การพัฒนาสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมสู่การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ภายใต้กระบวนการคิดเชิงออกแบบ

Development of the Office for Agricultural Land Reform into a Learning Organization within the Framework of the Design Thinking Process

Authors

  • สมเจตน์ บัวติ๊บ
  • ชเนตตี พุ่มพฤกษ์
  • กฤษดา เชียรวัฒนสุข

Keywords:

องค์การแห่งการเรียนรู้, การคิดเชิงออกแบบ, การพัฒนาองค์การ, สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม, Learning organization, Design thinking, Organization development, Agricultural Land Reform Office

Abstract

องค์การแห่งการเรียนรู้เป็นกระบวนทัศน์ทางด้านการบริหารจัดการแนวใหม่ที่มุ่งเน้นการเพิ่มประสิทธิผลขององค์การโดยการใช้ทุนองค์ความรู้เป็นกลไกในการขับเคลื่อนองค์การ จากบริบทของสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว การพัฒนาองค์การให้เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้จึงเป็นกลยุทธ์สำคัญที่ช่วยให้ผู้บริหารองค์กรเข้าใจสถานการณ์และความต้องการของลูกค้าที่แตกต่างกัน นอกจากนี้ การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยกระบวนการคิดเชิงออกแบบ ซึ่งเป็นการพัฒนาองค์การที่ให้ความสำคัญกับการทำความเข้าใจปัญหาของลูกค้าและการสร้างตัวแบบในการแก้ปัญหาที่มีความเฉพาะตัว ผ่านทดสอบอย่างเป็นระบบก่อนส่งมอบผลแก่ลูกค้า การพัฒนาองค์การแห่งการเรียนรู้ภายใต้กระบวนการคิดเชิงออกแบบจึงเป็นแนวทางหนึ่งในการเพิ่มขีดความสามารถขององค์กรในภาพรวมได้อย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีภารกิจการจัดที่ดินและพัฒนาอาชีพเกษตรกร มีการดำเนินงานโดยบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญสหวิชาชีพ ปัจจุบันหน่วยงานกำลังเผชิญกับความท้าทายด้านการปัญหาความต้องการรับการจัดที่ดิน ในขณะที่บุคลากรในหน่วยงานยังขาดการเชื่อมโยงองค์ความรู้ด้วยกัน บทความนี้นำเสนอแนวคิดของการพัฒนาสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมกับการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ โดยใช้กระบวนการคิดเชิงออกแบบเป็นเครื่องมือช่วยในการพัฒนาองค์การแห่งการเรียนรู้ เพื่อยกระดับประสิทธิผลองค์การของหน่วยงานรัฐ ให้มีสมรรถนะสูง ตอบสนองต่อความต้องการของผู้รับบริการได้อย่างเป็นธรรมและมีประสิทธิภาพ  The learning organization is a new management paradigm that focuses on increasing the effectiveness of the organization by using knowledge capital as a mechanism to steer the organization out of the context of rapidly changing situations. Developing an organization into a learning organization is a strategy that helps executives understand different situations and needs of customers. In addition, increasing competitiveness through the design thinking process is organizational development that focuses on understanding customer problems and creating models to solve them that are unique and systematically tested before delivering the results to customers. Developing a learning organization through the design thinking process is an approach to effectively increase organizational capability. For the Agricultural Land Reform Office which is an agency with a mission of land management and professional development for farmers. It is operated by staff with multidisciplinary expertise. Currently, the agency faces the challenge of land acquisition requirements. While the personnel in the office still lacks knowledge linkage. This article presents the concept for the development of the Agricultural Land Reform Office and being a learning organization. By using the design thinking process as a tool to develop a learning organization. Improve the organizational effectiveness of government agencies to have high performance and respond to the needs of service users fairly and efficiently.

References

กฤษณะ ดาราเรือง. (2558). ตัวแบบองค์การแห่งการเรียนรู้และการจัดการความรู้ สู่การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้. วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย, 21(2), 133–148.

กฤษดา เชียรวัฒนสุข และธีทัต ตรีศิริโชติ. (2565). แนวทางการพัฒนานวัตกรรมทางด้านการจัดการโดยใช้หลักการคิดเชิงออกแบบ. วารสารนักบริหาร, 42(1), 145-161.

ธีรพันธ์ เชิญรัมย์. (2563). องค์การแห่งการเรียนรู้: การเรียนรู้จากการปฏิบัติ.วารสารวิจัยวิชาการ, 3(1), 185-196.

ธีทัต ตรีศริโชติ, กฤษดา เชียรวัฒนสุข, นพดล เดชประเสริฐ และอำนาจ สาลีนุกุล. (2565) การคิดเชิงออกแบบของการบริการ Service design thinking. วารสารศิลปศาสตร์และอุตสาหกรรมบริการ, 5(2), 96-107.

ภิมพ์วิมล ปรมัตถ์วรโชติ (2564). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ : สู่องค์การแห่งการเรียนรู้. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, 7(5), 337-351.

ภาวนา จันทรสมบัติ, สุบัน มุขธระโกษา และสังวาลย์ เพียยุระ. (2561). แนวทางการพัฒนาองค์การสู่องค์การแห่งการเรียนรู้ของหน่วยงานระดับคณะในมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคเหนือ. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 12(1), 149-162.

วิจารณ์ พาณิชย์ (2550) ผู้บริหารองค์กรอัจฉริยะฉบับนักปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม อ้างถึงใน สมชาย รัตนคช, ผ่องศรี วาณิชย์ศุภวงศ์, เอกรินทร์ สังข์ทอง, และ ชวลิต เกิดทิพย์ (2558) การพัฒนาองค์การแห่งการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์, 26(3), 61-77.

สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม. (2555). พระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518. กรุงเทพฯ: สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม.

สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม. (2564). แผนปฏิบัติราชการ ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566- 2570) ของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม. กรุงเทพฯ: สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม.

สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์. (2564). พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546. สืบค้นเมือ 10 มกราคม 2566, สืบค้นจาก https://legal.ops.moc.go.th/th/content/category/articles/id/772/cid/511.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2562). เนื้อที่การใช้ประโยชน์การเกษตร ราย สืบค้นเมือ 10 มกราคม 2566, สืบค้นจาก https://www.oae.go.th/assets/portals/1/files/socio/LandUtilization2562.pdf

อัญญาณี เทศประสิทธิ์. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของบุคลากรกรมการศาสนา. รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, คณะรัฐศาสตร์, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

เอกพล สุมานันทกุล, ภารดี อนันต์นาวี, สิทธิพร นิยมศรีสมศักดิ์ และเรณา พงษ์เรืองพันธุ์. การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม การพัฒนาองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนสุมานันท์ จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา, 6(1), 18-31.

เอกกนก พนาธำรง. (2559) มุ่งสู่…องค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) ด้วย KM. เวชบันทึกศิริราช, 9(2), 90-92.

Cousins, B. (2018). Design Thinking: Organizational Learning in VUCA Environment. Academy of Strategic Management Journal, 17(2), 1-18.

Dune, D., & Martine, R. (2006). Design thinking ans how it will change management education: An Interview and Discussion. Academy of Management Learning, 5(4), 512-523.

Marquardt. (1996). Building the Learning Organization. New York: McGraw-Hill.

Senge, P. (1990). The Fifth Discipline: The Art and Practice of Learning Organization. New York: Doubleday Currency.

Downloads

Published

2023-07-13