วารสารศิลปกรรมบูรพา https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/art en-US chain_d@hotmail.com (สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา) chain_d@hotmail.com (วารสารศิลปกรรมบูรพา) Thu, 20 Jun 2024 01:59:36 +0000 OJS 3.2.1.4 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 การออกแบบอัตลักษณ์สำหรับผลิตภัณฑ์ผ้ามัดย้อมใบลิ้นจี่ วิสาหกิจชุมชนเกษตรสวนนอก อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม เพื่อการพัฒนาสินค้าอย่างยั่งยืน https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/art/article/view/9960 <p>จากแผนพัฒนาท้องถิ่น พ.ศ. 2566 – 2570 ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสงคราม วิสัยทัศน์ โดยมีประเด็นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของจังหวัด โดยใช้การออกแบบอัตลักษณ์เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์จังหวัดสมุทรสงคราม ส่งเสริมให้ผู้ผลิตสามารถนำผลิตภัณฑ์สินค้าการเกษตรมาแปลรูปและส่งเสริมการเข้าถึงข้อมูลเพื่อสร้างอัตลักษณ์ผลิตภัณฑ์ชุมชนเกษตรสวนนอก อำเภอบางคนทีจังหวัดสมุทรสงคราม ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาผลิตภัณฑ์ผ้ามัดย้อมใบลิ้นจี่ วิสาหกิจชุมชนเกษตรสวนนอก พบว่าสินค้ามีเอกลักษณ์เฉพาะตัวของสินค้าทั้งรูปแบบการมัดย้อมโดยใช้วัสดุจากใบลิ้นจี่ แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ ผลิตภัณฑ์ยังไม่มีอัตลักษณ์ผลิตภัณฑ์ที่ชัดเจน ดังนั้นงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาอัตลักษณ์ผลิตภัณฑ์ชุมชนผ้ามัดย้อมใบลิ้นจี่ จากข้อมูลจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์และอัตลักษณ์วิสาหกิจชุมเกษตรสวนนอก 2. เพื่อวิเคราะห์อัตลักษณ์ชุมชนเกษตรสวนนอก ภาคเอกสาร จากการศึกษาทฤษฎีด้านการออกแบบบอัตลักษณ์จากการสัมภาษณ์ใช้การสัมภาษณ์กลุ่ม(Focus Group) 3. เพื่อออกแบบอัตลักษณ์ผลิตภัณฑ์ชุมชนผ้ามัดย้อมใบลิ้นจี่โดยใช้ชื่อวิสาหกิจชุมชนเกษตรสวนนอก มาสร้างเป็นตราสัญลักษณ์แบบตัวอักษร (Logo Wordmarks) การเลือกใช้สี (Corporate Color) ที่มาจากใบลิ้นจี่ ตัวอักษร (Typography) องค์ประกอบของกราฟิก (Graphic Element) จากลวดลายผ้ามัดย้อมใบลิ้นจี่ โดยนำผลงานการออกแบบไปประเมินกับผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบอัตลักษณ์ชุมชน นำมาพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้น่าสนใจและมีอัตลักษณ์ที่ชัดเจนก่อให้เกิดความยั่งยืนทางเศรษฐกิจแก่ชุมชนและเป็นตัวอย่างในการสร้างอัตลักษณ์ผลิตภัณฑ์ของชุมชนอื่นๆ ต่อไป&nbsp; According to the local development plan 2023-2027 of the Samut Songkhram Provincial Administrative Organization, the vision is the product development issue of the province. By using identity design to enhance products in Samut Songkhram in order to promote agricultural producers to enter the market both online and offline, and to promote access to information to create product identity of the community in the province. The research found that there is a unique identity of lychee leaf tie dye product in the community. But the problem is The product still needs to have a clear product identity. Therefore, this research aims to 1. Study the product identity of the lychee leaf tie-dye community from documents and research related to the product and identity of the agricultural community enterprise 2. To analyze the identity of the rural agricultural community in the documentary sector from the study of the theory of identity design from the interview using focus group interviews. 3. To design the product identity of the lychee leaf tie-dye community by Bang Tee District, Samut Songkhram Province To create a logo, wordmarks, corporate color from lychee leaves, typography, and graphic elements from lychee leaf tie-dye pattern. The design results are evaluated by experts community identity designers. The result is then used to develop interesting products with identity that eads to economic sustainability and set as example for other communities. and have a clear identity. they are causing economic sustainability in the community and being an example of creating product identity for other communities in the future.</p> กฤษฏิ์ ตุลวรรธนะ, ดวงรัตน์ ด่านไทยนำ Copyright (c) 2024 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/art/article/view/9960 Thu, 20 Jun 2024 00:00:00 +0000 การออกแบบตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์ สำหรับผลิตภัณฑ์ผ้ามัดย้อมคราม จังหวัดปทุมธานี https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/art/article/view/9961 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลของผลิตภัณฑ์ผ้ามัดย้อมคราม จังหวัดปทุมธานี 2) เพื่อออกแบบตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์ สำหรับผลิตภัณฑ์ผ้ามัดย้อมคราม จังหวัดปทุมธานี และ3) เพื่อประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการออกแบบบรรจุภัณฑ์ สำหรับผลิตภัณฑ์ผ้ามัดย้อมคราม จังหวัดปทุมธานี ผลการวิจัยพบว่า ธุรกิจขนาดย่อมจะอยู่รอด หรือล้มเหลว ก็ขึ้นอยู่กับเจ้าของกิจการที่เรียกว่า “ผู้ประกอบการ” ที่จะต้องสะท้อนถึงความเป็นนักธุรกิจที่มองเห็นโอกาส โดยมุ่งหวังที่จะให้ธุรกิจรอดและเจริญเติบโต ดังนั้น แบรนด์ FINE HEART By Thanyanan จึงมีแนวคิดที่จะพัฒนาตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์ เพื่อให้มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวและแตกต่างจากคู่แข่งทางการตลาด ผู้วิจัยจึงมีแนวคิดที่จะพัฒนาตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์ โดยผู้วิจัยสามารถสรุปผลการวิจัยเป็นขั้นตอนได้ดังนี้ 1) ออกแบบตราสินค้า จำนวน 3 รูปแบบ และนำมาคัดเลือก จากผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบ พบว่าตราสินค้า รูปแบบที่ 1 ได้คะแนนสูงที่สุด มีผลคะแนนอยู่ในระดับเหมาะสมมาก มีค่าอยู่ที่ (ค่าเฉลี่ย Mean = 4.33, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน SD = 0.80) 2) ออกแบบบรรจุภัณฑ์โครงสร้างโดยเลือกใช้กล่องลูกฟูกสีขาว ขนาด 27.5X5X20.5 เซนติเมตร โดยกล่องลูกฟูกเป็นบรรจุภัณฑ์ที่แข็งแรง และราคาไม่แพงมาก วัสดุทำจากธรรมชาติซึ่งเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 3) ออกแบบกราฟิกบรรจุภัณฑ์ (ฉลากสินค้า) ขนาด 15X17 เซนติเมตร โดยลวดลายกราฟิกที่ใช้ในการออกแบบนั้น เกิดจากการนำเอาต้นคราม ประกอบไปด้วยใบของต้นครามและช่อดอกคราม มาตัดทอนและวาดให้เป็นภาพประกอบที่มีเอกลักษณ์และนำมาจัดองค์ประกอบศิลป์ และผลิตเป็นสติ๊กเกอร์ (PVC) ทึบขาว 4) นำบรรจุภัณฑ์ต้นแบบไปประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการออกแบบบรรจุภัณฑ์ พบว่า มีผลคะแนนอยู่ในระดับเหมาะสมมาก มีค่าอยู่ที่ (ค่าเฉลี่ย Mean = 4.40, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน SD = 0.61)&nbsp; This research aimed to 1) study the data of Indigo Tie Dye Products, Pathum Thani Province; 2) design logos and packaging for Indigo Tie Dye Products, Pathum Thani Province; and 3) assess satisfaction toward packaging design toward Indigo Tie Dye Products, Pathum Thani Province. The results revealed that survival or failure of SMEs depended on business owners called “entrepreneurs” who must reflect being businesspersons with their vision toward opportunities and determination to make their businesses survive and grow further. Thus, the brand FINE HEART By Thanyanan had an idea to develop a logo and packaging with its own identity different from competitors. For this reason, the researcher intended to develop logos and packaging, of which results were concluded into each particular step as follows. 1) 3 logos were designed, and then selected by design experts. It was found that Logo 1 had the highest score, at the level of “very suitable” (Mean = 4.33, SD = 0.80). 2) The structural packaging was designed, using a corrugated white box size 27.5X5X20.5 cm. Basically, corrugated boxes are strong and not much expensive; and made of natural eco-friendly materials. 3) Packaging graphic (label) was design, size 15X17 cm. The graphic used relied on indigo plant, of which leaves and inflorescences were cut and drawn into a picture with identity, followed by composition arrangement. Next, the picture was brought to produce a PVC translucent white sticker. 4) The prototype was brought to assess satisfaction toward packaging design. The results revealed the score at the level of “very suitable” suitable (Mean = 4.40, SD = 0.61).</p> จุฑามาศ เถียรเวช Copyright (c) 2024 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/art/article/view/9961 Thu, 20 Jun 2024 00:00:00 +0000 การสร้างสรรค์สื่อสมัยใหม่ทางพุทธศาสนาในรูปแบบปริศนาธรรม https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/art/article/view/9962 <p>การวิจัยเรื่องการสร้างสรรค์สื่อสมัยใหม่ทางพุทธศาสนาในรูปแบบปริศนาธรรม มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์ ตีความ สร้างสรรค์ผลงานสื่อสมัยใหม่ทางพุทธศาสนาในรูปแบบปริศนาธรรม และสร้างองค์ความรู้ โดยใช้หลักการจัดองค์ประกอบศิลป์ ทฤษฎีการรับรู้ทางทัศนศิลป์ ประวัติศาสตร์ และสุนทรียะ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ นักวิชาการการสร้างสรรค์ภาพประกอบ และบุคคลทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล มาชมผลงาน ที่วัดปัญญานันทราราม โดยทำแบบสอบถามการสุ่มกลุ่มตัวอย่างจำนวน 180 คน พบว่าส่วนใหญ่มีช่วงอายุ 20-50 ปี เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย เพศหญิงจำนวน 114 คน และ เพศชายจำนวน 66 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) เป็นการนำเสนอผลงานการสร้างสรรค์ เน้นโครงสร้างองค์ประกอบใหม่ ให้เกิดความเป็นเอกภาพของรูปทรงกับเนื้อหา ตามหลักธรรมคำสอนของพุทธศาสนา ผสมผสานกับแนวทางการสร้างสรรค์ โดยใช้ความคิดสร้างสรรค์ทางศิลปะมาวิเคราะห์ และสังเคราะห์ให้ถ่องแท้ เกิดองค์ความรู้แนวเรื่อง นิพพาน ที่สามารถอธิบายได้อย่างมีเหตุมีผล ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการทดลองผสมผสานจินตภาพสมมติจากปริศนาธรรม ทำให้เกิดผลงานสร้างสรรค์สื่อสมัยใหม่ทางพุทธศาสนาในรูปแบบปริศนาธรรม แนวเรื่อง นิพพาน จำนวน 3 ผลงาน ได้แก่ ผลงานเรื่อง นิพพาน พระพักตร์พระพุทธรูป พุทธมามกะ ซึ่งผลงานทั้งหมด ได้แนวคิดจากเรื่อง นิพพาน 2) การสร้างสรรค์ผลงานทำให้ผู้พบเห็นเข้าใจเนื้อหา สาระ คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าได้ลึกซึ้งดียิ่งขึ้น ทำให้เกิดการรับรู้ และเข้าใจของผู้คนในรูปแบบแสดงผลงานศิลปะ ส่งเสริมสร้างจินตนาการ ประสบการณ์ ในหลักคำสอนของพระพุทธเจ้าได้กว้างขวางยิ่งขึ้น มีการแนะนำ และบอกต่อผู้อื่นให้มาชมผลงานภายในวัดปัญญานันทาราม จังหวัดปทุมธานี มากยิ่งขึ้น เป็นอีกหนทางหนึ่งที่ช่วยให้สังคมไทยเกิด ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นหนทางไปสู่ผลบุญ และความสุข&nbsp; Research on the creation of modern Buddhist media in the form of mysticism. have a purpose to analyze, interpret, and create works of modern Buddhist media in the form of religious puzzles. and create knowledge Using the principles of art composition Theory of visual perception History and Aesthetics. The population used in the research is illustration creation academics. and the general public in Bangkok and surrounding areas come to see the work at Wat Panyananthararam. By conducting a questionnaire on a random sample of 180 people, it was found that most were in the age range of 20-50 years, more female than male, 114 female and 66 male. The results of the research found that 1) it was a presentation of creative work. Emphasis on new component structure to create unity of form and content. According to the principles and teachings of Buddhism combined with creative approaches Using artistic creativity to analyze and fully synthesize A body of knowledge about Nirvana was born that could be explained logically. This is useful for experimenting with the combination of imaginary ideas from the Dhamma puzzles. Resulting in the creation of modern media in Buddhism in the form of mysticism, with the theme of Nirvana, totaling 3 works, including the works titled Nirvana, the Face of the Buddha, and Buddha Mamaka, all of which Got the idea from the story of Nirvana. 2) Creating works allows viewers to understand the content, content, and teachings of the Lord Buddha more deeply. cause awareness and understanding of people in the form of artistic display Promote imagination and experience in the teachings of the Buddha more broadly. Recommend and tell others to come and see the works within Wat PanyaNantaram. Pathum Thani Province even more. It is another way to help Thai society develop morality, concentration, and wisdom as a path to merit and happiness.</p> วารินทร์ เงินลาด, ไชยพจน์ หวลมานพ Copyright (c) 2024 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/art/article/view/9962 Thu, 20 Jun 2024 00:00:00 +0000 กระบวนการสร้างสรรค์แอนิเมชันเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ในหัวข้อ สายพันธุ์ไดโนเสาร์ที่พบในจังหวัดขอนแก่น https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/art/article/view/9963 <p>ผลงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสายพันธุ์ไดโนเสาร์ที่พบในจังหวัดขอนแก่นและอัตลักษณ์ชุมชนของอุทยานธรณีขอนแก่น 2) เพื่อวิเคราะห์หาแนวทางในการสร้างสรรค์สื่อดิจิทัลที่ส่งเสริมการเรียนรู้เกี่ยวกับสายพันธุ์ไดโนเสาร์ที่พบในจังหวัดขอนแก่นและอัตลักษณ์ชุมชนของอุทยานธรณีขอนแก่น 3) เพื่อสร้างสรรค์และเผยแพร่ผลงานสื่อดิจิทัลที่ส่งเสริมการเรียนรู้เกี่ยวกับไดโนเสาร์ 5 สายพันธุ์โดยสอดแทรกอัตลักษณ์ของชุมชนในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น โดยการสร้างสรรค์แอนิเมชันนี้เป็นการศึกษาการใช้สื่อดิจิทัลสร้างสรรค์ประเภทแอนิเมชัน 2 มิติเพื่อการส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กวัยเรียน เริ่มด้วยการศึกษาข้อมูล 4 ด้านหลักๆ ได้แก่ 1) ข้อมูลเกี่ยวกับสายพันธุ์ไดโนเสาร์ในจังหวัดขอนแก่น 2) ข้อมูลเกี่ยวกับอัตลักษณ์ชุมชนของอุทยานธรณีขอนแก่น 3) ทฤษฎีการเรียนรู้สำหรับเด็กวัยเรียน 4) แนวทางการสร้างสรรค์แอนิเมชัน 2 มิติ เพื่อนำมาวิเคราะห์หาแนวทางในการสร้างสรรค์ผลงานแอนิเมชันที่ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้และวัดผลสัมฤทธิ์ในการเรียนรู้เกี่ยวกับสายพันธุ์ไดโนเสาร์ในจังหวัดขอนแก่น มีเครื่องมือในการวิจัยคือแอนิเมชัน 2 มิติเกี่ยวกับไดโนเสาร์ 5 สายพันธุ์ที่สอดแทรกอัตลักษณ์ชุมชนของอุทยานธรณีขอนแก่น แบบประเมินความพึงพอใจ แบบสอบถามผู้ชมและผู้เชี่ยวชาญแต่ละด้าน วิธีการดำเนินงานวิจัยเป็นไปตามขั้นตอนดังนี้ ศึกษาและรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยแล้วนำข้อมูลที่รวบรวมได้มาสรุปเนื้อหาที่จะนำมาเสนอในสื่อแอนิเมชันจากนั้นทำการส่งให้ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินความถูกต้องของเนื้อหาแล้วทำการวิเคราะห์ข้อมูล คัดเลือกแนวทางการสร้างสรรค์ให้สามารถส่งเสริมการเรียนรู้ได้ดีที่สุด จากนั้นทำการออกแบบและสร้างสรรค์ผลงานแอนิเมชัน นำไปจัดแสดงผลงานและสำรวจความพึงพอใจของผู้ชมจากแบบสอบถามและการสัมภาษณ์ ผลการวิจัยมีดังนี้ (1) ไดโนเสาร์ที่ขุดพบเป็นครั้งแรกในจังหวัดขอนแก่นมีทั้งหมด 5 สายพันธ์ได้แก่ภูเวียงโกซอรัส สิรินธรเน (Phuwiangosaurus sirindhornae) กินรีไมมัส ขอนแก่นเอนซิส (Kinnareemimus khonkaennsis) สยามโมไทรันนัส อิสานเอนซิส (Siamotyrannus isanensis) สยามโมซอรัส สุธีธรนิ (Siamosaurus suteethorni) ภูเวียงเนเตอร์ แย้มนิยมมิ (Phuwiangvenator yaemniyomi) ซึ่งเป็นชื่อเรียกที่ตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่บุคคลต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการค้นพบและยังมีชื่อเล่นเพื่อการจดจำได้ง่ายคือ น้องโย่ง น้องเปรียว น้องดุ น้องแข่ น้องแรพ ตามลำดับ โดยแต่ละสายพันธุ์มีลักษณะเด่นในด้านกายภาพ การอยู่อาศัย อาหารการกินและถิ่นที่อยู่ (2) แนวทางการสร้างสรรค์สื่อเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กวัยเรียนโดยออกแบบสื่อดิจิทัลที่ส่งเสริมการเรียนรู้เกี่ยวกับสายพันธุ์ไดโนเสาร์ประเภทแอนิเมชัน 2 มิติที่ดึงดูดความสนใจของเด็ก สร้างความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับผู้ชมและมีการออกแบบการเล่าเรื่องที่เน้นข้อมูลสำคัญ พบว่าช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ได้โดยผลการทดสอบด้วยสถิติ Paired Samples Test พบว่า นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาที่อยู่ในพื้นที่อำเภอภูเวียงและอำเภอเวียงเก่า มีระดับการเรียนรู้ก่อนและหลังการเรียนรู้ผ่านสื่อดิจิทัลที่ส่งเสริมการเรียนรู้เกี่ยวกับสายพันธุ์ไดโนเสาร์ที่พบในจังหวัดขอนแก่นและอัตลักษณ์ชุมชนของอุทยานธรณีขอนแก่นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (Sig. = 0.00) โดยที่มีคะแนนการเรียนรู้หลังดู (mean = 14.20) สูงกว่าก่อนดู (mean = 10.59) สื่อดิจิทัลที่ส่งเสริมการเรียนรู้เกี่ยวกับสายพันธุ์ไดโนเสาร์ และ (3) ผู้วิจัยได้ทำการสร้างสรรค์และเผยแพร่ผลงานสื่อดิจิทัลที่ส่งเสริมการเรียนรู้เกี่ยวกับไดโนเสาร์ 5 สายพันธุ์โดยสอดแทรกอัตลักษณ์ชุมชนของอุทยานธรณีขอนแก่นทั้งในช่องทางออนไลน์และออฟไลน์ โดยมีการจัดแสดงให้กับผู้ชมซึ่งเป็นคนในพื้นที่ ผู้เข้าชมพิพิธภัณฑ์และบุคคลทั่วไปที่สนใจ&nbsp; The objectives of this research are 1) to study the species of dinosaurs found in Khon Kaen Province and the identity of communities in Khon Kaen Province. 2) to analyze and find ways to create digital media that promotes learning about the species of dinosaurs found in Khon Kaen Province and the identity of communities in Khon Kaen Province. 3) To create and disseminate digital media works that promote learning about 5 species of dinosaurs by inserting the identity of communities in Khon Kaen Province. The creation of this animation is a study of the use of digital media to create 2D animation to promote learning for school-age children. The first step is studying information in 4 main areas: 1) information about dinosaur species in Khon Kaen Province 2) information about the identity of Khon Kaen Geopark 3) learning theories for school-age children 4) guidelines for creating 2D animation that help promote learning for school-age children, then measure achievement in learning about dinosaur species in Khon Kaen Province. The research tool is a 2D animation about 5 species of dinosaurs that incorporates the identity of the community in Khon Kaen Province. Satisfaction assessment form Questionnaire for viewers and experts in each field. The research method follows the following steps: study and collect information related to the research, use the collected information to summarize the content that will be presented in animated media, send it to experts to assess the accuracy of the content and then analyze the data, select creative approaches that can best promote learning, then design and create animations. After the research and creation process, the animation is used to display and survey audience satisfaction through questionnaires and interviews. The results of the research are as follows: (1) The dinosaurs discovered for the first time in Khon Kaen Province were a total of 5 species, including Phuwiangosaurus sirindhornae, Kinnarimimus, Khon Kaen Ensis. (Kinnareemimus khonkaennsis) Siamotyrannus isanensis (Siamotyrannus isanensis) Siamosaurus suteethorni (Siamosaurus suteethorni) Phuwiangvenator Yaemniyomi (Phuwiangvenator yaemniyomi), which is a name given in honor to various persons involved in the discovery. They also have nicknames for easy remembering: Nong Yong, Nong Preaw, Nong Du, Nong Khae, and Nong Rap, respectively. Each species has distinctive characteristics in terms of physicality, living conditions, diet, and habitat. (2) Guidelines for creating media To promote learning among school-aged children by designing digital media that promotes learning about dinosaur species with 2D animations that capture children's attention. Create a connection with your audience and have a narrative design that emphasizes important information. It was found to help promote learning by the results of the Paired Samples Test. It was found that primary school students in the areas of Phu Wiang District and Wiang Kao District There is a significant difference in the level of learning before and after learning through digital media that promotes learning about dinosaur species found in Khon Kaen Province and the community identity of Khon Kaen Geopark at the 0.01 level. (Sig. = 0.00) with higher learning scores after watching (mean = 14.20) than before watching this media. (mean = 10.59) and (3) the researcher has created and published digital media that promotes learning about 5 species of dinosaurs by inserting the community identity of Khon Kaen Geopark both in Online and offline channels It is displayed for an audience of local people. Museum visitors and the public who are interested.</p> เปรมวดี วินิจฉัยกุล Copyright (c) 2024 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/art/article/view/9963 Thu, 20 Jun 2024 00:00:00 +0000 การสร้างสรรค์ทับทรวงตัวพระ ด้วยแนวคิดเชิงนวัตกรรม https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/art/article/view/9964 <p>บทความวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสรรค์ทับทรวงตัวพระ ด้วยแนวคิดเชิงนวัตกรรมจากการศึกษารูปแบบอัตลักษณ์ของทับทรวงพระในละครไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน พบว่าเราสามารถออกแบบทับทรวงตัวพระ ในรูปแบบประยุกต์สร้างสรรค์ ด้วยเหตุผลที่จะสร้างประโยชน์กับพื้นที่ด้านหลังของตัวทับทรวง ซึ่งมีความบางเบาใช้ประกอบการแต่งกายเพื่อการแสดงนาฏศิลป์ไทย ด้วยแนวคิดที่จะทำอย่างไรให้พื้นที่ด้านหลังของทับทรวงตัวพระเกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่า กล่าวคือมีความสวยทั้งด้านหน้า และมีประโยชน์ที่ด้านหลังของชิ้นงานในการจัดเก็บของมีค่าส่วนตัว สร้างการเปลี่ยนแปลงในงานถนิมพิมพาภรณ์ ในรูปแบบใหม่ เป็นทรัพย์สินทางปัญญา กลายเป็นนวัตกรรมใหม่ "Innovation Thailand" ซึ่งได้นำวิชาศิลปะสาระนาฏศิลป์มาเชื่อมโยงในการจัดการเรียนรู้มาพัฒนาตนเองสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการ ซึ่งนวัตกรรมใหม่ การประดิษฐ์ “ทับทรวงตัวพระ” รูปแบบนี้ไม่เคยปรากฏมาก่อน ในแวดวงเครื่องประดับประกอบการแต่งกายการแสดงนาฏศิลป์ไทย&nbsp; This research article aims to explore the creative ornamentation in Thanimpimpaporn jewelry through innovative thinking by studying the identity patterns of pendants from the past to the present. These ornaments are applied creatively to men's breastplates, serving both decorative and practical purposes. The idea is to effectively utilize the space behind the breastplate, enhancing not only its aesthetic appeal but also providing a convenient storage area for personal valuables. This transformation in Thanimpimpaporn's work represents a new form of intellectual property and innovation, earning recognition as 'Innovation Thailand.' The invention of the 'Pendant' Breastplate for men marks a groundbreaking addition to the repertoire of accessories used in Thai dance performances, unparalleled in its uniqueness and utility.</p> สมศักดิ์ ทองปาน Copyright (c) 2024 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/art/article/view/9964 Thu, 20 Jun 2024 00:00:00 +0000 การศึกษาอัตลักษณ์ลวดลายและองค์ประกอบเครื่องแต่งกายชนเผ่าเหมียว อำเภอฉางหนิง มณฑลยูนนาน เพื่อการออกแบบเครื่องประดับสมัยใหม่ https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/art/article/view/9965 <p>การศึกษานี้สำรวจการออกแบบเครื่องประดับสมัยใหม่ตามศิลปะของ “เครื่องแต่งกายชนเผ่าเหมียวเขตฉางหนิง” ซึ่งเป็นตัวแทนของมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้แห่งชาติของจีน ด้วยวิธีการวิจัยวรรณกรรม วิธีการวิจัยภาคสนามและวิธีการวิจัยเชิงสร้างสรรค์ การวิจัยได้แยกแยะรูปร่าง สี ลวดลายและเทคโนโลยีวัสดุของ “เครื่องแต่งกายชนเผ่าเหมียวเขตฉางหนิง” รวมกับบริบทศิลปะร่วมสมัยและแนวคิดสร้างสรรค์ซึ่งมีทรัพยากรวัสดุที่มีลักษณะเฉพาะของมณฑลยูนนานของจีน จากมุมมองของการสร้างแบบจำลองลวดลาย และเทคโนโลยีวัสดุ การวิจัยออกแบบเครื่องประดับดำเนินการโดยการใช้ “งานฝีมือร่วมกันกับการพิมพ์ 3 มิติ” และงานออกแบบที่สอดคล้องกับสุนทรียศาสตร์ของผู้บริโภคสมัยใหม่ ในขณะที่ยังคงรักษาลักษณะทางศิลปะของ “เครื่องแต่งกายชนเผ่าเหมียวเขตฉางหนิง”&nbsp; This study explores modern jewellery design based on the art of Changning Miao costume, a representative item of China’s national intangible cultural heritage. Through literature research, field research and creative research, the study compares the patterns, colours and materials of Changning Miao costumes. It also combines the context of con-temporary art and the creative concept of “Jade of Yunnan” IP. The design of the jewellery is based on a combination of handmade and 3D printing techniques, and is in line with modern consumer aesthetics while preserving the artistic characteristics of Changning Miao costume.</p> Song Qi, Rasa Suntrayuth, Supara Aroonsrimorakot Copyright (c) 2024 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/art/article/view/9965 Thu, 20 Jun 2024 00:00:00 +0000 กรณีศึกษาแบบอย่างการนำองค์ประกอบเทวตำนานเทพทวารบาลจีนบูรณาการสู่การออกแบบหนังสือภาพประกอบสามมิติเชิงสร้างสรรค์สำหรับเด็กวัย 3-6 ปี https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/art/article/view/9966 <p>เทพทวารบาลจีนของเมืองโบราณล่างจงถือเป็นหนึ่งในขุมสมบัติด้านศิลปะพื้นบ้านประจำภูมิภาคทางตอนเหนือของมณฑลเสฉวน ทว่าในปัจจุบันขุมสมบัตินี้กลับเสียหายร้ายแรงจนหลงเหลืออยู่เพียงน้อยนิด บทความวิจัยนี้เป็นการศึกษาและวิเคราะห์ตำนานเทพทวารบาลจีนของเมืองโบราณล่างจง มณฑลเสฉวน ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนในเชิงลึก เพื่อนำองค์ความรู้เกี่ยวกับตำนานเทพทวารบาลจีนมาใช้เป็นหัวข้อหลักในการออกแบบและสร้างสรรค์หนังสือภาพประกอบเชิงสร้างสรรค์สามมิติสำหรับเด็กอนุบาลวัย 3-6 ปี ซึ่งรูปแบบการแสดงออกเชิงศิลปะที่เกิดจากการบูรณาการร่วมกันระหว่างหนังสือภาพสำหรับเด็กและปัจจัยวัฒนธรรมจีนในการวิจัยครั้งนี้ไม่เพียงนำไปสู่การสืบสานวัฒนธรรมเทพทวารบาลจีนเมืองโบราณล่างจงด้วยวิธีการที่สร้างสรรค์ แต่ในขณะเดียวกันยังเป็นการเปิดโอกาสให้เหล่าผู้ปกครองและเด็ก ๆ ที่ไม่เคยรับรู้หรือไม่เข้าใจวัฒนธรรมเทพทวารบาลจีนได้เริ่มศึกษาทำความเข้าใจในวัฒนธรรมเทพทวารบาลจีนเสียใหม่&nbsp; The Chinese door god of the ancient city of Langzhong is one of the regional folk art treasures in northern Sichuan. However, nowadays, this treasure has been severely damaged to the point where very few remain. This article is an in-depth study and analysis of the legend of the Chinese door god of the ancient city of Langzhong, Sichuan Province, People's Republic of China. To apply the knowledge of the Chinese mythological door god to be used as the main theme in the design and creation of three-dimensional creative picture book for preschool-aged children (3-6years). The form of artistic expression resulting from the integration of children's creative picture books and Chinese cultural factors in this research not only leads to the inherit of the ancient city of Langzhong Chinese door god culture in a creative way. But at the same time, it is also an opportunity for parents and children who have never known or don't understand Chinese door god culture to start studying and understanding Chinese door god culture.</p> YI HE, ภูวษา เรืองชีวิน, ผกามาศ สุวรรณนิภา Copyright (c) 2024 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/art/article/view/9966 Thu, 20 Jun 2024 00:00:00 +0000 นวัตกรรมประติมากรรมเครื่องเคลือบสมัยใหม่ของโจวกั๋วเจิน https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/art/article/view/9967 <p>ศิลปะประติมากรรมเครื่องเคลือบสมัยใหม่ของโจวกั๋วเจินมีภาษาศิลปะอันเป็นเอกลักษณ์ ได้รับความสนใจอย่างกว้างขวางมาตั้งแต่ปี 1950 โจวกั๋วเจินมีส่วนสำคัญอย่างมากในการส่งเสริมและสนับสนุนการสืบทอดอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมและคุณค่าทางจิตวิญญาณของเครื่องเคลือบจีนที่มีอายุกว่าพันปี และเป็นผู้สร้างคุณูปการต่อการส่งเสริมและพัฒนาศิลปะประติมากรรมเครื่องเคลือบสมัยใหม่ของจีน โดยมีความตั้งใจ “สืบทอดโดยไม่คัดลอก สร้างสรรค์สิ่งใหม่โดยไม่ลืมรากเหง้า” ในปี 1954-1959 เป็นยุคหมอก หมายถึง ช่วงเวลาแห่งการรับรู้ที่คลุมเครือ โจวกั๋วเจินต้องการสร้างแนวความคิดทางศิลปะเพื่อการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ การสร้างสรรค์ในยุคหมอก ใช้องค์ประกอบที่เรียบง่าย สมจริงเป็นธรรมชาติ มีความประสานผสมกลมกลืนระหว่าง “มุมมอง&nbsp; รูปร่าง&nbsp; วิญญาณ และ อารมณ์” ในปี 1960-1981 เป็นยุคสุนทรียภาพ โจวกั๋วเจินเริ่มแสวงหาความสมบูรณ์ของรูปร่างรูปทรง มีการตกแต่งโดยการใช้น้ำเคลือบสี ทำให้ผลงานมีเสน่ห์ น่าดึงดูด และน่าสนใจ ในปี 1981-1988 เป็นยุคโบราณ โจวกั๋วเจินได้พบแก่นแท้ของความงาม การแสดงออกถึง ธรรมชาติอันศักดิ์สิทธิ์ และความเป็นอันหนึ่งเดียวกันของมนุษย์กับธรรมชาติ” อันเป็นเอกลักษณ์ของวัฒนธรรมตะวันออก ในปี 1988-2007 เป็นยุคการแสดงออกใหม่ เป็นช่วงการเปลี่ยนแปลง สร้างจิตสำนึก การขึ้นรูปที่เป็นการอนุรักษกับผลลัพธ์ที่เปลี่ยนแปลงไป เกิดมุมมองความคิด “ศิลปะการสร้างเครื่องเคลือบดินเผา แบบดั้งเดิมเป็นงานฝีมือที่บริสุทธิ์ที่สุด และชิ้นงานจะถูกปกคลุมไปด้วยรอยนิ้วมือที่ถือเป็นรอยประทับทางอารมณ์ มีจิตวิญญาณของศิลปิน ที่เป็นอิสระในการสร้างผลงาน สามารถระบายจินตนาการและ พลังได้อย่างเต็มที่” ในปี 2007- ปัจจุบัน เป็นยุคสู่สิ่งแวดล้อมอันยิ่งใหญ่ โจวกั๋วเจินได้สร้างเครื่องเคลือบขนาดใหญ่ ก้าวข้ามขีดจำกัด สะท้อนถึงลักษณะของยุคสมัย เป็นอุดมคติ และสุนทรียภาพของคนรุ่นนี้”&nbsp; Contemporary ceramic art by Zhou Guojin has been of significant interest since the 1950s. Zhou Guojin has played a pivotal role in fostering the transmission of cultural heritage and spiritual values inherent in Chinese ceramics, which have a history spanning over a millennium. Moreover, he has been instrumental in promoting and advancing contemporary ceramic art in China, with a deliberate intention to "inherit without imitation, create anew without forsaking roots." During the period from 1954 to 1959, characterized as "the era of fog," a period of heightened awareness and exploration, Zhou Guojin sought to cultivate artistic ideologies conducive to creative innovation. This creative endeavor during the era of fog involved employing simplistic elements, embracing natural realism, and harmonizing "perspectives, forms, spirits, and emotions." Subsequently, from 1960 to 1981, marked " the era of prosperity," wherein Zhou Guojin embarked on a quest for aesthetic perfection in forms. This period witnessed embellishments through the application of colorful glazes, rendering artworks charming, captivating, and intriguing. Transitioning to " the era of antiquity " from 1981 to 1988, Zhou Guojin delved into the essence of true beauty, expressing reverence towards nature and emphasizing the intrinsic unity between humanity and the natural world, characteristic of Eastern culture. The period spanning from 1988 to 2007 marked " the era of new expression," characterized by transformative shifts and consciousness-raising endeavors. Here, Zhou Guojin advocated for “an art form that embraced evolving outcomes, encouraging perspectives that viewed traditional ceramic craftsmanship as the epitome of purity, marked by emotional imprints akin to the artist's fingerprints, thereby enabling artists to create with unrestricted imagination and vigor”. From 2007 to the present is the era of embracing the vast environment. Zhou Guojin's artistic endeavors have transcended boundaries, as evidenced by his creation of large-scale ceramics, reflective of the expansive nature of contemporary times. This period epitomizes an optimistic outlook and the prosperity emblematic of the current generation's ethos and aspirations.</p> โจว ฟาง, ภูวษา เรืองชีวิน, ภรดี พันธุภากร Copyright (c) 2024 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/art/article/view/9967 Thu, 20 Jun 2024 00:00:00 +0000 An Orchestration Study of Myanmar Saing Waing Ensemble https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/art/article/view/9968 <p>Saing waing, Myanmar's traditional music ensemble, represents a rich cultural heritage with untapped potential for innovation in composition and orchestration. Despite its readiness for new music and art forms, creative and orchestration crafts lag behind. This study aims to support composers and younger musicians by providing: 1) a detailed analysis and description of Myanmar saing waing instruments, and 2) an explanation of orchestration techniques in composing new saing waing music, demonstrated through the example piece "Gazing Bagan." The information and orchestrating knowledge are collected by 1) intensive literature review, 2) interviews and study with the saing waing musicians, and 3) recording and transcribing musical fragments and classical works. The research involves an intensive literature review, interviews with saing waing musicians, and recording and transcribing musical fragments and classical works. The key findings are 1) A detailed analysis, including diagrams, illustrations, and idiomatic playing techniques of saing waing instruments. 2) A comprehensive discussion of traditional orchestration practices for the saing waing ensemble, derived from classical works. 3) An innovative approach to orchestrating the saing waing ensemble, illustrated through "Gazing Bagan." This study provides valuable insights and practical knowledge for composers, researchers, and young musicians wishing to create new works using saing waing instruments or the entire ensemble. This research bridges traditional and contemporary practices, fostering new creative directions for Myanmar's musical heritage.</p> Wai Hin Ko Ko, Kittipan Chittep Copyright (c) 2024 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/art/article/view/9968 Thu, 20 Jun 2024 00:00:00 +0000