ความต้องการพัฒนาศักยภาพของครูชาวจีนที่สอนภาษาจีนในโรงเรียนจังหวัดชลบุรี.

Authors

  • Li Juan
  • วรรณี เดียวอิศเรศ

Keywords:

การพัฒนาบุคลากร. ครูภาษา. ครู - - จีน.

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการพัฒนาศักยภาพของครูชาวจีนที่สอนภาษาจีนในโรงเรียนจังหวัดชลบุรี ในขอบข่ายงาน 5 ด้าน ได้แก่ ด้านการสอน ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านวัฒนธรรมไทย ด้านการใช้ภาษาไทย ด้านมนุษยสัมพันธ์และบุคลิกภาพ และเพื่อเปรียบเทียบความต้องการเพื่อพัฒนาศักยภาพของครู จำแนกตามเพศ อายุ การศึกษาด้านวิชาชีพครู ประสบการณ์ในการทำงาน และระดับชั้นที่สอน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ครูชาวจีนที่สอนภาษาจีนในโรงเรียนทั้งสังกัดภาครัฐและเอกชนในจังหวัดชลบุรี ในปีการศึกษา 2556 จำนวน 86 คน ซึ่งเลือกวิธีการสุ่มแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 34 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .92 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและทดสอบความแตกต่างรายคู่โดยใช้ Least Significant Difference (LSD)ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างครูชาวจีนที่สอนภาษาจีนในโรงเรียนจังหวัดชลบุรีที่ศึกษาส่วนใหญ่เป้นเพศหญิง (ร้อยละ 84.1) มีอายุระหว่าง 20-25 ปี (ร้อยละ 65.1) จบปริญญาตรีหรือโททางสาขาอื่น (ร้อยละ 58.1) มีประสบการณ์ในการทำงานต่ำกว่า 1 ปี (ร้อยละ 65.1) สอนในระดับชั้นประถมศึกษา (ร้อยละ 43.0) ครูชาวจีนมีความต้องการพัฒนาศักยภาพโดยรวมอยู่ในระดับมาก (X = 3.79, SD = 0.54) เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีความต้องการเป้นอันดับที่ 1 คือ ด้านมนุษยสัมพันธ์และบุคลิกภาพ (X = 4.13, SD = 0.76) รองลงมาคือ ด้านการใช้ภาษาไทย (X = 3.99, SD = 0.82) และอันดับที่ 3 คือ ด้านวัมนธรรมไทย (X = 3.93, SD = 0.88) ผลทดสอบสมมติฐาน พบว่า ครูจีนที่เป็นเพศหญิง มีอายุในช่วง 20-25 ปี และมีประสบการณ์ในการสอนที่โรงเรียนของไทยต่ำกว่า 1 ปี มีความต้องการพัฒนาศักยภาพด้านการใช้ภาษาไทยมากกว่าครูในกลุ่มอื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <.05)The purpose of this study was to examine the needs for skill development among Chinese school teachers in Chon Buri province in 5 aspects including teaching, using teaching technology, Thai culture, using Thai language, and interpersonal relationship and personality. In addition, this study aimed to compare the needs for skill development among Chinese school teachers who were difference in gender, age, teaching experience and level of teaching class. A random sample of 86 Chinese teachers who taught in the government and private schools in Chon Buri province in academic year 2013 was recruited in the study. The samples were asked to complete a 5-point Likert scale questionnaire, which consists of (34) items. The reliability of the questionnaire was .92. Frequencies, percentages, means, standard deviation, t-test, analysis of variance and Least Significant Difference were used to analyzed data.The results showed that most of the samples were female (81.4%) were aged between 20-25 years (65.1%) received a master degree in non-education discipline (58.1%) had experience in teaching of less than 1 year (65.1%) and were teaching in element school education (43.0%). The overall needs for skill development among Chinese school teachers were at a high level (M= 3.79, SD =0.54). The needs for skill development in the aspect of interpersonal relationship and personality were rated at a highest level (M = 4.13, SD = 0.76) followed by the aspect of using Thai language (M = 3.99, SD =0.82) and Thai culture (M = 3.93, SD 0.88).The results of hypothesis testing showed that Chinese school teachers who were females, were aged between 20-25 years old, and having experience in teaching of less than 1 year  had higher level of needs for skill development than those in other group (p<.05).

Downloads