การออกแบบอัตลักษณ์สำหรับผลิตภัณฑ์ผ้ามัดย้อมใบลิ้นจี่ วิสาหกิจชุมชนเกษตรสวนนอก อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม เพื่อการพัฒนาสินค้าอย่างยั่งยืน
The development of orange dyeing from Bixa Orellana and Filagen textiles innovation with the Intellectual Wisdom from Tai Lue textiles
Keywords:
ออกแบบอัตลักษณ์, ผลิตภัณฑ์ผ้ามัดย้อมใบลิ้นจี่, การพัฒนาสินค้าอย่างยั่งยืน, Identity design, Lychee leaf tie-dye products, Sustainable product DevelopmentAbstract
จากแผนพัฒนาท้องถิ่น พ.ศ. 2566 – 2570 ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสงคราม วิสัยทัศน์ โดยมีประเด็นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของจังหวัด โดยใช้การออกแบบอัตลักษณ์เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์จังหวัดสมุทรสงคราม ส่งเสริมให้ผู้ผลิตสามารถนำผลิตภัณฑ์สินค้าการเกษตรมาแปลรูปและส่งเสริมการเข้าถึงข้อมูลเพื่อสร้างอัตลักษณ์ผลิตภัณฑ์ชุมชนเกษตรสวนนอก อำเภอบางคนทีจังหวัดสมุทรสงคราม ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาผลิตภัณฑ์ผ้ามัดย้อมใบลิ้นจี่ วิสาหกิจชุมชนเกษตรสวนนอก พบว่าสินค้ามีเอกลักษณ์เฉพาะตัวของสินค้าทั้งรูปแบบการมัดย้อมโดยใช้วัสดุจากใบลิ้นจี่ แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ ผลิตภัณฑ์ยังไม่มีอัตลักษณ์ผลิตภัณฑ์ที่ชัดเจน ดังนั้นงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาอัตลักษณ์ผลิตภัณฑ์ชุมชนผ้ามัดย้อมใบลิ้นจี่ จากข้อมูลจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์และอัตลักษณ์วิสาหกิจชุมเกษตรสวนนอก 2. เพื่อวิเคราะห์อัตลักษณ์ชุมชนเกษตรสวนนอก ภาคเอกสาร จากการศึกษาทฤษฎีด้านการออกแบบบอัตลักษณ์จากการสัมภาษณ์ใช้การสัมภาษณ์กลุ่ม(Focus Group) 3. เพื่อออกแบบอัตลักษณ์ผลิตภัณฑ์ชุมชนผ้ามัดย้อมใบลิ้นจี่โดยใช้ชื่อวิสาหกิจชุมชนเกษตรสวนนอก มาสร้างเป็นตราสัญลักษณ์แบบตัวอักษร (Logo Wordmarks) การเลือกใช้สี (Corporate Color) ที่มาจากใบลิ้นจี่ ตัวอักษร (Typography) องค์ประกอบของกราฟิก (Graphic Element) จากลวดลายผ้ามัดย้อมใบลิ้นจี่ โดยนำผลงานการออกแบบไปประเมินกับผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบอัตลักษณ์ชุมชน นำมาพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้น่าสนใจและมีอัตลักษณ์ที่ชัดเจนก่อให้เกิดความยั่งยืนทางเศรษฐกิจแก่ชุมชนและเป็นตัวอย่างในการสร้างอัตลักษณ์ผลิตภัณฑ์ของชุมชนอื่นๆ ต่อไป According to the local development plan 2023-2027 of the Samut Songkhram Provincial Administrative Organization, the vision is the product development issue of the province. By using identity design to enhance products in Samut Songkhram in order to promote agricultural producers to enter the market both online and offline, and to promote access to information to create product identity of the community in the province. The research found that there is a unique identity of lychee leaf tie dye product in the community. But the problem is The product still needs to have a clear product identity. Therefore, this research aims to 1. Study the product identity of the lychee leaf tie-dye community from documents and research related to the product and identity of the agricultural community enterprise 2. To analyze the identity of the rural agricultural community in the documentary sector from the study of the theory of identity design from the interview using focus group interviews. 3. To design the product identity of the lychee leaf tie-dye community by Bang Tee District, Samut Songkhram Province To create a logo, wordmarks, corporate color from lychee leaves, typography, and graphic elements from lychee leaf tie-dye pattern. The design results are evaluated by experts community identity designers. The result is then used to develop interesting products with identity that eads to economic sustainability and set as example for other communities. and have a clear identity. they are causing economic sustainability in the community and being an example of creating product identity for other communities in the future.References
วิโรจน์ ศรีหิรัญ. (2562). การมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชนท้องถิ่นอำเภอบางคนที จ.สมุทรสงคราม ในการสื่อสารภาพลักษณ์และตราสินค้า “บางคนที” เพื่อพัฒนา เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ยั่งยืน. วารสารนิเทศศาสตรปริทัศน์, 19(3), 112-126.
เจนยุทธ ศรีหิรัญ (2560). การออกแบบอัตลักษณ์บนบรรจุภัณฑ์สำหรับกลุ่มวิสาหกิจชุมชน: กรณีศึกษา ผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผมสมุนไพรไทย บ้านนาขุม จังหวัดพิษณุโลก. วารสารวิชาการ ศิลปะสถาปัตยกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศว, Vol 8 No.1, 1-14
เมธาวี จำเนียร. (2564). อัตลักษณ์ผลิตภัณฑ์ชุมชนสู่การสร้างและสื่อสารแบรนด์ กรณีศึกษา การแสดงรำโทนนกพิทิด. วารสารราชพฤกษ์, 19(2), 1-12.
ธรรมธร ศรีสุรีย์ไพศาล. (2555). การออกแบบเลขนศิลป์แสดงอัตลักษณ์จังหวัดสมุทรสาคร. ศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (วิทยานิพนธ์). มหาวิทยาลัยศิลปากร.
จินตนา กาญจนวิสุทธิ์. (2562). เส้นทางวิสาหกิจชุมชน เพื่อการพัฒนาอาชีพและการพึ่งตนเอง (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: มีน เซอร์วิส ซัพพลาย.
ณัฐพล ใยไพโรจน์ (ชนะ เทศทอง, บรรณาธิการ). (2561). Digital branding: กลยุทธ์แจ้งเกิดแบรนด์เล็ก ให้เติบใหญ่ได้อย่างยั่งยืน. นนทบุรี: ไอดีซีฯ.
อิสริยาภรณ์ ชัยกุหลาบ. (2561). กระบวนการสร้างอัคลักษณ์สำหรับพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนจังหวัดเลย. ศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต (รายงานผลการวิจัย). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
Harry Bennett. Paper Stone Scissors’ identity for Reloop depicts the sustainability of their ‘re-commerce’ model. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 20 มากราคม 2566, จาก: https://the-brandidentity.com/project/paper-stone-scissors-identity-for-reloop-depicts-the-sustainability-of-their-re-commerce-model
Jain, R. (2017). Basic Branding Concepts: Brand Identity, Brand Image, and Brand Equity. International Journal of Sales & Marketing Management Research and Development (IJSMMRD), 7(4), pp. 1-8.