การยอมรับและการใช้เทคโนโลยีและคุณภาพเว็บไซต์ที่มีผลต่อการตัดสินใจ สั่งซื้อสินค้าผ่านระบบ e-Commerce สำหรับธุรกิจแบบ B2B
Technology Acceptance and Use of Technology and Website Quality Affecting Decision to Purchase Product through E-Commerce in B2B Industry
Keywords:
การยอมรับและการใช้เทคโนโลยี, คุณภาพเว็บไซต์, การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์, การสั่งซื้อสินค้าสินค้า, ธุรกิจกับธุรกิจ, Technology Acceptance and Use of Technology, Website Quality, Decision To Purchase Product, B2BAbstract
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การยอมรับและการใช้เทคโนโลยีที่มีผลต่อการตัดสินใจสั่งซื้อสินค้าผ่านระบบ e-Commerce สำหรับธุรกิจแบบ B2B และวิเคราะห์คุณภาพเว็บไซต์ที่มีผลต่อการตัดสินใจสั่งซื้อสินค้าผ่านระบบ e-Commerce สำหรับธุรกิจแบบ B2B กลุ่มตัวอย่างคือ พนักงานฝ่ายจัดซื้อของโรงงานในนิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ด จังหวัดระยอง จำนวน 218 คน เพื่อป้องกันความผิดพลาดคลาดเคลื่อนผู้ศึกษาจึงเก็บข้อมูลเพิ่มอีก 45 คน รวมเป็นกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 263 คน และการเลือกกลุ่มตัวอย่างใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Sample Random Sampling) การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s Correlation Coefficient) และการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ผลการวิจัยพบว่า การยอมรับและการใช้เทคโนโลยีในด้านความคาดหวังในความพยายาม สภาพสิ่งอำนวยความสะดวกในการใช้งาน อิทธิพลทางสังคม และคุณภาพเว็บไซต์ในด้านคุณภาพสารสนเทศ คุณภาพระบบ และคุณภาพการให้บริการมีผลต่อการตัดสินใจสั่งซื้อสินค้าผ่านระบบ e-Commerce สำหรับธุรกิจแบบ B2B อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 The purpose of this study was to analyze the level of Technology Acceptance and Use of Technology and Website Quality that affects the decision to purchase products through e-Commerce in B2B industry. The research sample consisted of 263 employees in Procurement divisions in the Eastern Seaboard Industrial Estate, Rayong Province. A questionnaire was used as data collecting instrument by using Sample Random Sampling. The statistics procedure used in hypothesis testing were percentage, mean, standard deviation, Pearson’s correlation coefficient and Multiple regression analysis. The research found that Technology Acceptance, Use of Technology, Effort Expectancy, Facilitating Condition, Social Influence, Information Quality, System Quality and Service Quality had positive significant effect on decision to purchase products through e-commerce at level 0.05.References
การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย. (2561). ข้อมูลนิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ด ระยอง. สืบค้นเมื่อ 5 ธันวาคม 2561, สืบค้นจาก https://www.ieat.go.th/ieat-industry-port-factory/industrial-list.
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2554). สถิติสำหรับงานวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพ ฯ: ธรรมสาร.
กิตติ ภักดีวัฒนะกุล และทวีศักดิ์ กาญจนสุวรรณ. (2547). คัมภีร์การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: เคทีพี คอมพ์แอนด์คอนซัลท์.
กิตติวัฒน์ จิตรวัตร. (2559). ปัจจัยการซื้อสินค้าออนไลน์และคุณภาพเว็บไซต์ที่ส่งผลต่อการตัดสินซื้อสินค้าจากเว็บไซต์ลาซาด้าของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ณัฏฐนันท์ พิธิวัตโชติกุล. (2558). การยอมรับเทคโนโลยีโทรศัพท์มือถือ การตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์ และพฤติกรรม ผู้บริโภคออนไลน์ที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชัน ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
สิงหะ ฉวีสุข และสุนันทา วงศ์จตุรภัทร. (2555). ทฤษฎีการยอมรับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ. วารสารเทคโนโลยีสารสนเทศลาดกระบัง, 2012(1), 1-21.
สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน). (2560). รายงานผลการสำรวจมูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ในประเทศไทย ปี 2560. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ : สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์, กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม.
อรพรรณ พนัสพัฒนา. (2558). คู่มือกลยุทธ์การตลาดอิเล็กทรอนิกส์. สืบค้นเมื่อ 5 ธันวาคม 2561, สืบค้นจาก http://handbook-ecommerce.blogspot.com.
Davis, F.D. (1989), Perceived usefulness, perceived ease of use, and user acceptance of information technology, MIS Quarterly, 3(3), 319-340.
DeLone, W. H., & McLean, E. R. (1992). Information systems success: The quest for the dependent variable. Information Systems Research, 8(3), 240-253.
DeLone, W. H., & McLean, E. R. (2002). Information systems success revisited. In Proceedings of the 35th Hawaii international conference on system sciences (HICSS 02), January 7–10. Big Island, Hawaii.
DeLone, W. H., & McLean, E. R. (2003). The DeLone and McLean model of Information systems success: A ten-year update. Journal of Management Information Systems, 19(4), 9-30.
Venkatesh, V., Morris, M. G., Davis, G. B., & Davis, F. D. (2003). “User Acceptance of Information Technology: Toward a Unified View”. MIS Quarterly, 27(3), 425-478.