วารสารศิลปกรรมบูรพา https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/art en-US วารสารศิลปกรรมบูรพา 0859-8800 การวิเคราะห์องค์ประกอบศิลป์รูปธรรมเชื่อมโยงนามธรรมในงานประติมากรรมของภาคใต้ https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/art/article/view/8835 <p>การวิเคราะห์ความคิดเชิงนามธรรมของสังคมพหุวัฒนธรรมในประติมากรรมของภาคใต้ เป็นการวิเคราะห์รูปธรรมด้านองค์ประกอบศิลป์ เนื้อหาสาระทางพุทธศาสนา ความเชื่อ และรูปแบบ การแสดงออกที่หลากหลายของพหุวัฒนธรรม ในสมัยรัตนโกสินทร์ (รัชกาลที่ 1 - รัชกาลที่ 9) และเพื่อการวิเคราะห์รูปธรรมสัมพันธ์กับความคิดเชิงนามธรรมของสังคมพหุวัฒนธรรมในประติมากรรมของภาคใต้ และเพื่ออนุรักษ์ สืบทอด สืบสาน และส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงศิลปวัฒนธรรมด้านพุทธศิลป์ของภาคใต้ ผลการวิเคราะห์ ความคิดเชิงนามธรรมของสังคมพหุวัฒนธรรมในประติมากรรมของภาคใต้ ที่มีความโดดเด่นของรูปแบบ องค์ประกอบศิลป์ ประกอบด้วยเนื้อหาพหุวัฒนธรรม และความเชื่อของท้องถิ่นในพระพุทธศาสนาที่ปรากฏในงานประติมากรรม ที่มีลัทธิความเชื่อที่หลากหลาย โดยมีศาสนาพุทธเป็นแกนในการดำเนินชีวิตและความเชื่อท้องถิ่นภาคใต้ โดยมีจิตวิญญาณของคนในท้องถิ่นเชื่อมโยงรูปแบบการแสดงออกในรูปธรรมในการประกอบกันของรูปทรงที่มีการผสมผสานในผลงาน เกิดความงาม วิธีคิด เกิดเป็นรสนิยมการแสดงออกที่มีความหลากหลายในความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน โดยการประกอบกันของหลากหลายรูปแบบ ได้แก่ รูปแบบช่างหลวง รูปแบบศิลปะจีน รูปแบบศิลปะตะวันตก รูปแบบศิลปะฮินดู-ชวา ซึ่งปรากฏการผสมผสานความเป็นเอกภาพในประติมากรรมของภาคใต้ เกิดเป็นชุดความรู้ที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ ภูมิปัญญาที่แสดงออกถึงความเชื่อ ความศรัทธาของชุมชนในภาคใต้ นำไปสู่การอนุรักษ์ สืบสานงานประติมากรรมในภาคใต้ในอนาคต และแนวคิดนามธรรมในเนื้อหาที่สร้างความสัมพันธ์การอยู่ร่วมกันของสังคมในอดีตที่มีความหลากหลายของศาสนา และสามารถนำไปใช้ในการลดความขัดแย้งทางสังคมในปัจจุบันที่มีความหลากหลายเพื่อให้เกิดความปรองดองและความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในสังคมปัจจุบันให้มีเอกภาพและสันติสุข An Analysis of Abstract Concepts of Multicultural Society in Southern Sculpture It is a concrete analysis of artistic elements. Buddhist content, beliefs, and various expressions of multicultural in the Rattanakosin period (Rama I-Rama IX) and for analyzing concrete relations with abstract ideas of multicultural society in sculptures of the South. and to conserve, inherit, continue and promote cultural tourism in the area of Buddhist art in the South. analysis results Abstract Concepts of Multicultural Society in Southern Sculpture with distinctive style art elements Contains multicultural content and local beliefs in Buddhism appearing in the sculptures with a variety of beliefs with Buddhism as the core of life and beliefs in the southern region. with the spirit of local people Linked in the form of concrete expression in the combination of shapes that are mixed in the work, creating beauty, ways of thinking, resulting in a taste for expression that is diverse in unity. by the combination of a variety of styles, including the Royal Craftsmanship Chinese art style western art style Hindu-Javanese Art Forms which appears to combine the unity in the sculptures of the South. This resulted in a set of historical knowledge and wisdom that reflected the beliefs and faith of the communities in the South. lead to conservation Inheriting sculpture in the south in the future and abstract concepts in content that create relationships in the coexistence of societies in the past with a variety of religions and can be used to reduce conflicts in today’s diverse society in order to achieve harmony and unity in today’s society for unity and peace.</p> สมพร ธุรี พัฒนา ฉินนะโสต บุญเรือง สมประจบ Copyright (c) 2023 2023-11-25 2023-11-25 26 2 9 23 การพัฒนาการย้อมสีส้มจากพืชธรรมชาติคำแสดร่วมกับนวัตกรรมสิ่งทอฟิลาเจนด้วยภูมิปัญญาสิ่งทอไทลื้อ กรณีศึกษา ศูนย์ผ้าทอไทลื้อสีธรรมชาติบ้านดอนมูล จังหวัดน่าน https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/art/article/view/8836 <p>บทความวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อหาแนวทางในการพัฒนาระดับสีส้มจากทุนวัฒนธรรมไทลื้อ การย้อมสีส้มจากพืชธรรมชาติคำแสดร่วมกับนวัตกรรมสิ่งทอฟิลาเจน และเพื่อสร้างอัตลักษณ์ให้แก่ชุมชน สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์สิ่งทอที่สอดคล้องกับแนวโน้มกระแสนิยมแฟชั่นระดับสากล โดยวิธีการ 1) ค้นคว้าข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) 1.1) ศึกษาแนวโน้มสีส้มในกระแสแฟชั่น 1.2) ศึกษาการย้อมสีธรรมชาติจากพืชธรรมชาติคำแสดโดยทุนวัฒนธรรมสิ่งทอไทลื้อ 1.3) ศึกษานวัตกรรมสิ่งทอฟิลาเจน 2) ลงพื้นที่ภาคสนามเพื่อเก็บข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) เกี่ยวกับกระบวนการการย้อมสีธรรมชาติจากพืชธรรมชาติคำแสด และทดลองพัฒนานวัตกรรมสิ่งทอฟิลาเจน ด้วยทุนวัฒนธรรมสิ่งทอไทลื้อจากครูภูมิปัญญา บริเวณศูนย์ผ้าทอไทลื้อสีธรรมชาติบ้านดอนมูล จังหวัดน่าน 3) วิเคราะห์ข้อมูลจากการทดลอง 4) สรุปผล ผลการศึกษาการพัฒนาระดับของสีส้มจากทุนทางวัฒนธรรมการย้อมสีส้มพืชธรรมชาติคำแสด ร่วมกับนวัตกรรมสิ่งทอฟิลาเจน ที่สอดคล้องกับแนวโน้มกระแสนิยมแฟชั่นระดับสากล พบว่า การย้อมสีธรรมชาติด้วยเมล็ดพืชธรรมชาติคำแสด โดยการเปลี่ยนตัวแปรของสารช่วยย้อม (Mordant) จะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้วยความอิ่มตัวของสี (Saturation) และความสว่าง (Tints) ของระดับสีส้ม รวมไปถึงการย้อมสีธรรมชาติด้วยเมล็ดพืชธรรมชาติคำแสดร่วมกับพืชผสมชนิดอื่น โดยกรรมวิธีการย้อมร้อน และการเปลี่ยนตัวแปรของสารช่วยย้อม (Mordant) มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงด้านสี (Hue) และความอิ่มสี (Saturation) ของระดับสีส้ม อีกทั้งวัฒนธรรมสิ่งทอฟิลาเจน สามารถย้อมสีด้วยเมล็ดพืชธรรมชาติคำแสด โดยกรรมวิธีแบบภูมิปัญญาสิ่งทอพื้นถิ่น This research article is an experimental study focusing on the development of the guidelines of Bixa Orellana’s orange pigment through a cultural capital and innovation of Filagen textiles in line with international fashion trends. 1) Secondary data research 1.1) Study the popularity of orange color in fashion trends 1.2) Study the natural dyeing method from the Tai Lue cultural capital 1.3) Study the Filagen textile innovation 2) The study included fieldwork to gather primary data on the process of natural dyeing methods from Bixa Orellana and experimental development of Filagen textile innovations through the Tai Lue cultural approach by local experts at the Ban Don Moon Tai Lue Textile Center in Nan Province. 3) Data analysis 4) Three important data were obtained from the research of the innovation of Bixa Orellana’s orange pigment and Filagen fabric textiles, which was studied through cultural methods, and the international fashion trends. 4.1) The natural dyeing method using Bixa Orellana seeds found that changes in the mordant result in shifts in the saturation and tint of the orange level. 4.2 By mixing Bixa Orellana with other plants using heat dyeing process, the change of mordant will affect the change of Hue and Saturation of the orange level. 4.3) Filagen Textile Innovation can be dyed with Bixa Orellana, a process derived from the cultural knowledge of Tai Lue textiles.</p> กรกต พงศาโรจนวิทย์ พัดชา อุทิศวรรณกุล Copyright (c) 2023 2023-11-25 2023-11-25 26 2 25 43 การพัฒนาสิ่งทอจากเฮมพ์ สำหรับงานสร้างสรรค์แฟชั่นเครื่องแต่งกาย https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/art/article/view/8837 <p>จากกระแสความยั่งยืนในกระบวนการผลิตและการบริโภคปัจจุบัน ส่งผลให้เกิดการพัฒนาสิ่งทอทางเลือกจากเส้นใยธรรมชาติต่าง ๆ มากยิ่งขึ้น แต่กล่าวได้ว่ายังมีเพียงส่วนน้อยที่ถูกนำมาพัฒนาต่อในบริบทของการออกแบบแฟชั่นเครื่องแต่งกาย บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของการวิจัยเรื่อง นวัตกรรมการสร้างสรรค์ตราสินค้าเครื่องแต่งกายสตรีจากเฮมพ์ สำหรับกลุ่มผู้บริโภคงานหัตถกรรม สร้างสรรค์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ด้วยแนวคิดทุนวัฒนธรรมเจแปนนอร์ดิก เพื่อความยั่งยืน มีวัตถุประสงค์เพื่อหาแนวทางการออกแบบพัฒนาสิ่งทอจากเฮมพ์ เพื่อนำมาใช้ในการออกแบบแฟชั่นเครื่องแต่งกาย โดยใช้กระบวนการทดลองสร้างสรรค์ผลงาน ร่วมกับการเก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม ประเมินผลการพัฒนาสิ่งทอผู้เชี่ยวชาญการพัฒนาสิ่งทอ และการออกแบบแฟชั่นเครื่องแต่งกาย ผลจากการศึกษาพบว่าในกระบวนการทดลองทอเส้นใยเฮมพ์แบบหัตถกรรมทอร่วมกับเส้นใยชนิดอื่นด้วยกี่ทอแบบมือ แบบ 2 ตะกอ แบบลายขัดมาตรฐาน และ 4 ตะกอ แบบลายทอมาตรฐาน จะได้สิ่งทอที่มีลักษณะที่แตกต่างกันเหมาะสำหรับการนำไปใช้ประโยชน์ได้หลากหลายผลิตภัณฑ์ โดยการใช้วิธีการทอแบบเส้นยืนด้วยฝ้ายปั่นเกลียวอุตสาหกรรม เส้นพุ่งด้วยเฮมพ์ต้มสุกและการทอแบบเส้นยืนเฮมพ์ต้มสุก เส้นพุ่งด้วยเส้นไหมหลีบ มีความเหมาะสมกับการนำมาใช้ สำหรับงานแฟชั่นเครื่องแต่งกายมากที่สุด ทั้งนี้แนวทางของอัตราส่วนของเส้นใยชนิดอื่นที่ทอร่วม ส่งผลให้ผ้ามีน้ำหนัก ความหนาบางที่เหมาะแก่การทำเครื่องแต่งกายที่มีโครงสร้างอยู่ทรง มีความแข็งแรง และคงทนมากขึ้นในด้านสีเป็นสัจจะวัสดุ คือ สีธรรมชาติของตัววัตถุดิบที่เกิดจากการผสมเส้นใยชนิดอื่นทำให้เกิดลวดลายขึ้น โดยลดขั้นตอนการฟอกย้อม ลดการใช้น้ำลงจากกระบวนการย้อมสี&nbsp; The present day’s sustainable production and consumption trends have given rise to the popularity of developing textiles from various kinds of natural fibers. However, only a few natural textiles are being developed in order to be utilized as clothing materials. This article is a part of the research The Branding Innovation of Womenswear from Hemp for Environmental Creative Crafts Target Group by Japanordic Cultural Capital Concept to Sustainability. The objectives are to create and develop textiles from Hemp to be used as a material for fashion apparels, and to conduct a survey on the people with expertise in textile development and fashion design to evaluate the final products. The research experiments with handwoven fabrics from the hybrid between hand spun Hemp yarn and other kinds of yarn, using a plain weave pattern from a 2-shaft loom and the twill pattern from a 4-shaft loom. The results reveal that the end products have distinct qualities which can be versatile for ranges of products. The fabrics most suitable for clothing production are those woven by a combination of cotton twist spun yarn as the warp and the boiled Hemp yarn as the weft and a combination of the boiled Hemp yarn as the warp and the hand spun Leub as the weft. The ratios of the other type of yarn used in combination with Hemp yarn affect the thickness and the weightiness of the end products, creating fabrics suitable for more durable and structured garments. The organic coloring, created from the mixing of the natural fibers and the other fibers, also produces distinctive patterns on the fabrics, reducing the steps and the amount of water used in the dying process.</p> ขวัญชัย บุญสม ศิวรี อรัญนารถ Copyright (c) 2023 2023-11-25 2023-11-25 26 2 45 64 ด้วยรักและรำลึกถึง : ศิลปะเชิงกระบวนการว่าด้วยการเผชิญความอาลัย https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/art/article/view/8838 <p>บทความนี้เป็นเอกสารบันทึกกระบวนการศิลปะ ซึ่งตีแผ่ปรากฎการณ์ที่เกิดขั้นระหว่างสร้างสรรค์งานศิลปะด้วยกระบวนการที่กำหนดเพื่อทำความเข้าใจว่าการลงมือทำงานศิลปะจะช่วยจัดการกับความรู้สึกอาลัยได้อย่างไร วิธีการศึกษาใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกและการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม โดยเปรียบเทียบระหว่างการเขียนภาพตามลำพังในที่พัก การเขียนภาพตามลำพังในที่สาธารณะ และการเขียนภาพร่วมกับผู้อื่นในที่สาธารณะ และมีการทวนสอบโดยที่ปรึกษา ผลการศึกษาพบว่ากระบวนการที่ใช้โปรเจคเตอร์ฉายภาพลงบนฉากแล้วเขียนภาพโดยการลอกลาย น่าจะมีส่วนช่วยให้เผชิญกับความอาลัยได้ง่ายขึ้น โดยทำให้ผู้สูญเสียได้เห็นรายละเอียดของรอยยิ้มผู้ล่วงลับจากภาพถ่ายที่ตนเองเป็นผู้เลือกมา ซึ่งอาจช่วยกระตุ้นความทรงจำเชิงบวกที่มีต่อผู้ล่วงลับ ทำให้ผู้สูญเสียตระหนักถึงช่วงเวลาที่ผู้ล่วงลับเคยมีความสุข และทำให้เกิด “รอยยิ้มทั้งน้ำตา” ขณะที่การได้ร่วมกันเขียนภาพและจัดแสดงงานในที่สาธารณะน่าจะเป็นเหมือนการเปิดโอกาสให้ชุมชนช่วยยืนยันว่าสายสัมพันธ์ที่ผู้สูญเสียเคยมีกับผู้ล่วงลับนั้นได้เกิดขึ้นจริง และยังดำรงอยู่ต่อไป ผู้สูญเสียและผู้ล่วงลับยังเป็นส่วนหนึ่งของกันและกันแม้ชีวิตของฝ่ายหนึ่งจะสิ้นสุดไปแล้ว ผู้ที่ยังติดค้างอยู่ในความอาลัยจึงได้รับตัวตนที่หายไปคืนกลับมา และความอาลัยจึงไม่จำเป็นอีกต่อไปเมื่อที่ว่างถูกเติมเต็มแล้ว&nbsp; This article is the documentary evidence of an artistic process, which aims to disclose the phenomenon of creating art with the formulated process. The researcher aims to gain an insight into the mechanism by which art can be a means of coping with grief. It is a qualitative study through in-depth interview and participatory action research from the perspectives of creator, who make art alone in private, make art alone in public, and make art together with participants in public. The study is reviewed by the advisor who is the project manager of Galleries’ Nights Bangsaen event. It was found that the process which photographs selected by those who grief are projected on the drawing space for tracing could help coping with grief. When the details of the deceased’s smile are enlarged, the participant’s positive memory could be triggered that one is aware of the moment in time when they were together happily. The poetic process thus induce the bittersweet smile which is nevertheless a smile. Meanwhile, making art together and displaying art in the public might be the opportunity for the political community to assure that the relationship shared by the deceased and the participant is real and still exists. The deceased and the participant continue to be the part of each other despite the death of one person. In this way the community helps returning the temporarily-loss self to the participant who is coping with grief. At the end, grief is no longer necessary as the blank space is fulfilled. KEYWORDS: Grief, Process Art, Practice-led Research</p> ปภัทรนันท์ คุณพูนทรัพย์ มาริสา พันธรักษ์ราชเดช นันทวัน ศิริทรัพย์ Copyright (c) 2023 2023-11-25 2023-11-25 26 2 67 85 จิตรกรรมไร้สำนึกภาพสะท้อนสัญชาตญาณเพศซ่อนเร้น https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/art/article/view/8839 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาความคิดเด็กวัยรุ่นหญิงทางด้านความต้องการทางเพศภายใต้หลักทฤษฎีจิตวิเคราะห์ 2) เพื่อตีความสัญลักษณ์สะท้อนพฤติกรรมตามสัญชาตญาณเพศที่ซ่อนเร้นใจจิตไร้สำนึกรูปแบบผลงานจิตรกรรม 3) เพื่อเป็นสื่อสร้างความเข้าใจเรื่องเพศในเด็กวัยรุ่นเพศหญิง อายุระหว่าง 10-15 ปี ศึกษาทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของซิกมันด์ ฟรอยด์ และวารสารวัดผลการศึกษาเรื่องปัจจัยทางจิตวิทยาที่ส่งผลต่อการยอมรับพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ของเด็กหญิงวัยรุ่นในพื้นที่เขตคลองเตย เพื่อจำแนกระดับจิตใจที่เป็นมูลเหตุอันสำคัญก่อให้เกิดความคิดนำพาไปสู่พฤติกรรมทางเพศในเด็กวัยรุ่นหญิงตอนต้น อายุระหว่าง 10-15 ปี ใช้การแทนค่าเชิงสัญลักษณ์ เพื่อนำเสนอสิ่งที่เป็นนามธรรมให้เป็นรูปธรรม โดยการศึกษาและวิเคราะห์นำข้อมูลที่ได้มาเป็นแนวทางในการสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรม จำนวน 3 ชุด คืองานทดลองชุดที่ 1 งานทดลองชุดที่ 2 และชุดที่ 3 เป็นผลงานสร้างสรรค์ที่สื่อถึงอารมณ์และความต้องการทางเพศในเด็กวัยรุ่นหญิง ผลการวิจัยพบว่า สภาพสังคมที่เปลี่ยนไปโดยเฉพาะสังคมที่เต็มไปด้วยค่านิยมทางสื่อวัตถุและการแข่งขันเด็กวัยรุ่นหญิงมีความชอบเสี่ยงทางเพศและความภาคภูมิใจในตนเองเพิ่มมากขึ้น โดยสามารถพบได้ในวัยรุ่นตอนต้นอายุระหว่าง 12-14 ปี สอดคล้องกับงานวิจัยของซิกมันด์ ฟรอยด์ ที่เกี่ยวข้องกับทฤษฎีจิตวิเคราะห์ว่าด้วยเรื่องสัญชาตญาณ &nbsp;(Instinct) ลักษณะเอาแต่ได้ตามความพึงพอใจของตนเอง ผู้วิจัยจึงนำเสนอรูปแบบผลงานจิตรกรรมด้วยการใช้สัญลักษณ์ที่แทนค่าสื่อความหมายของเพศที่ซ่อนเร้นไว้ภายในจิตใจมีลักษณะเป็นภาพสัญญะของความใคร่รักและจินตนาการต่อตนเองให้ออกมาเป็นรูปธรรมด้วย รูปร่าง รูปทรง และสี ตัดทอนจากใบหน้าและร่างกายเด็กวัยรุ่นหญิง ประกอบกันขึ้นมา เพื่อสร้างรูปทรงใหม่จากการทับซ้อนกันของรูปทรงแบบโปร่งใสเป็นมิติของภาพที่มากกว่าหนึ่งลักษณะเคลื่อนไหวไม่หยุดนิ่ง เกิดการรับรู้และเข้าใจแก่ผู้ชมถึงเนื้อหาอารมณ์ความสับสนจินตนาการ และสะท้อนการเปลี่ยนแปลงของช่วงวัยสร้างประสบการณ์การรับรู้ของธรรมชาติทางเพศในเด็กวัยรุ่นหญิงตอนต้นให้กว้างขวางมากยิ่งขึ้นในสังคม โดยแสดงออกในรูปแบบผลงานจิตรกรรมสร้างสรรค์&nbsp; The purposes of this research were 1) to study the thoughts of teenage girls related to sexual desire through psychoanalytic theory, 2) to interpret artistic symbols reflecting behavior based on hidden sexual instincts in the unconscious mind in a type of painting, and 3) create further understanding of instinctual sexualality of female adolescents aged between 10–15 years. The Study used the psychoanalytic theory of Sigmund Freud and the Journal of Psychological Factors to analyze on the acceptance of sexual behavior among teenage girls in the klong toey area of Bangkok, Thailand. States of mind that lead to sexual thoughts and behaviors in teenage girls between the ages of 10–15 years were classified and prepared for symbolic representation in order to turn use symbolic representations abstraction into concrete concepts artistically. After study and analysis of the data obtained, it was used as a guideline for creating 3 creative works conveying the emotions and lust of teenage girls: Experiment 1, Trial 2, and Series The third. The findings indicated that in changing social conditions, especially in societies that are full of media-promoted values, objects, and competition. Female adolescents are at risk of sexual intercourse. Also at risk is the quality of self-esteem found in teens between the ages of 12–14 years. This is consistent with Sigmund Freud’s research related to psychoanalytic theory. Concerning instincts, self-indulgent personality traits. The researcher, therefore, presents a painting style using symbols representing the meaning of the hidden gender within the mind. It is art characterized by symbolic image of love and imagination towards oneself though shapes, contours, and colors cut from the faces and bodies of adolescent girls. These are brought them together to create a new shape from the overlapping of transparent shapes. The dimensionality of the image involving multiple movement creates a dynamic wherein the painting does not stand still for viewers. The changes the viewer’ s perception and understanding of the content, emotions, confusion, imagination, and reflection of age in the painting, creating awareness of experience sexual nature in adolescents. It is hoped that young women will be more extensively represented and understood in society through this creative painting project.</p> ชนิสรา วรโยธา สมพร ธุรี Copyright (c) 2023 2023-11-25 2023-11-25 26 2 87 109 การสร้างสรรค์สารคดีสั้นเพื่อส่งเสริม สืบสานและการดำรงอยู่ของอุปรากรจีนยูนนาน “เสียงงิ้วยูนนานอยู่แห่งใด” https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/art/article/view/8840 <p>งานวิจัยฉบับนี้ยึดการสร้างสรรค์ผลงานภาพยนตร์เป็นพื้นฐานในการปฏิบัติใช้การสืบสานของศิลปะอุปรากรยูนนานดั้งเดิมและการวิจัยเป็นหลักฐานอ้างอิงทางทฤษฎีวิเคราะห์บทบาทในการอนุรักษ์และสืบสานของอุปรากรยูนนานจากภาพบันทึก อีกทั้งดำเนินการวิเคราะห์และเสนอแผนในการแก้ไขต่อปัญหาที่มีอยู่ในกระบวนการถ่ายบันทึกข้อมูลที่ได้จากงานวิจัยชิ้นนี้จะถูกใช้กับภาพยนตร์สารคดีสั้นเรื่องหนึ่ง เนื้อหาหลัก ๆ จะแสดงออกมาผ่านทางการสัมภาษณ์ผู้ที่ยืนหยัดในการสืบสานอุปรากรยูนนานจำนวนหนึ่งและผ่านทางวิธีการ “เล่าเรื่อง” ชื่อของภาพยนตร์สารคดีนี้คือ “เสียงงิ้วยูนนานอยู่แห่งหนใด” ผลลัพธ์แสดงชัดว่า อุปรากรยูนนานเป็นรูปแบบการแสดงออกทางศิลปะดั้งเดิมชิ้นหนึ่งในมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ มีประวัติศาสตร์การพัฒนาอันยาวนาน ในด้านการร้องและการแสดงของอุปรากรยูนนานยังคงดำเนินตามรูปแบบดั้งเดิม อุปรากรยูนนานมีกลิ่นอายพื้นถิ่นที่เข้มข้น และสไตล์ศิลปะที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ได้เป็นตัวแทนชีวิตพื้นบ้านของท้องถิ่น ภาพยนตร์สารคดี “เสียงงิ้วยูนนานอยู่แห่งหนใด” ยึดผู้สืบสานอุปรากรยูนนานทั้งสามรุ่น (คนสูงอายุ คนวัยกลางคนและคนหนุ่มสาว) เป็นเป้าหมายหลัก เล่าบรรยายเรื่องราวของผู้สืบสานและอุปรากรยูนนานไปยังผู้ชมผ่านทางการดำเนินการถ่ายทำการแสดงอุปรากรยูนนานและผู้สืบสานใน 3 หัวข้อ คือ อุปสรรค ความยากลำบาก การยืนหยัดอดทนและการสืบต่อ เพื่อมาแสดงสภาพปัจจุบันของอุปรากรยูนนานดึงดูดความสนใจที่มีต่ออุปรากรยูนนานดั้งเดิมของผู้คน งานวิจัยฉบับนี้ได้อธิบายและแนะนำถึงกระบวนการการสร้างสรรค์ผลงานภาพยนตร์สารคดี “เสียงงิ้วยูนนานอยู่แห่งหนใด” หลัก ๆ ประกอบด้วยการเลือกหัวข้อ การวางแผนก่อนการถ่ายทำ การทำการถ่ายทำและกระบวนการหลังการถ่ายทำ ซึ่งสามารถทำให้ข้อมูลภาพที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมอุปรากรยูนนานดั้งเดิมสมบูรณ์ขึ้นได้โดยการสร้างสรรค์ผลงานภาพยนตร์สารคดี ทำให้คนจำนวนมากขึ้นเข้าใจวัฒนธรรมดั้งเดิม ซึ่งนี่ก็จะทำให้คนรุ่นถัดไปนักท่องเที่ยวและผู้ประกอบการรู้จักถึงคุณค่าเชิงสัญลักษณ์ รวมถึงความได้เปรียบและความสำคัญของวัฒนธรรมยูนนาน อีกทั้งดำเนินการส่งเสริมผลักดันและรักษาวัฒนธรรมเหล่านี้ไว้ให้คงอยู่ต่อไป ในขณะเดียวกันก็พบข้อบกพร่องบางอย่างในขณะสร้างสรรค์ผลงานเช่นกัน ซึ่งก็สามารถทำให้เราได้ย้อนไตร่ตรองรูปแบบการสร้างสรรค์ผลงานของตัวเอง มีบทบาทในการเป็นแรงบันดาลใจสำหรับการสร้างสรรค์ผลงานในวันข้างหน้า&nbsp; This research takes film and television creation as the practical basic, and it is also based on the theoretical basis of the inheritance and research of traditional Yunnan opera. It analyzes the role of video recording in the inheritance and the protection of Yunnan opera, and points the problems existing in the process of video recording and proposes solutions. The information obtained from this research will be used for a short documentary film, which will be presented through interviews with several traditional artists who continue to sing Yunnan opera, and through the method of “storytelling”. The title of the documentary is “Where is the Voice of Yunnan Opera”. The results show that Yunnan Opera has a long history of development as a traditional art form within the intangible cultural heritage. It still follows the traditional way in singing and performance. Yunnan Opera has a strong local flavor and unique artistic style, representing the local folk life. The documentary film “Where is the Voice of Yunnan Opera” focuses on the three generations of Yunnan opera inheritors: the old, the middle-aged and the young. The research through the three themes of difficulties, perseverance and inheritance, the performance and the inheritors of Yunnan opera are filmed, and the stories of the inheritors and Yunnan opera are told to the audience to show the current situation of Yunnan opera. The documentary focuses on the current situation of Yunnan Opera and draws people’s attention to traditional Yunnan Opera. This research introduces the creation process of the documentary “Where is the Voice of Yunnan Opera”, which includes the idea of selecting the topic, pre-planning, mid-shooting and post-editing. The creation of the documentary will enrich the visual material about traditional Yunnan Opera culture and make more people understand traditional culture, which will also make the next generation, tourists and business owners realize the value, advantages and importance of Yunnan cultural symbols and continue to promote and preserve these traditional cultures. Also, through this creation, many shortcomings in the creation were found, which can further reflect on the way they create and inspire future creations.</p> Yuntao Su ภูวษา เรืองชีวิน บุญชู บุญลิขิตศิริ Copyright (c) 2023 2023-11-25 2023-11-25 26 2 111 130 เพลงย่ำค่ำสู่เพลงยิ้มแป้น : การปรับตัวและเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมปี่พาทย์มอญ https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/art/article/view/8841 <p>บทความวิจัยนี้มุ่งศึกษาการปรับเปลี่ยนรูปแบบบทเพลงบรรเลงของวงปี่พาทย์มอญ โดยใช้กรอบแนวคิดการเปลี่ยนแปลงทางดนตรีของศาสตราจารย์ ดร.เฉลิมศักดิ์ พิกุลศรี อธิบายถึงปัจจัยของการเปลี่ยนแปลงแนวคิดของการปรับตัวของนักดนตรีอาชีพและลักษณะเฉพาะของบทเพลงที่สร้างขึ้นใหม่ที่ได้รับความนิยมในช่วงหนึ่งทศวรรษที่ผ่านมา ดำเนินงานวิจัยตามกรอบงานวิจัยเชิงคุณภาพทางด้านชาติพันธุ์วรรณาและมานุษยวิทยาดนตรีเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกตอย่างมีส่วนร่วมในการบรรเลงปี่พาทย์มอญคณะรุ่งสุรินทร์บรรเลง อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี ในช่วงเดือนเมษายน-มิถุนายน 2565 ผลการวิจัยพบว่า บทเพลงบรรเลงตามประเพณีการบรรเลงในวงปี่พาทย์มอญที่นิยมกันในอดีตเริ่มถูกแทนที่ด้วยบทเพลงลูกทุ่ง เพลงลูกกรุง เพลงแหล่ และเพลงสมัยนิยมอย่างมีนัยสำคัญ บทเพลงดังกล่าวมิได้บรรเลงเช่นเดียวบทเพลงต้นฉบับ แต่ได้ถูกปรับเปลี่ยนรูปแบบการนำเสนอใหม่ให้อยู่ในรูปแบบเฉพาะที่สามารถบรรเลงด้วยวงปี่พาทย์มอญได้กระแสความนิยมจากผู้ฟังมีส่วนสำคัญที่ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงการบรรเลงบทเพลงในวงปี่พาทย์มอญ&nbsp; The study aims to examine the adaptation of the traditional songs of the Piphat Mons in the funeral. The concept of musical changes of Chalermsuk Pikulsri is a theoretical framework to explain the factors of musical change, investigate how musicians recreated their new music, and analyze the characteristic of the reorganized songs, which have become a popularity order over the last decades. The qualitative research, ethnographical and ethnomusicological approaches are employed to collect the data with in-depth interviews and participant observation of the Pipit Mon of the “Khana Rungsirin Banleng”, Paktho District, Ratchaburi Province, from April-June 2022. It found that the traditional repertoires of the Pipat Mon played in the funeral have been increasingly replaced with the new form of music suite, Lukthung, Lukkrung, Lae, and popular music. However, those songs are adapted and localized in the style of Pipat Mon playing. The popularity and selection of the audiences played an important role in changing the traditional performance of the Pipat Mon in the funeral ceremony.</p> สันติ อุดมศรี จรัญ กาญจนประดิษฐ์ Copyright (c) 2023 2023-11-25 2023-11-25 26 2 133 151 การออกแบบนวัตกรรมโคมไฟอัตลักษณ์ลวดลายศิลปะหนังใหญ่ https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/art/article/view/8842 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาอัตลักษณ์ลวดลายศิลปะหนังใหญ่ 2) เพื่อศึกษานวัตกรรมโคมไฟอัตลักษณ์ลวดลายศิลปะหนังใหญ่ 3) เพื่อสร้างต้นแบบและศึกษาความพึงพอใจนวัตกรรมโคมไฟอัตลักษณ์ลวดลายศิลปะหนังใหญ่ ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ เจ้าของร้านขายโคมไฟและลูกค้าที่มาเลือกซื้อโคมไฟในตลาดนัดจตุจักร จำนวน 50 คน โดยใช้เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อต้นแบบนวัตกรรมโคมไฟ อัตลักษณ์ลวดลายศิลปะหนังใหญ่ ผลการวิจัยพบว่า ส่วนที่ 1 อัตลักษณ์ลวดลายศิลปะหนังใหญ่ มีองค์ประกอบของตัวหนังใหญ่ คือ ลวดลาย สีสัน รูปทรง ซึ่งลวดลายการฉลุเป็นลายไทยพื้นฐานเป็นแม่แบบจากจิตรกรรมไทย โดยลวดลายรูปหนังใหญ่ส่วนใหญ่เกิดจากเครื่องมือที่เรียกว่า ตุ๊ดตู่ มีลักษณะเป็นแท่งเหล็กกลวงรูกลมขนาดต่าง ๆ ตอกเรียงต่อกัน จนเกิดเป็นลวดลายต่าง ๆ บนตัวหนัง ส่วนที่ 2 กำหนดแนวคิดในการออกแบบนวัตกรรมโคมไฟอัตลักษณ์ลวดลายศิลปะหนังใหญ่ให้สามารถใช้สอยได้ตามหน้าที่อย่างเหมาะสมโดยใช้แนวคิดการออกแบบอัตลักษณ์ หลักการออกแบบผลิตภัณฑ์ แนวคิดนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบ ประกอบด้วย โคมไฟแขวน โคมไฟตั้งพื้น และโคมไฟติดผนังเพื่อให้ได้รูปแบบที่แสดงอัตลักษณ์ลวดลายของศิลปะหนังใหญ่ ที่มีความงามในด้านลวดลายและพื้นผิว รูปทรงโคมไฟใช้ออกแบบมาจากรูปทรงเรขาคณิตรูปทรงกรวย โดยใช้สีแดง สีน้ำตาล สีส้ม และสีธรรมชาติใช้ในทำต้นแบบโคมไฟ ส่วนที่ 3 ต้นแบบผลิตภัณฑ์โคมไฟทั้ง 3 แบบ พบว่า ผู้บริโภค มีความพึงพอใจผลิตภัณฑ์ต้นแบบโคมไฟแขวนโดยรวมในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.03) โคมไฟตั้งพื้นโดยรวมในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.04) และโคมไฟติดผนังโดยรวมในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.08) ซึ่งรูปแบบผลิตภัณฑ์มีความสวยงามและเหมาะสมกับการใช้งาน มีรูปทรงที่มีความร่วมสมัยสามารถเป็นผลิตภัณฑ์ทางเลือกให้กับผู้บริโภคที่นิยมในความแปลกใหม่มีคุณค่าของศิลปะไทย&nbsp; The objectives of this creative innovation are as followed: 1) To study the identity pattern of Nang Yai Art. 2) To study the Innovative lamp design with the identity pattern of Nang Yai Art. 3) To create prototypes and assess the customer satisfaction with the Innovative lamp design with the identity pattern of Nang Yai Art. Populations and samples in the research include 50 individuals comprising lamp shop owners and customers who purchase lamps at the Jatujak Weekend Market. The research tool employed for the study is satisfaction questionnaire regarding the prototype of the Innovative lamp design with the identity pattern of Nang Yai Art. The study found that in Part 1, the identity pattern of Nang Yai Art consists of elements such as leather patterns, colors, and shapes. The carving patterns are basic Thai art typically derived from traditional Thai paintings. The majority of the Nang Yai patterns are created using a tool called “tut too” which is a hollow steel cylinder of various sizes arranged and hammered onto the leather surface to create patterns on the leather sheet. In Part 2, the concept for Innovative lamp design aims to provide functional usability while adhering to the identity pattern of Nang Yai Art, product design concepts, and innovative product development. The products, consisting of hanging lamps, floor lamps, and wall-mounted lamps, are designed to showcase the identity pattern of Nang Yai Art. The design emphasizes the beauty of the patterns and surface textures. The lamp shapes are inspired by cone shape in geometry, utilizing colors such as red, brown, orange, and natural tones in the creation of the prototype lamps In Part 3, Of all 3 prototype lamps, overall customer satisfaction for the hanging lamps is high (average =4.03), overall customer satisfaction for the floor lamps is high (average =4.04), and overall consumer satisfaction for the wall-mounted lamps is also high (average =4.08).&nbsp; The product designs exhibit both beauty and functionality, featuring contemporary forms which cater to customers who value novelty and appreciate Thai art.</p> ธรรมรัตน์ บุญสุข รุ่งนภา สุวรรณศรี Copyright (c) 2023 2023-11-25 2023-11-25 26 2 153 172 การแสดงเดี่ยวเพื่อนำเสนอชีวิตของตัวละครที่ถูกกดทับจากวาทกรรมความสมบูรณ์แบบเรื่อง The Masterpiece https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/art/article/view/8843 <p>บทความวิจัยนี้เป็นการวิเคราะห์ความรู้จากผลงานสร้างสรรค์จากการวิจัยปฏิบัติการมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างบทละครและนำเสนอการแสดงเดี่ยว การวิจัยครั้งนี้มีการศึกษาและรวบรวมข้อมูลจากเอกสารวิชาการด้านทฤษฎีวาทกรรมและมายาคติ การศึกษาวีดีทัศน์ ภาพยนตร์และบทละครที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้เป็นแนวทางการเขียนบทละครโดยได้แรงบันดาลใจจากหนังสือเรื่อง การเดินทางของส่วนที่หายไป ( The Missing Piece Meets the Big O) ของ เชล ชิลเวอร์สเตน (Shel Silverstein) แปลโดย ปลาสีรุ้งเพื่อนำมาสร้างโครงเรื่องแล้วนำมาข้อมูลมาตีความเพื่อสร้างบทละครสำหรับการแสดงเดี่ยวโดยมีธีรภัทร นาคปานเสือเป็นนักแสดง กำกับการแสดงโดย สัณห์ไชญ์ เอื้อศิลป์ ผลการวิจัยพบว่าบทละครสำหรับการแสดงเป็นบทพูดเดี่ยว (monologue) ซึ่งมีการเลือกใช้สัญญะ การอุปมาอุปไมย แนวความคิดหลักของเรื่องคือ จงเรียนรู้ที่จะยอมรับและเติบโตในแบบของตัวเองโดยนำเรื่องราวการถูกลดคุณค่าในชีวิตจากความคาดหวังความสมบูรณ์และความสำเร็จของผู้อื่นโดยเล่าเรื่องผ่านตัวละครหลักชื่อ เอมมา เทย์เลอร์ซึ่งเธอแต่งตัวเป็นผู้หญิงแต่แท้จริงเธอเป็นผู้ชายอายุประมาณ 40 ปี บทละครมีลักษณะเป็นภาพปะติดปะต่อ (collage) ผลงานการแสดงเดี่ยวใช้เทคนิคและวิธีการแสดงแบบละครเควียร์เพื่อวิพากษ์วิจารณ์ เสียดสี ประชดประชันสังคมโดยเสนอมุมมองผ่านเพศที่สาม การเข้าสู่สภาวะของตัวละครใช้วิธีการด้นสด (improvisation) การเรียกความทรงจำในอดีต (memory recall) การฝึกหาความหมายของคำพูดและความหมายใต้คำพูด (subtext) ทดลองหาวิธีการนำเสนอใหม่ ๆ ผ่านกระบวนการซ้อมภายใต้แนวทางที่ผู้กำกับการแสดงกำหนดให้ โดยมีองค์ประกอบทั้งเสื้อผ้า พื้นที่และฉาก รวมทั้งแสงและเสียงที่ส่งเสริมสอดคล้องไปกับการแสดงทำให้สามารถสื่อสารแก่นความคิดไปสู่ผู้ชมให้เกิดเรียนรู้ไปกับการแสดงและตัวละคร&nbsp; This research article is a result of knowledge analysis from practicing research entitled The Masterpiece (a solo performance) which aimed to create a play script and perform a solo performance. The theory of myth and discourse, video recording, films, play scripts were collected as research data for scriptwriting. The performance structure was inspired and interpreted from a book called The Missing Piece Meets the Big O originally by Shel Silverstein, and Thai translated by Pla Srirung, which used as a script creating and solo performed by Teerapat Nakpansue under the directing of Sanchai Uaesilapa. The study found that semiotic and metaphor were used in a monologue play script. The message of the story was learning how to accept life, and how to grow in own way by using the issue of perfect- being expectation discourse, and others’ success through the character named Emma Taylor who is a 40-year old male with a female appearance. The script is characterized as collage technic, the solo performance using the technic and method of queer theater to critic and parody the society through the perspective of homosexual. The improvisation, memory recall, and finding of the meaning and subtext technics were used to approach to be the character. The new style of the presentation consists of costume, space, scene, light, and sound along the strong directing was tried out to deliver a message, and making the learning process to audiences</p> ธีรภัทร์ นาคปานเสือ คณพศ วิรัตนชัย Copyright (c) 2023 2023-11-25 2023-11-25 26 2 175 190 การเรียบเรียงบทเพลงพื้นบ้านสำหรับวงดุริยางค์เครื่องลม โคราชขอต้อนรับโดย กำปั่น บ้านแท่น https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/art/article/view/8844 <p>บทความเรื่อง “การเรียบเรียงบทเพลงเพลงพื้นบ้านสำหรับวงดุริยางค์เครื่องลม โคราชขอต้อนรับ โดย กำปั่น บ้านแท่น” เป็นบทความวิชาการ โดยผู้เขียนได้ศึกษาค้นคว้าเอกสารทางวิชาการ เรียบเรียงบทเพลงจากเพลงพื้นบ้านสำหรับวงดุริยางค์เครื่องลมให้เกิดโน๊ตเพลงในรูปแบบดนตรีตะวันตก เพื่อการอนุรักษ์วัฒนธรรมอันเป็นประเพณีท้องถิ่นที่มีความโดดเด่นและทรงคุณค่าทางการศึกษาให้คนรุ่นหลังได้มีโอกาสศึกษาความเป็นมาของบทเพลงพื้นบ้านอีสาน โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1). เพื่อเป็นแนวทางในการนำไปใช้เป็นสาธารณะประโยชน์แก่วงดุริยางค์เครื่องลมในประเทศไทย 2). เพื่อพัฒนาบทเพลงพื้นบ้านสู่ดนตรีสากลในรูปแบบการบันทึกโน๊ตแบบดนตรีตะวันตก การเรียบเรียงบทเพลงพื้นบ้านบรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์อย่างสมบูรณ์ตามที่ผู้เขียนได้กำหนดไว้&nbsp; An article titled “The Folk Song Arrangement for Wind Band: Korat kor tonrub by Kampan Bantan” is a academic article. The author has researched academic papers and composed songs arranged from folk songs for a wind band to produce scores in Western music styles. To preserve the distinctive local tradition and educational value for future generations to have the opportunity to study the history of folk songs with the following objectives: 1.) To be used as a guideline for the common good of wind bands in Thailand. 2.) To develop folk songs into international music in the form of Western music notes. The composition of this folk song perfectly achieves the purpose set by the author.</p> ณัฐวัตร แซ่จิว Copyright (c) 2023 2023-11-25 2023-11-25 26 2 193 205