เวลาและโอกาสอันเป็นศุภมงคลกับการสร้าง “หอศิลป์”
Keywords:
หอศิลป์Abstract
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 พ.ศ. 2540-2544 มีนโยบายจะ “พัฒนาทรัพยากรมนุษย์” เป็นเป้าหมายหลักโดยเฉพาะ “การศึกษา” เพื่อพัฒนาคนให้มีมาตรฐานและคุณภาพสูงยิ่งขึ้นในทุกด้านการเพิ่มงบประมาณเพื่อเตรียมความพร้อมด้านวัสดุครุภัณฑ์ อาคารสถานที่ และอัตรากำลัง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องวางแผนดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมเพื่อให้นโยบายมีผลในเชิงปฏิบัติอย่างแท้จริง นับเป็นเรื่องน่ายินดีที่รัฐบาลไทยหันมามองการศึกษาของชาติและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์หลังจากถูกมองข้ามมาเป็นเวลานานจนประเทศเพื่อนบ้าน มาเลเซีย สิงคโปร์ ได้ก้าวล้ำหน้าไปหลายช่วงตัว การให้การศึกษาเป็นสิ่งที่มีประโยชน์เพื่อยกระดับคุณภาพของมนุษย์ทางความคิด สติปัญญา และความสามารถให้สูงขึ้น ส่วนใหญ่จะให้ความสำคัญที่การเรียน การสอน ในระบบและนอกระบบ เพราะถือว่าสามารถสร้างผลสัมฤทธิ์ได้ตรงชัดเจนเห็นได้เป็นรูปธรรม โดยมอง ข้ามความจำเป็นขององค์ประกอบอื่นๆ ที่จำเป็นและมีประโยชน์เช่นเดียวกัน นั่นคือ การศึกษาจากศูนย์ข้อมูล ปัจจุบันมีความสำคัญเพิ่มมากขึ้นจนเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันปัจจัยเหล่านี้นักศึกษาสามารถค้นคว้า ศึกษา และหาข้อมูลได้เพิ่มมากกว่าจากห้องเรียนธรรมดา เปรียบดังคลังทางปัญญาที่สำคัญของการศึกษา การมีคลังทางปัญญาเพิ่มมากขึ้นในทุกๆ สาขาวิชาจึงเป็นสิ่งที่ต้องพัฒนา “หอศิลป์” เป็นวัฒนธรรมแผนใหม่ของไทยที่คนส่วนใหญ่มักจะไม่คุ้นเคย หอศิลป์ ออกแบบและสถาปัตยกรรม (รวมวิจิตรศิลป์และประยุกต์ศิลป์ไว้ด้วยกัน) เป็นศูนย์ข้อมูลที่จัดแสดงภูมิปัญญาของศิลปินไทย ในงานสร้างสรรค์ศิลปะสมัยใหม่ศิลปะร่วมสมัย และศิลปะแบบประเพณี ปัจจุบันหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรงมีเพียงหอศิลป์แห่งชาติ กรมศิลปากร และหอศิลป์มหาวิทยาลัยศิลปากรที่รับผิดชอบดูแลงานทางด้านนี้ซึ่งทำได้ในวงจำกัด แต่การขยายตัวในวงการศิลปะสมัยใหม่และร่วมสมัยของไทยเพิ่มมากขึ้นอย่างกว้างขวางในทุกภูมิภาค สถาบันการศึกษาศิลปะได้รับการจัดตั้งเพิ่มขึ้น เช่น คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เป็นต้น จำเป็นต้องมีเวทีให้ศิลปินได้แสดงออก เพราะถ้า “โรงละคร” คือเวทีสำหรับการแสดงออกทางศิลปะ นาฏศิลป์ ดุริยางค์ศิลป์ หอศิลป์ก็คือ เวทีสำหรับศิลปะทางวิจิตรศิลป์และประยุกต์ศิลป์เช่นเดียวกันDownloads
Published
2024-02-07
Issue
Section
Articles