รากุ เทคนิคการเผาแบบโบราณ

Authors

  • ไม่ปรากฏผู้แต่ง

Keywords:

เตาเผา, เครื่องปั้นดินเผา, รากุ

Abstract

“รากุ” เป็นชื่อของการทำเครื่องปั้นดินเผาอย่างหนึ่งที่มีมานานกว่า 400 ปี ในประเทศญี่ปุ่น (ราวปี ค.ศ.1672) และคำว่า “รากุ” เป็นคำในภาษาญี่ปุ่นมีความหมายเกี่ยวกับความสนุกสนาน ความเพลิดเพลิน รวมถึงความพึงพอในผลิตภัณฑ์รากุ แต่เดิมเป็นภาชนะเครื่องปั้นดินเผาที่ใช้ในพิธีชา ภาชนะจะมความหนากว่าปกติ ขึ้นรูปด้วยวิธีการง่ายๆ ซึ่งมีทั้งการขด การกด การบีบหรืออื่นๆ และเผาที่อุณหภูมิต่ำ (800-1100 องศาเซลเซียล)จุดเด่นและลักษณะพิเศษเฉพาะตัวของผลิตภัณฑ์ประเภทนี้ คือ การที่จะต้องเผาและทำให้เย็นตัวอย่างรวดเร็วในระยะเวลา 2-3 ชั่วโมง จากเตาเผาในขณะที่ยังร้อนด้วยเหตุนี้ การทำผลิตภัณฑ์รากุจึงต้องมีการเตรียม หรือใช้ดินปั้นที่มีความทนต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิอย่างรวดเร็ว (Thermal Shock) น้ำเคลือบที่ใช้เป็นน้ำเคลือบไปต่ำ วัตถุดิบหลักในน้ำเคลือบเป็นจำพวกฟรีตต่าง ๆ (Frit) ในปัจจุบันผสิตภัณฑ์รากุได้มีหลากหลายออกไป เช่น งานประติมากรรม งานประดับตกแต่งอาคาร รวมไปถึงงานประเภทศิลปะเซรามิกส์ (Ceramic Art) นักเซรามิกส์ที่สนใจงานประเภทนี้ก็พยายามคันหาเทคนิคเพื่อเพิ่มเสน่ห์ให้กับงานอยู่เสมอเทคนิคที่นิยมใช้กัน คือ การนำผลิตภัณฑ์ที่ออกจากเตาเผาในขณะที่ร้อนและเอาใส่เข้าไปในถังที่เตรียมไว้บรรจุด้วยวัสดุติดไฟ ได้แก่ พวกใบไม้แห้ง ขี้เลื่อย กระดาษหนังสือพิมพ์ เป็นต้น แล้วปิดถังนั้นเพื่อให้เกิดการเผาไหม้แบบลดออกชิเจน (Reduce) ทำให้เกิดควันคลุ้งภายใน ทิ้งไว้ตั้งแต่ 10 นาทีขึ้นไป จนไปถึงเป็นชั่วโมง แล้วนำงานนั้นออกมาก็จะพบกับความแปลกใหม่จากผลิตภัณฑ์รากุ

Downloads

Published

2024-02-06