Higher Education Quality Administration in Thailand

การบริหารคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษาไทย

Authors

  • Banpot Wiroonratch

Keywords:

Education, Higher

Abstract

The research is aimed at studying relations between educational quality and higher educational administration in Thailand, gathering information through random sampling of 42 executives from 70 public and private universities involved in both internal and external educational quality assessment, under the announcement of external quality assessment results on October 14, 2006. The research finding was analyzed by means of Pearson Correlation and hypothesis testing with MANOVA.  The results of eight major factors of educational administration show consistent statistical relations with the higher educational quality assessment indicated that upgrading in all aspects of educational quality administration would bear some impacts on the assessment results. Budgeting administration showed the highest relation with educational quality assessment, as followed by transparency in management, legal issues, organizational structure and the surrounding of administration. Means of the higher educational quality assessment results in eight areas at the level of “Achievement” was higher than means of educational quality assessment at “Attempt" and "Awareness" levels. Among those with assessment results at “Awareness”, means in educational quality administration in terms of organizational structure, surrounding of administration, legal issues, quality assurance and general administration was higher than that of the “Awareness” group. In summary, for the universities, holding educational quality assessment results at “Awareness” and “Attempt” levels, to emerge to the higher level of “Achievement", emphasis should be placed on upgrading of educational quality in all aspects, notably in the areas of planning, organizational structure, surrounding of administration and legal issues. For those universities rated at “Awareness” to emerge to “Attempt" level, emphasis should be placed on upgrading of educational quality in terms of legal issues, quality assurances, and general administration.  งานวิจัยฉบับนี้เป็นงานวิจัยที่ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างมาตรฐานคุณภาพการศึกษากับการบริหาร คุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษาไทย โดยใช้การวิจัยแบบสุ่มตัวอย่างผู้บริหารมหาวิทยาลัยรัฐและเอกชน ที่เกี่ยวข้องกับการประเมินคุณภาพการศึกษาจากภายในและภายนอก จํานวน 70 แห่ง จากทั้งหมด 154 แห่งโดยใช้ผลการประเมินภายนอกที่ประกาศ ณ วันที่ 14 ตุลาคม 2548 เป็นข้อมูล ผลจากการวิจัยนํามา วิเคราะห์โดยใช้ค่าสถิติ Pearson Correlation และทําการทดสอบสมมุติฐานด้วยค่าสถิติ MANOVA  ผลจากการวิเคราะห์พบว่าการบริหารคุณภาพการศึกษาทั้ง 8 ด้านมีความสัมพันธ์ทางสถิติใน ทิศทางเดียวกับผลการประเมินมาตรฐานคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษาไทยนั้น คือ การเพิ่มระดับ การบริหารคุณภาพการศึกษาทุกด้านย่อมจะส่งผลต่อผลการประเมิน โดยการบริหารคุณภาพการศึกษา ด้านงบประมาณมีความสัมพันธ์สูงที่สุดกับผลการประเมินมาตรฐานคุณภาพการศึกษา รองลงมาเป็นด้านความ โปร่งใสในการบริหาร ด้านกฎหมาย ด้านโครงสร้างองค์การและสภาพแวดล้อมของการบริหาร โดยค่าเฉลี่ย ของระดับการบริหารคุณภาพการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาทั้ง 8 ด้านในกลุ่มที่ได้รับผลการประเมิน มาตรฐานคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษาไทยในระดับ ACHIEVEMENT จะมีค่าเฉลี่ยระดับการบริหาร คุณภาพการศึกษาสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับผลการประเมินในระดับ ATTEMPT และ AWARENESS ส่วน กลุ่มที่ได้ผลการประเมินในระดับ ATTEMPT ระดับการบริหารคุณภาพการศึกษาด้านโครงสร้างองค์การ และสภาพแวดล้อมของการบริหารการพัฒนา ด้านกฎหมาย ด้านหลักคุณภาพ และด้านการบริหารงาน ธุรการ มีค่าเฉลี่ยสูงกว่ากลุ่ม AWARENESS โดยภาพสรุปมหาวิทยาลัยที่ได้รับผลการประเมิน ในระดับ AWARENESS หรือ ATTEMPT จะพัฒนาไปสู่ระดับ ACHIEVEMENT นั้นจะต้องเพิ่มระดับ การบริหารคุณภาพการศึกษาทุกด้านให้สูงขึ้นโดยเฉพาะด้านการวางแผนดําเนินงาน ด้านโครงสร้างองค์การ และสภาพแวดล้อมของการบริหารการพัฒนา และด้านกฎหมาย ส่วนมหาวิทยาลัยที่ได้รับผลการประเมิน ในระดับ AWARENESS จะพัฒนาไปสู่ระดับ ATTEMPT นั้น จะต้องเพิ่มระดับการบริหารคุณภาพการศึกษา ด้านกฎหมาย ด้านหลักคุณภาพและด้านการบริหารงานธุรการ 

Downloads

Published

2023-06-16