https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/buu/issue/feed วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 2021-08-30T09:48:48+00:00 huso huso@hotmail.com Open Journal Systems https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/buu/article/view/7634 ภูมินิทัศน์ วัฒนธรรม ภาคตะวันออก 2021-08-30T09:14:00+00:00 ภารดี มหาขันธ์ journalLibbuu@gmail.com <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ภาคตะวันออกประกอบด้วยพื้นที่ของ 8 จังหวัด คือ ปราจีนบุรี นครนายก ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด และสระแก้ว มีเนื้อที่ 36,502.5 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 22,814,062.5 ไร่ เท่ากับร้อยละ 7.11 ของเนื้อที่ประเทศ</p> 2021-08-30T00:00:00+00:00 Copyright (c) 2021 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/buu/article/view/7635 นักวิชาการเวียดนามกับมิติทางวิชาการว่าด้วย “ไทยศึกษา” 2021-08-30T09:23:22+00:00 อรรถ นันทจักร์ journalLibbuu@gmail.com <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; เมื่อกล่าวถึงงานวิชาการด้าน “ไทยศึกษา” เราคงต้องยอมรับว่าขอบเขตของการศึกษาเรื่องดังกล่าว&nbsp;ดูจะกินความ และกินอาณาเขตที่กว้างใหญ่ไพศาลอย่างมาก ทั้งนี้ก็ด้วยสาเหตุที่ว่า “ความเป็นไท” ตามความหมายของการแบ่งกลุ่มชาติพันธุ์นั้น คนไทได้กระจัดกระจายอยู่บริเวณต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นบางส่วนของประเทศจีน ในมณฑลยูนาน กวางสี กุยโจ เป็นต้น บางส่วนของอัสสัมในประเทศอินเดีย บางส่วนของประเทศพม่า บางส่วนของประเทศเวียดนามเช่นในจังหวัดไลโจ จังหวัดเชิลลา จังหวัดเง่ห์อาน และจังหวัดแทงฮัว เป็นต้น บางส่วนของลาว บริเวณแขวงทางภาคเหนือไม่ว่าจะเป็นซำเหนือ หัวพัน เซียงขวางและคำม่วน เป็นต้น หรือแม้แต่บางส่วนของประเทศไทย กลุ่มชนที่ถูกเรียกตัวเองว่าไทก็ได้กระจัดกระจายอยู่โดยทั่วไปโดยเฉพาะบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ</p> 2021-08-30T00:00:00+00:00 Copyright (c) 2021 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/buu/article/view/7636 เมืองพระนครของเขมร (ANGKOR) 2021-08-30T09:26:18+00:00 ศรุติ สกุลรัตน์ journalLibbuu@gmail.com <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; เมืองพระนคร (ANGKOR) เป็นชื่อที่ชาวกัมพูชาเริ่มใช้เรียกราชธานีของตน ซึ่งสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้ายโศวรมันที่ 1 (พ.ศ.1435) อันมีชื่ออย่างเป็นทางการว่า ยโศธรปุระ จากนั้นมีการสร้างและย้ายเมืองพระนครอีกหลายครั้ง ดังนั้นเมืองพระนครของพระเจ้ายโศวรมันที่ 1 จึงไม่ใช่พระนครหลวง หรือ พระนครธมที่อาจและเห็นกำแพงและประตูใหญ่ได้ในปัจจุบัน อย่างไรก็ตามก็ก่อสร้างเมืองพระนครใหม่อยู่ในบริเวณเดิม คือที่ราบตอนเหนือของทะเลสาปใหญ่จนถึงขอบที่ราบสูงของพนมกุเลน ทั้งนี้เนื่องจากเป็นเขตที่อุดมสมบูรณ์ 3 ประการ คือ น้ำ ปลา และข้าว</p> 2021-08-30T00:00:00+00:00 Copyright (c) 2021 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/buu/article/view/7637 เครื่องเคลือบบุรีรัมย์ 2021-08-30T09:29:20+00:00 สมมาตร์ ผลเกิด journalLibbuu@gmail.com <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; บุรีรัมย์เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือภาคอีสานและโดยที่จังหวัดบุรีรัมย์อยู่ทางตอนใต้ของภาคอีสานจึงถูกจัดให้อยู่ในกลุ่ม “อีสานใต้” อันประกอบด้วย จังหวัดอื่น ๆ อีก 7 จังหวัด อันได้แก่ ชัยภูมิ นครราชสีมา สุรินทร์ ศรีษะเกษ อุบลราชธานี ยโสธร และอำนาจเจริญ</p> 2021-08-30T00:00:00+00:00 Copyright (c) 2021 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/buu/article/view/7638 การสักของญี่ปุ่น 2021-08-30T09:35:59+00:00 นันท์ชญา มหาขันธ์ journalLibbuu@gmail.com <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ศิลปะกับมนุษย์เป็นของคู่กันมาตั้งแต่ครั้งมนุษย์อุบัติขึ้นในโลก มนุษย์เท่านั้นที่สร้างสรรค์งานศิลปะได้ด้วยแรงบันดาลใจรอบข้างและภายใน มนุษย์สร้างงานศิลปะขึ้นบนพื้นฐานแห่งสุนทรียะ จากการวาดภาพระบายสีซึ่งทำจากเลือดสัตว์ เปลือกไม้ หรือโคลนสีลงบนผนังถ้ำเพื่อบันทึกความประทับใจในเรื่องราวต่างๆ ให้คงไว้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้ สู่การวาดลวดลายลงบนภาชนะ ข้าวของเครื่องใช้ จนกระทั่งเติมแต่งสีสันลงบนร่างกายของมนุษย์เอง และเพื่อให้ลวดลายเขียนสีนั้นคงทนถาวรบนผิวหนัง มนุษย์จำเป็นต้องขีดข่วนผิวหนังบริเวณนั้นให้มีรอยแผลด้วย เพื่อสีที่ใส่ลงไปนั้นจะได้ซึมซาบและฝังแน่นบนผิวหนังจนกว่าชีวิตจะหาไม่ และนี่คือต้นกำเนิดของการสัก ความงามบนความเจ็บปวด ศิลปะบนเรือนร่างมนุษย์</p> 2021-08-30T00:00:00+00:00 Copyright (c) 2021 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/buu/article/view/7639 ภารกิจในการเป็นผู้นำและการจูงใจผู้ร่วมงาน 2021-08-30T09:42:44+00:00 สุพจน์ บุญวิเศษ journalLibbuu@gmail.com <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; “การบริหาร” เป็นคำนามที่แสดงออกถึงการกระทำหรือการปฏิบัติการบางอย่างที่เรียกว่า “บริหาร” นักวิชาการและผู้ปฏิบัติการทั้งหลายยอมรับและเห็นพ้องกันว่า การบริหารนั้นเป็นหน้าที่ของ “นักบริหาร” แต่สิ่งที่มักจะเห็นหรือเข้าใจแตกต่างออกไปก็คือ ความหมายของคำว่า “การบริหาร” บ้างก็ให้ความหมายว่าการบริหาร หมายถึง ตัวบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ทำหน้าที่เป็นผู้นำ บ้างก็ให้ความหมายว่า เป็นกระบวนการหรือวิธีการปฏิบัติงาน (process) บ้างก็ให้ความหมายในเชิงพฤติกรรมการร่วม (group behavior) ว่า เป็นการปฏิบัติงานให้สำเร็จโดยร่วมกับบุคคลอื่นการบริหารที่เข้าใจนั้น คืออะไร ทั้งนี้ ก็เนื่องมาจากความจริงที่ว่า การบริหาร เป็นคำสากลที่นิยมใช้กันเป็นประจำเหมือนกับคำต่าง ๆ เหล่านี้ เช่น การแพทย์ การโยธา การจราจร การขนส่ง เป็นต้น</p> 2021-08-30T00:00:00+00:00 Copyright (c) 2021 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/buu/article/view/7640 การใช้อินเตอร์เน็ตสนับสนุนการเรียนการสอน ด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 2021-08-30T09:45:34+00:00 เรวัต แสงสุริยงค์ journalLibbuu@gmail.com <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; การเรียนรู้ของมนุษย์เกิดขึ้นมาพร้อมกับที่มนุษย์กำเนิดขึ้นมาบนโลก ในสมัยดึกดำบรรพ์มนุษย์จะเรียนรู้ได้แต่เฉพาะสิ่งที่อยู่รอบ ๆ ตัวของเขาเท่าที่ระยะทางของประสาทสัมผัสจะรับได้ สิ่งที่เขาเรียนรู้จะเป็นเรื่องราวของธรรมชาติเป็นส่วนใหญ่ เพราะธรรมชาติที่อยู่รอบตัวเขาเป็นหัวใจสำคัญของการดำรงชีพและทำให้เขามีชีวิตอยู่รอด ไม่มีภาษาเขียนเป็นหลักสูตรให้คนรุ่นหลังได้เรียนรู้ว่าเขามีวิธีการดำรงชีวิตอย่างไร คงจะมีเพียงแต่ข้อสมมุติฐานของนักวิชาการเท่านั้นที่บอกเราว่าเขามีชีวิตอย่างไรกัน</p> 2021-08-30T00:00:00+00:00 Copyright (c) 2021