วิสัยทัศน์ ค.ศ. 2000 กับงานทางศิลปกรรมศาสตร์

Authors

  • สุชาติ เถาทอง

Keywords:

มหาวิทยาลัยบูรพา คณะศิลปกรรมศาสตร์, หลักสูตร, ศิลปกรรม

Abstract

พ.ศ. 2543 โลกของเรากำลังจะย่างเข้าสู่คริสต์ศตวรรษ 2000 เป็นระยะเวลาของการเปลี่ยนแปลงหลายด้าน เช่น เศรษฐกิจ การเมือง สังคม และวัฒนธรรม หลายประเทศและหลายองค์กรทั่วโลกได้มีการวางแผนและเตรียมความพร้อมของตน เพื่อกำหนดบทบาท และแผนงานให้เกิดความสัมพันธ์สอดคล้องกับสิ่งที่จะเกิดขึ้น สามารถปรับตัว แผนงาน กลยุทธ์ให้เกิดความกลมกลืนอย่างมีเอกภาพ ไม่ให้เกิดอาการที่เรียกว่า “ความตื่นตนกับอนาคต” (future shock) ที่เกิดขึ้น จนไม่สามารถจะทำอะไรได้ และสร้างกระแสต่อต้านโลกของการเปลี่ยนแปลง ที่ปฏิกิริยาไม่ยอมรับ มองเป็นเรื่องไม่ดีไม่งาม ปัญหาเหล่านี้จะไม่เกิดขึ้นทั้งทางตรงและทางอ้อม ถ้าทุกคนได้มีการศึกษาและเตรียมการให้กับตนเอง พิจารณาสภาวะการณ์ของโลกอย่างมีสติและเหตุผล รู้จักเลือกนำสิ่งที่มีคุณค่า มีประโยชน์สู่ชีวิตและภาระกิจที่ตัวเองรับผิดชอบ น่าจะเป็นแนวทางที่สมควรมากกว่า “เป็นการก้าวทันโลก” แต่ไม่ได้สรุปว่าจะยอมรับกระแสการเปลี่ยนแปลงในทุกเรื่อง สิ่งที่ก่อให้เกิดความเสียหาย ขัดต่อวัฒนธรรมอันดีงามก็ไม่จำเป็นต้องรับหรือถ้ารับก็สมควรที่จะปรับหรือย่อยสลายให้สอดคล้องกับสังคมไทย เพราะในอดีตประเทศไทยก็ได้รับอิทธิพลและแบบอย่างจากประเทศเพื่อนบ้านแถบตะวันออก เช่น อินเดีย จีน เขมร เป็นต้น มาก่อนแล้วทั้งสิ้น แต่ความชาญฉลาดของบรรพบุรุษไทย สามารถเลือกนำมาผสมผสานกับธรรมชาติของคนไทยได้อย่างกลมกลืนไม่ใช่แบบที่เรียกว่า “หัวมงกุฎ ท้ายมังกร”

Downloads

Published

2024-02-07