แบบจำลองโมเดลความตั้งใจเชิงสาเหตุการเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษาระดับปริญญาตรี หลักสูตรบริหารธุรกิจ: กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
The Causal Intention Model for Being Entrepreneurs of Business Administration Undergraduates: Case Study Prince of Songkla University
Keywords:
ความตั้งใจ, ผู้ประกอบการ, นักศึกษาบริหารธุรกิจ, Intention, Entrepreneur, Business Administration StudentsAbstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจในการเป็นผู้ประกอบการนักศึกษาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ซึ่งความตั้งใจในการเป็นผู้ประกอบการมีบทบาทสำคัญในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาผู้ประกอบการ โดยพิจารณาตามทฤษฎีพฤติกรรมตามแผนประกอบด้วย การรับรู้ถึงการควบคุมพฤติกรรม ทัศนคติต่อการเป็นผู้ประกอบการ และบรรทัดฐานทางสังคม นอกจากนี้มีอีก 2 ปัจจัย คือ คุณลักษณะเฉพาะของการเป็นผู้ประกอบการ และความรู้พื้นฐานด้านการเป็นผู้ประกอบการการทดสอบสมมติฐานในงานวิจัยนี้ใช้แบบสอบถามออนไลน์จากนักศึกษาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จำนวน 326 ชุด และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีแบบสมการโครงสร้างแบบกำลังสองน้อยที่สุดบางส่วน (PLS-SEM) ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจในการเป็นผู้ประกอบการมากที่สุด คือ คุณลักษณะเฉพาะของการเป็นผู้ประกอบการผ่านการรับรู้ถึงการควบคุมพฤติกรรม โมเดลสมการโครงสร้างสามารถอธิบายผลของความตั้งใจในการเป็นผู้ประกอบการนักศึกษาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้ร้อยละ 55.00 (R2= 0.55) ผลวิจัยสามารถนำไปเป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอน กล่าวคือมหาวิทยาลัยควรบ่มเพาะทักษะความเป็นผู้ประกอบการผ่านการสร้างความคิดที่แตกต่างและความกล้าในการริเริ่มสำหรับโอกาสทางธุรกิจ สนับสนุนการเรียนรู้โดยการสร้างประสบการณ์ และสภาพแวดล้อมในการประกอบธุรกิจให้กับนักศึกษาได้มีการทำลงมือทำจริง The objectives of this study aim to analyze the factors influencing business administration student entrepreneurship intents (EI) in Prince of Songkla University. The intention of being an entrepreneur plays a significant role in providing education management for entrepreneurial development by considering the theory of planned behavior (TBP), EI is explained by three antecedents: attitude towards entrepreneurial behavior (ATB), subjective norms (SN), and perceived behavior control (PBC). Moreover, there are two factors, which are individual entrepreneurial orientation (IEO) and entrepreneurship education. The hypothesis testing in this study used an online questionnaire with a sample of 326 business administration students, Prince of Songkla University and analyzed the data using the partial least squares structural equation modeling (PLS-SEM). The results showed that the highest factor affecting entrepreneurs' intentions was individual entrepreneurial orientation through a perceived behavior control model. The structural equation modeling explaining intentions of entrepreneurs' business administration students, Prince of Songkla University was 55.00% (R2 = 0.55). The research results can be used as a guideline for teaching and learning, that is, universities should emphasize nurturing students to be business practitioners through the creation of different ideas and the courage to take initiative for business opportunities, support learning by creating experiences and a business environment.References
กองทะเบียนและประมวลผล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่. (2562). สถิตินักศึกษา Online มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์: PSU. สืบค้นเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2563, สืบค้นจาก https://reg.psu.ac.th /StatStudentHatYai/index.aspx
ธนกร ลิ้มศรัณย์ บุษยา วงษ์ชวลิตกุล ธีติมา ปิยะศิริศิลป์ และอังควิภา แนวจําปา. (2561). ความพร้อมของนักศึกษาในระดับอุดมศึกษาต้อการเป็นผู้ประกอบการ. วารสารกรุงเทพฯภาคใต้, 4(2), 27-45.
ธาดาธิเบศร์ ภูทอง และสวมน ศิริกัณฑ์. (2562). อิทธิพลของการสนับสนุนทางสังคม สนับสนุนทางด้านการศึกษาและความชื่อมั่นในตนเองต่อความตั้งใจที่จะเป็นผู้ประกอบการธุรกิจบริการ และที่พักรุ่นเยาว์ของกลุ่มวัยรุ่นเจเนอเรชั่นซี. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 12(4), 799-830.
พรทิพย์ ม่วงมี ดุษฎี โยเหลา และภิญญาพันธ์ ร่วมชาติ. (2555). ปัจจัยทางจิตและสังคมที่เกี่ยวข้องกับความตั้งใจเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. วารสารพฤติกรรมศาสตร์เพื่อการพัฒนา. 4(1), 74-82.
พิมพิกา พูลสวัสดิ์ และดรณีกร สุปันตี. (2561). ทุนทางจิตวิทยาด้านบวกและแนวโน้มของการชอบความเสี่ยงที่มีผลต่อความตั้งใจที่จะเป็นผู้ประกอบการของผู้ประกอบการรุ่นใหม่: การตรวจสอบทัศนคติต่อการเป็นผู้ประกอบ การเป็นตัวแปรคั่นกลาง. การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 2 (หน้า 528-536). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
พิมพิกา พูลสวัสดิ์ และวิษณุพงษ์ โพธิพิรุฬห์. (2562). อิทธิพลของปัจจัยทฤษฎีพฤติกรรรมตามแผนที่มีต่อความตั้งใจที่จะเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษามหาวิทยาลัย. วารสารบริหารธุรกิจ ศรีนครินทร์วิโรฒิ, 10(2), 50-61.
มารยาท โยทองยศ และทรงวาด สุขเมืองมา. (2559). ศักยภาพการเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษามหาวิทยาลัยไทย. วารสารสุทธิปริทัศน์, 11(3), 255-274.
สุชาติ ไตรภพสกุล. (2558). อิทธิพลของปัจจัยแรงจูงใจต่อการเป็นผู้ประกอบการที่มีต่อการเติบโตและความมุ่งหวังที่จะเติบโตของธุรกิจ: กรณีศึกษาประเทศไทย. วารสารสุทธิปริทัศน์, 29(90), 75-93
อนงค์ รุ่งสุข. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อความตั้งใจที่จะเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษาคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์. งานนิพนธ์การศึกษาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, คณะบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยราชมงคลรัตนโกสินทร์.
Ajzen, I. (1991). The theory of planned behavior. Organizational Behavior and Human Decision Processes, 50(2), 179-211.
Awang, A., Amran, S., Md Nor, M., Ibrahim, I, & Razali, M. (2016). Individual entrepreneurial orientation impact on entrepreneurial intention: intervening effect of PBC and subjective norm. Journal of Entrepreneurship Business and Economics, 4(2), 94-129.
Bolton, D.L., & Lane, M.D. (2011). Individual entrepreneurial orientation: Development of a measurement instrument. Education + Training, 54(2/3), 213-233.
Chin, W.W. (1998). The partial least squares approach for structural equation modeling. In G. A. Marcoulides (Ed.). Modern Methods for Business Research. 295-336. New Jersey: Lawrence Erlbaum Associates Publishers.
Cohen, J. (1988). Statistical power analysis for the behavioral sciences. Hillsdale, NJ: Erlbaum.
Hair, J.F., Hult, G.T.M., Ringle, C.M., & Sarstedt, M. (2017). A primer on partial least squares structural equation modeling (PLS-SEM). Thousand Oaks: Sage.
Hair, J.F., Sarstedt, M., Hopkins, L., & Kuppelwieser, V. G. (2014). Partial least squares structural equation modeling (PLS-SEM): An emerging tool in business research. European Business Review, 26(2), 106-121.
Henseler, J., Ringle, C.M., & Sarstedt, M. (2012). Using partial least squares path modeling in international advertising research: basic concepts and recent issues. In Okazaki, S. (Ed.). Handbook of Research in International Advertising. Edward Elgar Publishing.
Hulland, J. (1999). Use of partial least squares (PLS) in strategic management research: a review of four recent studies, 20(2), 195-204.
Johnson, B.R. (1990). Toward a multidimensional model of entrepreneurship: The case of achievement motivation and the entrepreneur. Entrepreneurship Theory and Practice, 14(3), 39-54.
Krejcie, R.V., & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.
Sahoo, S., & Panda, R.K. (2019). Exploring entrepreneurial orientation and intentions among technical university students: Role of contextual antecedents. Education + Training, 61(6), 718-736.
Souitaris, V., Zerbinati, S., & Al-Laham, A. (2007). Do entrepreneurship programmes raise entrepreneurial intention of science? The effect of learning, inspiration and resources. Journal of Business Venturing, 22(4), 566-591.
Wu, S., & Wu, L. (2008). The impact of higher education on entrepreneurial intentions of university students in China. Journal of Small Business and Enterprise Development, 15(4), 752-774.