การจัดเส้นทางท่องเที่ยวเชิงนิเวศโดยจักรยานในเขตเทศบาลตำบลแสนสุข

Authors

  • วิทยา กริยาลีลากุล
  • นภัสมน อิศรางกูร ณ อยุธยา
  • นริศรา อิ่มทั่ว
  • บุษบง พรหมเมือง
  • วรินทร์ทิพย์ คำนึงวงศ์
  • เรืองรองรัตน์ เขมานันท์
  • เพชรรัตน์ วิริยะสืบพงศ์

Keywords:

การท่องเที่ยวทางจักรยาน, ชลบุรี, การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ, จักรยาน, การสำรวจเส้นทาง, มัคคุเทศก์

Abstract

             การศึกษาเรื่อง “การจัดเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงนิเวศโดยจักรยานในเขตเทศบาลตำบลแสนสุข” มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจเส้นทางท่องเที่ยวเชิงนิเวิศโดยจักรยาน เพื่อให้ความรู้แก่นิสิตมหาวิทยาลัยบูรพา ในการพัฒนาศักยภาพมัคคุเทศก์ท้องถิ่น และเพื่อประเมินคุณภาพบริการของนิสิตที่อาสาเป็นมัคคุเทศก์ท้องถิ่น สำหรับการท่องเที่ยวเชิงนิเวศโดยจักรยานในเขตเทศบาลตำบลแสนสุข กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย นิสิตแลกเปลี่ยนคณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยบูรพา จากประเทศเวียดนาม จีน ลาว จำนวน 20 คน และนิสิตคณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยบูรพา จำนาน 14 คน การศึกษาครั้งนี้ใช้วิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action research) โดยการทำสำรวจ ค้นคว้าข้อมูล เก็บข้อมูล จัดการให้ความรู้แก่มัคคุเทศก์ท้องถิ่น และกิจกรรมการปั่นจักรยานท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เครื่องมือที่ใช้คือ การสัมภาษณ์ สอบถามข้อมูลจากผู้ที่มีความรู้ในด้านการจัดเส้นทางการท่องเที่ยว แบบสอบถามความพึงพอใจ และประสิทธิภาพของการจัดการให้ความรู้แก่มัคคุเทศก์ท้องถิ่น และแบบสอบถามเกี่ยวกับคุณภาพการให้บริการของมัคคุเทศก์ท้องถิ่น ระหว่างคุณภาพการบริการที่คาดหวังและคุณภาพการบริการที่ได้รับรู้จริง ผลที่เกิดจากการศึกษา คือเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงนิเวศโดยจักรยานในเขตเทศบาลตำบลแสนสุข นิสิตที่เข้ารับฟังการบรรยายความรู้เกี่ยวกับการเป็นมัคคุเทศก์ท้องถิ่น สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปพัฒนาศักยภาพในการเป็นมัคคุเทศก์ท้องถิ่น และทราบถึงระดับการประเมินผลคุณภาพบริการของกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศโดยจักรยานในเขตเทศบาลตำบลแสนสุข ทั้งในแง่ของเส้นทางและการให้บริการของมัคคุเทศก์ท้องถิ่น จากผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรมการปั่นจักรยานท่องเที่ยว                        Ecotourism Management by Riding Bicycle in Saensuk District is presented as the study which is to survey ecotourism road for bicycle, inform Burapha students about local guide skills development and evaluate the service quality of the volunteer guide of Burapha University. Twenty sport science exchange students from Vietnam, China and Laos and fourteen sport sciences are representative samples for the study. The kind of Action Research is used for surveying, finding, collecting data to inform the local guide and manage ecotourism bicycle riding activity. The lecture interviews about ecotourism management, the question from about the contentment and the efficiency of the local guide between the expectancy of the service quality and the real knowledge of the service quality is used as tools for the research. The study is that the students who take part of the lecture about how to guide can develop their local guide skills and know about the quality evaluation of the activity well. They can also know about the ecotourism road and the local guide service from the participants who join the bicycle riding activity.  

Downloads