ความสัมพันธ์ระหว่างความคาดหวังและการรับรู้ในคุณภาพการให้บริการ ของกองบริหารวิทยาเขตจันทบุรีและกองบริหารวิทยาเขตสระแก้ว สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยบูรพา
Keywords:
ความคาดหวัง, การรับรู้, คุณภาพการให้บริการAbstract
การวิจัย ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความคาดหวังคุณภาพการให้บริการของกองบริหาร วิทยาเขตจันทบุรีและกองบริหารวิทยาเขตสระแก้ว สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยบูรพา 2) เพื่อศึกษาระดับ การรับรู้คุณภาพการให้บริการของกองบริหารวิทยาเขตจันทบุรีและกองบริหารวิทยาเขตสระแก้ว สำนักงาน อธิการบดี มหาวิทยาลัยบูรพา 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความคาดหวังและการรับรู้ในคุณภาพการให้บริการของกองบริหารวิทยาเขตจันทบุรีและกองบริหารวิทยาเขตสระแก้ว สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัย บูรพา กลุ่มตัวอย่าง คือ อาจารย์ บุคลากรและนิสิต ที่รับบริการจากกองบริหารวิทยาเขตจันทบุรี และกองบริหาร วิทยาเขตสระแก้ว มหาวิทยาลัยบูรพา จำนวน 362 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบโควตา โดยจำแนกประชากร ออกเป็นส่วน ๆ เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นในมิติความ คาดหวังคุณภาพการให้บริการ เท่ากับ 0.927 และ มิติการรับรู้คุณภาพการให้บริการ เท่ากับ 0.940 สถิติที่ใช้ใน การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Independent Sample t-Test One way ANOVA และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัย 1) ระดับความคาดหวังคุณภาพการให้บริการของกองบริหารวิทยาเขตจันทบุรีและกองบริหารวิทยาเขตสระแก้วในภาพรวม อยู่ในระดับมาก 2) ระดับการรับรู้ คุณภาพการให้บริการของกองบริหารวิทยาเขตจันทบุรี และกองบริหารวิทยาเขตสระแก้ว ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีระดับความคาดหวังมากกว่าระดับการรับรู้ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างความคาดหวังและการรับรู้ในคุณภาพการให้บริการของกองบริหารวิทยาเขตจันทบุรี มีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 และความสัมพันธ์ระหว่างความคาดหวังและการรับรู้ในคุณภาพการให้บริการของกองบริหารวิทยาเขตสระแก้ว ไม่มีความสัมพันธ์กัน This research aimed at identifying the expectations for the service quality, as well as the levels of perceptions for the service quality, and the relationship between the expectations and the perceptions for the service quality in Chanthaburi and Sakaeo administration campuses, Office of the President, Burapha University. The samples for the study were 362 persons who were lecturers, personnel, and students, getting the services from Chanthaburi and Sakaeo administration campuses, Office of the President, Burapha University. They were selected through the quota sampling, and then were classified into sections. The research tools used for collecting the data of the study were five-rating-scale questionnaires with the reliability values of 0.927 and 0.904 for the dimensions of quality service expectations and quality service perceptions, respectively. Statistics used for analyzing the data were frequency, percentage, average score, standard deviation, Independent Sample t-Test, One way ANOVA, and Pearson Product Moment Correlation Coefficient. The findings revealed that in regard to the levels of the expectations and the perceptions for the quality services in Chanthaburi and Sakaeo administration campuses, Office of the President, Burapha University, they were both rated, as a whole, at the ‘high’ level with the levels of the expectations higher than that of the perceptions. In addition, with regard to the relationship between the expectations and the perceptions for the quality services in Chanthaburi and Sakaeo administration campuses, it was found that there was relationship toward the same direction for the quality services in Chanthaburi administration campus with statistical significance at the 0.05 level; however, there was no relationship regarding this for the quality services in Sakaeo administration campus.Downloads
Issue
Section
Articles