การศึกษาการเลือกใช้กลยุทธ์การตลาดเพื่อสิ่งแวดล้อมที่มีความเหมาะสมกับองค์กรธุรกิจไทย
Keywords:
การตลาด, การตลาดเพื่อสิ่งแวดล้อม, การจัดการตลาดAbstract
บทคัดย่อ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบท สถานภาพ และประสิทธิภาพการใช้กลยุทธ์การตลาดเพื่อสิ่งแวดล้อมในการวางแผนการตลาดขององค์กรธุรกิจไทยการวิจัยใช้วิธีการสำรวจด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ จากประชากรที่เป็นบริษัทจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและองค์กรธุรกิจกิจขนาดกลาง จำนวน 57 บริษัท จากทั้งหมด 540 บริษัท หรือมีสัดส่วน 10.56% โดยมีอัตราการตอบกลับมา 38.26% จากกลุ่มตัวอย่างเป้าหมายจำนวน 149 บริษัท ที่มีหน่วยผลิตภายในองค์กรด้วยการใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยพบว่าบริบทและสถานภาพการเลือกใช้กลยุทธ์ทางตลาดเพื่อสิ่งแวดล้อมในองค์กรธุรกิจไทยจะเน้นกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมมากกว่าการตลาดเพื่อสิ่งแวดล้อมจากการทดสอบด้วย t-test ณ ระดับนัยสำคัญที่ .01 (p<.01) บริษัทมีผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมจำนวน 30 บริษัท (53%) หรือเฉลี่ย 2.33 รายการและมีกิจกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมจำนวน 34 บริษัท (60%) หรือเฉลี่ย2.68 กิจกรรม บริษัทใช้กลยุทธ์การตลาดเพื่อสิ่งแวดล้อมจะทำให้ผลกำไรมากกว่าบริษัท ที่ไม่ใช้ จากการทดสอบด้วยการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุ ณ ระดับนัยสำคัญที่ .01 (p<.01) มีขนาดของผลกระทบ (R2) เท่ากับ .175 (17.5%) แต่สิ่งนั้นไม่ส่งผลต่อยอดขายบริษัท ประสิทธิภาพการใช้กลยุทธ์การตลาดในแผนการตลาดประจำปีของบริษัทจะเน้นการตลาดเพื่อสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าการวิเคราะห์โอกาสทางการตลาดและกลยุทธ์ส่วนประสมการตลาดเป็นสิ่งสำคัญแต่ถ้าเป็นการใช้กลยุทธ์การตลาดเพื่อสิ่งแวดล้อมจะเน้นที่การวิจัยและพัฒนาการผลิต และการตลาด สุดท้ายการใช้กลยุทธ์การตลาดเพื่อสิ่งแวดล้อมองค์กรธุรกิจไทยเป็นเพียงการตลาดเพื่อสิ่งแวดล้อมเชิงเทคนิคมากกว่า การตลาดเพื่อสิ่งแวดล้อม เชิงกลยุทธ์และการตลาดเพื่อสิ่งแวดล้อมเชิงกลยุทธ์ ข้อเสนอแนะคือองค์กรธุรกิจไทยควรพัฒนา นากลยุทธ์การตลาดเพื่อสิ่งแวดล้อมเน้น ที่ การตลาดการวิจัยและพัฒนาและการผลิต มากกว่าการเน้น ที่การวิจัยและพัฒนาการผลิต และการตลาดซึ่งเป็นสิ่งตรงกันข้ามกับ หลักการพัฒนาการตลาดเพื่อสิ่งแวดล้อมโดยทั่วไปไปใช้แบบสอบถามเพื่อเก็บข้อมูลควรใช้วิธีการเข้าพบและยื่นให้ตอบจะดีกว่าการส่งแบบสอบถามออนไลน์เนื่องจากผู้บริหารไม่ให้ความร่วมมือเท่าที่ควรและการศึกษาวิจัยในเรื่องเดียวกัน นั้นจะต้องคำนึงบริบทที่เป็นองค์ประกอบของการตลาดเพื่อสิ่งแวดล้อมมีความแตกต่างกัน ในเรื่องของ ผลิตภัณฑ์ บริการ บรรจุภัณฑ์ การโฆษณาและการประชาสัมพันธ์ การวิจัยและพัฒนา และการผลิตของแต่ละบริษัทด้วย ABSTRACT The objectives of this research were to study context, status, and efficiency of the green marketing strategy (GMS) for marketing planning in the Thai business firms. Research methodology was the survey research with systematic random sampling technique of 57 companies in the Stock Exchange of Thailand and Market Alternative Investment from the total of 540 companies as the ratio of 10.56%. Response rate was 38.26% with the target sample of 149 companies that having production department in house. Questionnaire was the research instrument for data collection. The results show that context and status in choosing the right GMS from the Thai business firms is emphasized on corporate social responsibility (CSR) more than environmental marketing at statistically significance of t-test p<.01. 30 companies have green products at an average of 2.33 items (53%) meanwhile 34 companies have environmental activities at an average of 2.68 activities (60%). Companies that have GMS can produce annual profits better than companies that have none at statistically significance of p<.01 and the size of effect (r2) equals .175 (17.5%) by multiply regression analysis. But it has not been impacted to companies’ annual Sales. Efficiency of annual marketing planning is focused on customer relationship management, Analysis of marketing opportunities, and marketing mix strategy meanwhile GMS is focused on Research and development (R&D), production, and marketing. Finally, efficiency of the Thai Business firms in choosing the right GMS is as tactical greening level rather than strategic Greening and quasi-strategic greening levels.16Suggestions are that Thai business firms should develop GMS that emphasizes on marketing, R&D, and production instead of R&D, production, and marketing because it is on the contrary of green marketing development. When using survey research in the same study it could use face-to-face questionnaire rather than online questionnaire because company executives do not respond any more. Next research study must be framework in the context of GMS from the company point of views because each product is differences in its components, services, packaging, advertising and public relation, R&D, and production itself.Downloads
Issue
Section
Articles