ครอบครัวไทย

Authors

  • เรวัต แสงสุริยงค์

Keywords:

ครอบครัว, ไทย, สังคมวิทยา, การสมรส

Abstract

          มนุษย์เป็นสัตว์สังคม อยู่รวมกันเป็นกลุ่มมีการกระทำระหว่างกัน (Interaction) เพื่อสนองความต้องการพื้นฐานต่อกัน ในการดำรงชีวิตของมนุษย์สังคมแรกหรือกลุ่มปฐมภูมิ (Primary group) ที่มนุษย์ทุกคนจะต้องเป็นสมาชิกก็คือ ครอบครัว (Family) ครอบครัวจึงเป็นสถาบันที่สำคัญที่สุด เป็นหน่วยของสังคมที่มีความสัมพันธ์และร่วมมืออย่างใกล้ชิดเป็นสถาบันที่คงทนที่สุด และยังไม่เคยปรากฎว่าสังคมมนุษย์ใดไม่มีสถาบันครอบครัวปรากฏอยู่ เพราะมนุษย์ทุกคนต้องอยู่ในสถาบันนี้ เนื่องจากเป็นสังคมกลุ่มแรกที่เราจะต้องเผชิญตั้งแต่แรกเกิดเติบโตในครอบครัว ครอบครัวจะให้ตำแหน่งชื่อ และสกุล ซึ่งเป็นเครื่องบอกสถานภาพและบทบาทในสังคมที่เรามีส่วนร่วมด้วย ตลอดจนกำหนดสิทธิและหน้าที่สมาชิกที่มีต่อกันและต่อสังคม (สุพัตรา สุภาพ 2529 : 65)

References

กฎหมายตราสามดวง เล่ม 1 พิมพ์ครั้งที่ 2 พระนคร : คุรุสภา, 2515

ขจร สุขพานิช, อยุธยาราชธานี. พิมพ์ครั้งที่ 1, กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา ลาดพร้าว, 2530

ชัย เรืองศิลป์. ประวัติศาสตร์ไทยสมัย พ.ศ. 2352-2453 ด้านสังคม. พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์เรืองศิลป์, 2514.

แชรแวส, นิโกลาส์. ประวัติศาสตร์ธรรมชาติและการเมืองแห่งราชอาณาจักรสยาม (ในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช). แปลโดย สันต์ ท.โกมลบุตร. พระนคร : สำนักพิมพ์ก้าวหน้า, 2506.

เฉลิม จันปฐมพงศ์ และคณะ. ประวัติศาสตร์สังคมไทย. นนทบุรี : สำนักพิมพ์ เสถียรไทย. 2520.

ถนอม อานามวัฒน์ และคณะ. ประวัติศาสตร์ไทยตั้งแต่สมัยเริ่มแรกจนถึงสิ้นอยุธยา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: อรมการพิมพ์, 2528.

บุญลือ วันทายนต์. ครอบครัวและวงศ์วาน. พิมพ์ครั้งที่ 4, กรุงเทพฯ : ประชาชน, 2525

ปาลเลกัวซ์, มงเซเญอร์. เล่าเรื่องกรุงสยาม. แปลโดย สันต์ ท.โกมลบุตร พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ก้าวหน้า, 2520

ปิยะฉัตร ปิตะวรรณ. ระบบไพร่ในสังคมไทย พ.ศ. 2411-2453. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2526

พิมาน แจ่มจรัส. ชุมชนจดหมายเหตุฝรั่งในเมืองไทย. ครั้งที่ 1 พระนคร : โรงพิมพ์ไทยสัมพันธ์, 2510.

Downloads

Published

2021-08-24