกทาง ผู้วิจัยเลือกวิธีการ ใช้สีตรงข้ามและวิธีการสีข้างเคียงในจำนวนเท่าๆ กันเพื่อเป็นส่วนประกอบในการสร้างงานศิลปะสร้างสรรค์ ซึ่ง เป็นลักษณะเฉพาะที่แตกต่างจากงานออปอาร์ต ของ วิคเตอร์ วาซาร์ลี เพราะ ผู้วิจัยได้มุ่งเน้นการลวงตาในเรื่องของสีแสง ที่มีผลต่อการรับรู้สีของวัตถุซึ่งเป็นการลวงตาด้วยสีและแสงที่แตกต่างออกไป สีแสง ที่ผู้วิจัยเลือกใช้ในการสร้างผลงาน ครั้งนี้มากที่สุด คือแสงสีเหลือง เพราะแสงสีเหลือง มีผลกระทบต่อสี ในชั้นสีทั้ง 3 ขั้นสีน้อยที่สุด ส่วนแสงสีอื่นๆ ผู้วิจัยได้ เลือกใช้บ้าง เช่น แสงสีแดง แสงสีเขียว แสงสีน้ำเงิน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความจงใจในการทำปฏิกิริยาต่อการมองเห็นของแสง ที่มีต่อสีของวัตถุที่เลือกไว้  This is a research and development that focused on studying Vasarely's Optical Art and Albert H. Munsell's Light Color Theory for Creating Art. These were retroactive from studying 18 pieces of Vasarely's works of art, his optical art since 1952 to 1972, non-representational optical art with no recognizable form, or those with black and white or the others in the color wheel which effected illusion and art in the two dimensional type with width and length. Then the researcher has studied Munsell's Light Color Theory for Creating Art for five series that effected colors of object according to the color wheel, I set the power of lighting of these colors on N7 level by lighting once on 12 colors to study the perception for 4 categories number 1 for the absorbent of object that revealed its own color, number 2 for the object which was not revealed it's ow n color but absorbed and appeared the new light and color number 3 for the absorbent of object appeared new color and number 4 for the absorbent that object revealed gray, brown or black because the object absorbed the light completely. The retroactive from studying could be concluded: - Vasarely's creation of art which created illusion in his art by using geometric form mostly, some of his art he tried to join with free form, he selected more than geometric type of form that offected illusion by composing in overlapping and connecting form in which making illusion mostly artist composed in symmetrical balancing that every sides looked balance\ing. He composed by repeating the rhythymic geometric form and progressive continuing composition. Artist selected monochrome color mostly and following with black and white color which effected illusion absolutely. The retroactive from studying the absorbent of 5 color, yellow, green, red, purple and blue light that lighted on 12 colors in the wheel revealed that yellow light reflected it's own color most, green light influenced the invisible object's color but appeared in green coloring object, purple light changed the color wheel to reflect new color most like mixed color and blue light effected the color wheel by turning color to gray, brown or black most. The research en was influenced by these retroactive of studying, Vasarely's Optical Art and Munsell's Light Color Theory for Creating Art that could be concluded: - The researcher has selected geometric form mostly according to Vasarely that succeeded in creating illusion composing in continuing symmetrical balancing, progressive and continuing from central rhythymic composition which radiated every direction. The researcher has selected both contrast and adjacent color to create works of art which was different from the artist because I has focused the color and light illusion that effected the object's different color. The researcher has selected yellow light in creating the works of art most because it effected the color wheel least, and the other was red, green and blue light according to the reaction that effected the perception.

Downloads

Published

2024-02-06