การรับรู้วัฒนธรรมองค์การที่คาดหวังของบุคลากร: กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี

Authors

  • อนงค์นิตย์ พันธุมะโอภาส
  • วรรณี เดียวอิศเรศ
  • วทัญญู สุวรรณเศรษฐ

Keywords:

การรับรู้, วัฒนธรรมองค์การ, องค์การบริหารส่วนจังหวัด, ชลบุรี

Abstract

          การวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed method) โดยใช้กลยุทธ์ในการวิจัยแบบแผนเชิงสำรวจบุกเบิก (Exploratory design) ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1. ศึกษาวัฒนธรรมองค์การตามความคาดหวังของผู้บริหารระดับสูงและช่องทางการถ่ายทอดวัฒนธรรมองค์การตามความคาดหวังของผู้บริหารระดับสูง 2. ศึกษาระดับการรับรู้ของผู้ปฏิบัติงานต่อวัฒนธรรมองค์การที่ผู้บริหารระดับสูงคาดหวัง และ 3. เพื่อเปรียบเทียบการรับรู้วัฒนธรรมองค์การของผู้ปฏิบัติงาน ที่มีระดับการศึกษา ตำแหน่ง ประสบการณ์การทำงาน และช่องทางในการับรู้ถ่ายทอดวัฒนธรรมองค์การต่างกัน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ 1. กลุ่มผู้บริหารระดับสูงขององค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี จำนวน 6 คน ซึ่งเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ 2. กลุ่มผู้ปฏิบัติงานในองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี จำนวน 197 คน ซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลใช้แบบสอบถามชนิดมาตรส่วนประมาณค่า จำนวน 27 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.84 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา และข้อมูลเชิงปริมาณ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน One-way ANOVA และทดสอบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธี LSD            การศึกษาเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก พบว่าวัฒนธรรมองค์การที่ผู้บริหารระดับสูงขององค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรีคาดหวังนั้น สามารถสังเคราะห์ออกมาได้ 27 หัวข้อ ซึ่งแบ่งได้เป็น 5 ด้าน ดังนี้ 1. ด้านภาพลักษณ์ขององค์การ 2. ด้านการปฏิบัติงานในองค์การ 3. ด้านการพัฒนาศักยภาพของบุคลากร 4. ด้านบรรยากาศในที่ทำงาน 5. ด้านทัศนคติ โดยวัฒนธรรมองค์การที่ผู้บริหารระดับสูงคาดหวังนั้นล้วนเป็นวัฒนธรรมองค์การที่ช่วยส่งเสริมและสนับสนุนให้องค์การมีความก้าวหน้าและก้าวไปสู่องค์การยุคใหม่ เพื่อให้องค์การเข้มแข็งได้ด้วยวัฒนธรรมองค์การที่ผู้บริหารระดับสูงคาดหวังให้เกิดขึ้นในองค์การ และช่องทางในการถ่ายทอดวัฒนธรรมองค์การที่ผู้บริหารระดับสูงคาดหวังนั้นสามารถสรุปช่องทางที่ใช้ในการถ่ายทอดวัฒนธรรมองค์การที่ผู้บริหารระดับสูงคาดหวังนั้น สามารถสรุปช่องทางที่ใช้ในการสื่อสารได้ 5 ช่องทาง ดังนี้ 1.วารสารขององค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี (แบบราย 3 เดือน) 2. การประชุม การสัมมนา การฝึกอบรม 3. การสื่อสารโดยตรง (Direct Information) 4. หนังสือประสานงานภายในหน่วยงานโดยบันทึกข้อความ 5. เว็บไซด์ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี การศึกษาเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถามพบว่า ผู้ปฏิบัติงานขององค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี มีการรับรู้วัฒนธรรมองค์การตามที่ผู้บริหารระดับสูงคาดหวังโดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ผู้บริหารระดับสูงคาดหวังให้ผู้ปฏิบัติงานช่วยเหลือเพื่อนร่วมงานด้วยความเต็มใจ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (X = 4.32) สำหรับช่องทางการถ่ายทอดวัฒนธรรมองค์การพบว่า ผู้ปฏิบัติงานรับรู้วัฒนธรรมองค์การจากผู้บริหารระดับสูง ผ่านช่องทางเว็บไซด์ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรีมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 35.5 และจากการวิเคราะห์ผลการวิจัยแบบผสม ด้วยการเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพพบว่าทางด้านตัวแปรอิสระ มีตัวแปรที่เกี่ยวข้องทั้งหมด 4 ตัว ได้แก่ 1. ระดับการศึกษา 2. ตำแหน่ง 3. ประสบการณ์การทำงาน 4. ช่องทางในการรับการถ่ายทอดวัฒนธรรมองค์การจากผู้บริหารระดับสูง และด้านตัวแปรตาม มีตัวแปรที่เกี่ยวข้องทั้งหมด 1 ตัว คือ การรับรู้วัฒนธรรมองค์การที่คาดหวัง ตัวแปรทั้งหมดถูกนำไปทดสอบด้วยวิธีวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณและพบว่า ในบรรดาตัวแปรทั้งหมดที่รวบรวมในตอนต้น ด้านตัวแปรอิสระ มีตัวแปรอยู่ 4 ตัว ที่มีความสัมพันธ์ทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญ และสามารถเรียงลำดับได้ดังนี้ ผู้ปฏิบัติงานที่มีระดับการศึกษา ตำแหน่งงาน ประสบการณ์ในการทำงาน และมีช่องทางการรับรู้ต่างกัน มีการรับรู้วัฒนธรรมองค์การที่ผู้บริหารระดับสูงคาดหวังต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05              The mixed research study with exploratory design aims to 1) explore the organizational culture and communicative channels of organizational cultures expected by administrative officers, 2) to examine the officers’s levels of perception of the expected organizational cultures, and 3) to compare the perceptions of expected organizational cultures among offices with differences in educational level, work position, work experience, and channel of receiving the organizational cultures. Research samples comprised of two groups including 1) six administrative officers of the Chonburi Provincial Administrative Organization whose data were collected with in-depth interview and 2) 197 officers of the organization who were asked to complete a 27-item questionnaire with rating scales and the reliability value of 0.84. The qualitative data from the officers were analyzed with content analysis. This quantitative data from the officers were analyzed with statistics including frequency, percentage, mean, standard deviation, One-way ANOVA and Least Significant Difference (LSD).            The qualitative research findings from the in-depth interview showed that there were 27 themes that the administrative officers identified as the expected organizational cultures of the organization. The organizational cultures can be divided into five aspects:            1) organizational image, 2) organizational operational, 3) people development, 4) work atmosphere and 5) attitude. The organizational cultures expected by the administrative officers were the ones that promote and support the development of the organization in order to strengthen the organization. The communicative channels of organizational cultures expected by administrative officers can be summarized into five channels: 1) the organization’s journal (i.e. a trimonthly journal), 2) meetings, seminars and trainings, 3) direct communication, 4) internal documents and 5) the organization’s website.            The quantitative research findings from the questionnaire demonstrated that the officers had the high level of overall perception of the expected organizational cultures expected by the administrative officers. The aspect which the officers had the highest level of perception was that the willingness to help each other (X = 4.32). Most of the officers (35.5%) received information about the expected organizational culture through the official website. After analyzing both the findings, it was found that there were four independent variables: 1) educational level, 2) work position, 3) work experience, and 4) channel of receiving organizational culture, and one dependent variable: the perception of the expected organizational cultures. After analyzing the quantitative research findings, the four independent variableshad statistically significant relationships. The statistically significant differences in the perception of expected organizational cultures were also found (p<.05).

Downloads