ผลกระทบของการด้อยค่าของสินทรัพย์และการจัดการกำไรที่มีต่อกระแสเงินสดในอนาคต

Authors

  • ธีรภัทร์ สมหวัง

Keywords:

การจัดการกำไร, การบัญชี, การด้อยค่าของสินทรัพย์

Abstract

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของการด้อยค่าของสินทรัพย์ที่มีตัวตน (ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์) กับกระแสนเงินสดในอนาคต และการกลับรายการการด้อยค่าของสินทรัพย์ที่มีตัวตน กับกระแสเงินสดในอนาคต โดยกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาคือ บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ที่มีการรายงานกานด้อยค่าของสินทรัพย์ และการกลับรายการการด้อยค่าของสินทรัพย์ในช่วงปี พ.ศ. 2542-2554 โดยมีจำนวนรวมทั้งสิ้น 500 ปีบริษัท ซึ่งได้ทดสอบสมมติฐานงานวิจัยด้วยสมการถดถอยเชิงพหุคูณ โดยผู้วิจัยได้แบ่งข้อมูลอกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มบริษัทที่มีการจักการกำไรน้อย และกลุ่มบริษัทที่มีการจัดการกำไรมาก ซึ่งวัดค่าระดับการจัดการกำไรโดยใช้แบบจำลองของ Jones (1995)ผลการศึกษา พบว่า การด้อยค่าของสินทรัพย์ของบริษัทในกลุ่มที่มีการจัดการกำไรน้อย มีความสัมพันธ์เชิงลบกับกระแสเงินสดในอนาคต และการกลับรายการการด้อยค่าของสินทรัพย์ มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับกระแสเงินสดในอนาคตซึ่งสะท้อนให้เห็นว่ารายการการด้อยค่าและการกลับรายการการด้อยค่าของสินทรัพย์ที่เกิดขึ้นภายใต้กลไกทางเศรษฐกิจโดยทั่วไปมีความสามารถในการพยากรณ์กระแสเงินสดในอนาคตได้เป็นอย่างดี แต่สำหรับกลุ่มบริษัทที่มีการจัดการกำไรมากจะไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างการด้อยค่าและการกลับรายการการด้อยค่าของสินทรัพยืกับกระแสเงินสดในอนาคต เนื่องจากรายการดังกล่าวเกิดจากการใช้ดุลยพินิจของผู้หารในการรับรู้รายการซึ่งไม่ได้เกิดขึ้นภายใต้เงื่อนไขทางเศรษฐกิจ จึงทำให้รายการการด้อยค่าของสินทรัพย์และการกลับรายการด้อยค่าของสินทรัพย์และการกลับรายการด้อยค่าของสินทรัพย์ ไม่สะท้อนถึงกระแสเงินสดในอนาคตของบริษัทได้The objectives of this research were to study the effect of tangible assets impairment (Property, Plant and Equipment) on future cash flow and to study the effect of assets impairment reversal on future cash flow. Data were collected from financial statement of listed companies in stock exchange of Thailand from 1999 to 2011 which were 500 firms year. The multiple regression technique was used to test research hypothesizes. This study separated data into 2 groups which were the firms without earning management and the firms with earnings management. Modified Jones (1995) model was used capture earnings management.The research found that assets impairment of the firms which had high level of earnings management had negative effection future cash flow and assets impairment reversal had positive effect on future cash flow. This relationship implied that assets impairment and assets impairment reversal could predict future cash flow in common (under economic condition in generally).Nevertheless. for the firms which had low level of earnings management, there were no evidences about the effect of assets impairment and assets impairment reversal on future cash flow. The sephenomena occurred when management used discretionary judgment to recognize impairment items on financial statement which not occurred under general economic condition. Thus, these items were not relected on firms' future cash flow.

Downloads