ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อกลยุทธ์การตลาดอสังหาริมทรัพย์มือสอง
Personal factors affecting second-hand real estate marketing strategy
Keywords:
กลยุทธ์การตลาด, อสังหาริมทรัพย์มือสอง, ทรัพย์สินรอการขาย, ลูกค้าAbstract
ปัจจุบันธุรกิจอสังหาริมทรัพย์มีการแข่งขันกันอย่างมาก ส่งผลให้อสังหาริมทรัพย์มือสองต้องวางกลยุทธ์การตลาดให้มีความแตกต่างและตอบสนองความต้องการของลูกค้ามากยิ่งขึ้น งานวิจัยนี้จึงทำการศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อกลยุทธ์การตลาดอสังหาริมทรัพย์มือสอง โดยใช้แบบสอบถามและการวิเคราะห์สถิติเชิงอนุมาน จากกลุ่มตัวอย่างที่มีอายุ 25 ปีขึ้นไปที่สนใจซื้ออสังหาริมทรัพย์มือสอง อีกทั้งมีการนำปัจจัยด้านเพศ อายุ ประสบการณ์ในการซื้อ และวัตถุประสงค์ในการซื้ออสังหาริมทรัพย์มือสองมาทดสอบสมมติฐาน ผลการวิจัยพบว่า (1) กลยุทธ์ด้านผลิตภัณฑ์ควรมีการเพิ่มมูลค่าและนำเสนอถึงความพร้อมเข้าอยู่ของอสังหาริมทรัพย์มือสอง (2) กลยุทธ์ด้านราคาควรมีการระบุราคาให้ชัดเจน และการกำหนดราคาเพียงราคาเดียวที่ครอบคลุมค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ (3) กลยุทธ์ด้านช่องทางการขายควรมีการระบุผู้ถือกรรมสิทธิ์เช่นเจ้าของขายเองหรือเป็นทรัพย์สินรอการขาย (4) กลยุทธ์ด้านการส่งเสริมการตลาดควรมีการโฆษณาทั้งทางช่องทางออนไลน์โดยเฉพาะ ยูทูบ และการโฆษณาบนป้ายโฆษณาขนาดใหญ่ สุดท้ายงานวิจัยได้เสนอแผนกลยุทธ์การตลาดอสังหาริมทรัพย์ มือสองเพื่อใช้เป็นแนวทางสำหรับการพัฒนาธุรกิจต่อไป Currently, the real estate business is highly competitive. As a result, second-hand real estate has to create a marketing strategy that is different and more responsive to customers' needs. This research aimed to study personal factors affecting second-hand real estate marketing strategy. The data was collected by questionnaires and analyzed by using Inferential Statistic Analysis from samples aged 25 and over who were interested in buying second-hand real estate. In addition, the factors of gender, age, buying experience, and objectives in purchasing second-hand real estate were used to test the hypothesis. The research found that: 1) The product strategy should add value and present well the readiness to move in of second-hand real estate. 2) The pricing strategy should include clear pricing, single pricing that covers transfer fees and other expenses. 3) The place strategy should include identifying ownership holders, such as sold by the owners or Non-Performing Asset (NPA). 4) The promotional strategy should include advertising on both online channels, especially on YouTube and large billboards. Finally, research proposed a strategy for the second-hand real estate marketing strategy for further business development.References
ฐานเศรษฐกิจ. (2563). บ้านใหม่ดัมพ์ราคาทุบตลาดบ้านมือสองดิ้นหนีเจาะเศรษฐี-ต่างชาติ, สืบค้นเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2563, สืบค้นจาก https://bit.ly/3xoWsLx.
ดีดีพร็อพเพอร์ตี้. (2563). คนไทยมอง “ตลาดอสังหาฯ” อย่างไรในช่วงที่ผ่านมา. สืบค้นเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2563, สืบค้นจาก https://bit.ly/3jmOldq
ถวิล ธาราโภชน์. (2532). จิตวิทยาสังคม. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา. (2563). สินเชื่อบ้านกรุงศรีเพื่อที่อยู่อาศัย, สืบค้นเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2563, สืบค้นจาก https://bit.ly/3yqmb7o.
นิภาพร อริยบัณฑิตกุล. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการเลือกซื้อที่อยู่อาศัยมือสองของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี, 4(2), 159-164.
ผุสดี ทิพทัส. (2555). ฮวงจุ้ยในงานสถาปัตยกรรม. วารสารราชบัณฑิตยสถาน, 37(2), 182-191.
พิชานันท์ บุญพร้อมกุล และ อัจฉราวรรณ งามญาณ. (2560). ตัวบ่งชี้ล่วงหน้าของการถดถอยของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของไทย. วารสารบริหารธุรกิจ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 40(156), 36-37.
มนธิดา ศรีพยุงฉันท์. (2558). ศึกษาเรื่องความต้องการด้านอสังหาริมทรัพย์ประเภทที่อยู่อาศัยแนวราบของกลุ่มผู้บริโภคเปรียบเทียบ Generation X กับ Generation Y ในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ, คณะเศรษฐศาสตร์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
รัชญา หลิมรัตน์. (2553). กลยุทธ์การตลาด: ศึกษาเฉพาะปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ และราคาของบ้านมือสอง ประเภทบ้านเดี่ยว. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชานวัตกรรมการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์, คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ศักดิ์ สุนทรเสณี. (2531). เจตคติ. กรุงเทพฯ: ดีดี บุ๊กสโตร์.
สมจิตร เปรมกมล. (2552). ปัจจัยที่กำหนดการตัดสินใจในการซื้อบ้านมือสองของผู้บริโภค มีการศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยและพฤติกรรมในการซื้อบ้านมือสองของผู้บริโภค. วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
โสภณ พรโชคชัย (2560). การบริหารธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: โรงเรียนธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ไทย.
เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส. (2560). ท่านทราบไหมมูลค่าตลาดบ้านของไทยปีละเท่าไหร่. สืบค้นเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2563, สืบค้นจาก https://bit.ly/3xmTneM
Berelson, B. & Steiner, A. G., (1964). Human behavior: An inventory of scientific findings. New York: Harcourt, Brace & World.
Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing. (5th ed.). New York: Harper Collins Publishers.
DeFleur M. L. & Ball-Rokeach S. J. (1996). Theories of mass communication, London: Longman.
Kendler, H. H. (1963). Basic Psychology. New York: Appleton-Century-Crofts.
Lauterborn, R.F. (1990). New Marketing Litany; Four P's passe; C-words take over. New York: Crain Communications.
McCarthy, E. J., (1971). Basic Marketing: A Managerial Approach, Homewood: R.D. Irwin.
Munn, N. L., (1971). Introduction to Psychology. Boston: Houghton Mifflin.
Murphy, G., Murphy, L. B., & Newcomb, T. M. (1973). Experimental social psychology. New York: Harper.
Rovinelli, R. J., & Hambleton, R. K. (1977). On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity. Dutch Journal of Educational
Research, 2, 49-60.
Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rd ed.). New York: Harper and Row.