การวิเคราะห์แบบจำลององค์ประกอบเชิงยืนยันปัจจัยเสริมสร้างองค์กรแห่งความสุขของสถานประกอบการในภาคตะวันออกของประเทศไทย

Authors

  • วรรณวิชนี ถนอมชาติ
  • ณฤดี พรหมสุวรรณ

Keywords:

องค์กรสุขภาวะ, ปัจจัยการสร้างองค์กรแห่งความสุข, สหภาพแรงงาน, ภาคตะวันออก

Abstract

          งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์แบบจำลององค์ประกอบเชิงยืนยันของปัจจัยเสริมสร้างองค์กรแห่งความสุขของสถานประกอบการในภาคตะวันออกของประเทศไทย เก็บข้อมูลกับประชากรซึ่งเป็นผู้นำสหภาพแรงงานในภาคตะวันออกทั้งหมด จำนวนทั้งสิ้น 385 แห่ง โดยใช้แบบสอบถามแบบมีโครงสร้างปลายปิดพัฒนาหัวข้อคำถามจากกรอบแนวคิดการสร้างองค์กรสุขภาวะขององค์กรอนามัยโลกและแนวคิดที่เกี่ยวข้องตรวจสอบคุณภาพของแบบสอบถามด้วยวิธีการให้คะแนนตามวิธีให้ค่าความเที่ยงตรงของแบบสอบถามและยืนยันความตรงเชิงโครงสร้างของกลุ่มคำถามแต่ละด้านด้วยวิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ได้รับการตอบกลับมาจำนวน 324 ราย คิดเป็นร้อยละ 84.16 ผลการศึกษาพบว่า ค่าน้ำหนักองค์ประกอบรวมของปัจจัยการสร้างองค์กรแห่งความสุขจำนวน 8 องค์ประกอบ มีค่าเป็นบวกและแตกต่างจากศูนย์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 แสดงว่าแบบจำลองมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ซึ่งหมายความว่าองค์ประกอบของตัวแปรทั้ง 8 ด้าน สามารถใช้อธิบายปัจจัยเสริมสร้างองค์กรแห่งความสุขของสถานประกอบการในภาคตะวันออกของประเทศไทย (X2 = 347.07, df = 203, X2/df = 1.70 ,CFI = 0.99, GFI = 0.92, RMSEA = 0.04) เมื่อพิจารณาค่าน้ำหนักองค์ประกอบของตัวแปรสังเกตได้จากข้อคำถามมีค่าระหว่าง 0.59-0.94 เป็นค่าที่ผ่านเกณฑ์ จากค่าสถิติแสดงให้เห็นแบบจำลองที่มีโครงสร้างองค์ประกอบที่เหมาะสมเชื่อถือได้และถูกต้องสามารถนำมาใช้ในบริบทสภาพแวดล้อมในการดำเนินงานด้านองค์กรแห่งความสุขหรือองค์กรสุขภาวะในประเทศไทยที่มีลักษณะกลุ่มเป้าหมายคล้ายคลึงกัน และสามารถนำมาปรับใช้เพื่อเป็นตัวแบบในการพัฒนาองค์กรสุขภาวะต่อไป           This research aimed to develop a Confirmatory Factor Analysis (CFA) of the factors promoting a happy workplace in the eastern region of Thailand. Data was collected with 385 union leaders in the eastern region of Thailand. The structured close-ended questionnaire developed from the concept of building a health promoting workplace of World Health Organization (WHO) and other related concepts was a tool for collecting data. The questionnaire was rated for quality and tested construct validity by IOC and factor analysis method. In the data analysis, 342 returned questionnaires (84.16%) were analyzed by CFA. The result indicated that the model fitted with the empirical data and had the factor loading between 0.59 and 0.94. (X2 = 347.07, df = 203, X2/df = 1.70, CFI = 0.99, GFI = 0.92, RMSEA = 0.04). It could be concluded that the components of the eight variables can be used to describe the factors promoting a happy workplace in the Eastern Region of Thailand.

Downloads