Thai Passenger Car Demand Estimation
การประมาณอุปสงค์รถยนต์
Keywords:
Automobiles, Automobiles-Marketing, Demand (Economic theory)Abstract
The aim of this research is two-fold: to identify the major determinants for the Thai passenger car demand function and to quantify the market concentration of the Thai passenger car market. The new car sale and registration between 1998-2006 data sets from the top ten car manufacturers in 2006 were used for the study. The observation is 36 quarters range for the first quarter of 1998 to the fourth quarter of 2006. These top ten car producers were Toyota, Honda, Chevrolet, Mitsubishi, Nissan, Mazda, Mercedes-Benz, BMW, Ford and Volvo. The paper was divided into two parts. In the first part, the major demand determinants for the Thai passenger car were presented using the multiple regression analysis. The dependent variable, the quantity of the private passenger car sale, was regressed against the independent variables including the passenger car price, the income per capita, the pickup truck price, the retailed gasoline price, the advertising expense, the population, and the loan interest rate. The quarterly data sets between 19982006 was used in the multiple linear regression model to identify several statistics such as R. Adjusted R?, t-statistic, F-statistic, Durbin-Watson test, and coefficients of the independent variables in order to justify the model. Finally, the market concentration was quantified using two indicators: the concentration ratio (CR) and the Herfindahl Index. The results of the study are concluded that the major determinants for the Thai passenger car demand are the passenger car price, the pickup truck price, the retailed gasoline price, the advertising expense, the population, and the loan interest rate. All determinants are positively correlated with the quantity of the car sale except the retailed gasoline price that has a negative correlation. The car price is positively correlated at 82.83% confidence level while the pickup truck price, the advertising expense, the population, and the loan interest rate are also positively correlated at the confidence level of 64.75%, 85.27%, 99.82%, and 69.71% respectively. On the other hand, the retailed gasoline price is negatively correlated at the confidence level of 96.12%. In the later part, the results showed that the Thai passenger car industry experienced higher market concentration. The concentration ratio of the top two producers (CR2) was increased from 78.25% in 2005 to 82.05% in 2006. The concentration ratio of the top four producers (CR4) was also increased from 86.23% in 2005 to 89.60% in 2006. In addition, the Herfindahl Index was also increased from 0.33 in 2005 to 0.35 in 2006. These indicators suggested that the Thai passenger car competition was declined due to the increasing market share of the top producers. Since the top car producers are also the top car importers, the Thai passenger car market are dominated by 4-5 top producers. การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์สองประการคือ เพื่อหาปัจจัยที่เป็นตัวกําหนดฟังก์ชันอุปสงค์ของรถยนต์นั่งส่วนบุคคลในประเทศไทย และเพื่อศึกษาลักษณะและภาวะการกระจุกตัวของตลาดรถยนต์ นั่งส่วนบุคคลในประเทศไทย กําหนดขอบเขตของการวิจัยจากการวิเคราะห์โดยพิจารณาเฉพาะกรณีรถยนต์ใหม่หรือรถยนต์ที่ จดทะเบียนเป็นครั้งแรก ในช่วงปี พ.ศ. 2541-2549 ตั้งแต่ไตรมาสที่ 1 ปี พ.ศ.2541 ถึงไตรมาสที่ 4 ปี พ.ศ. 2549 รวม 36 ไตรมาสซึ่งผู้ประกอบธุรกิจรถยนต์นั่งส่วนบุคคล ในการวิเคราะห์ครั้งนี้ คือ ยี่ห้อ รถยนต์นั่งส่วนบุคคลที่มีจําหน่ายในประเทศ โดยพิจารณาเฉพาะผู้ประกอบการรถยนต์นั่งส่วนบุคคลที่มีส่วน แบ่งตลาดสูงสุด 10 อันดับแรก ในปี 2549 ได้แก่ ผู้ประกอบการรถยนต์นั่งส่วนบุคคลยี่ห้อ โตโยต้า ฮอนด้า เชพโรเล็ต มิตซูบิชิ นิสสัน มาสด้า เบนซ์ บีเอ็มดับเบิ้ลยู ฟอร์ด และวอลโว่ โดยใช้ชื่อยี่ห้อเป็นตัวแทนของ - ผู้ประกอบการ การศึกษาครั้งนี้ได้แบ่งการศึกษาออกเป็นสองส่วนคือ ส่วนที่ 1 ศึกษาปัจจัยที่เป็นตัวกําหนดฟังก์ชันอุปสงค์ของรถยนต์นั่งส่วนบุคคลในประเทศไทย ทําการ วิเคราะห์ปัจจัยต่าง ๆ ที่เป็นตัวกําหนดฟังก์ชันอุปสงค์รถยนต์นั่งส่วนบุคคลโดยวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่าง ปริมาณอุปสงค์ของรถยนต์นั่งส่วนบุคคลซึ่งเป็นตัวแปรตามกับตัวแปรอิสระคือ ปัจจัยต่าง ๆ ที่คาดว่าจะมี ผลกระทบ ได้แก่ ราคารถยนต์นั่งส่วนบุคคล รายได้เฉลี่ยต่อหัวของประชากร ราคารถปิคอัพ ราคาน้ํามัน เบนซินขายปลีก ค่าใช้จ่ายในการโฆษณา จํานวนประชากร และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ โดยวิธีการวิเคราะห์ทาง เศรษฐมิติ ที่เรียกว่าการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) รูปแบบของสมการ ที่ใช้อยู่ในรูปของสมการถดถอยเส้นตรงพหุคูณ (Multiple Linear Regression) ค่าต่าง ๆ ที่ใช้ในการ วิเคราะห์จะคํานวณออกมาโดยใช้โปรแกรมสําเร็จรูปของคอมพิวเตอร์ และใช้ข้อมูลทุติยภูมิรายไตรมาสที่ เก็บรวบรวมตั้งแต่ปี 2541-2549 ซึ่งค่าต่าง ๆ ได้แก่ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (R) ค่าสัมประสิทธิ์ สหสัมพันธ์ที่ปรับค่าแล้ว (Adjusted RP) การทดสอบค่าที (t-test) การทดสอบค่าเอฟ (F-test) ค่าเดอร์บิน-วัตสันเทส (Durbin-Watson test) ค่าสัมประสิทธิ์ของตัวแปรอิสระ (Variable Coefficient) ส่วนที่ 2 ศึกษาลักษณะและภาวะการณ์กระจุกตัวของตลาดรถยนต์นั่งส่วนบุคคลในประเทศไทย เป็นการวิเคราะห์เชิงปริมาณ โดยนําข้อมูลทุติยภูมิที่ได้รวบรวมไว้มาทําการศึกษาและทําการวิเคราะห์ โดยใช้ปัจจัยที่เป็นตัวชี้วัดได้แก่อัตราการกระจุกตัว (Concentration Ratio : CR) ดัชนีเฮอร์ฟินดัล (Herfindahl Index) ผลการวิจัยพบว่า ส่วนที่ 1 ศึกษาปัจจัยที่เป็นตัวกําหนดฟังก์ชันอุปสงค์ของรถยนต์นั่งส่วนบุคคลในประเทศไทย ใช้วิธีการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ด้วยวิธีกําลังสองน้อยที่สุดทั่วไป (Ordinary Least Square : OLS) สรุปได้ว่า อุปสงค์รถยนต์นั่งส่วนบุคคลในประเทศไทย พบว่า ปัจจัยที่มีผลกระทบได้แก่ ราคารถยนต์นั่งส่วนบุคคล ราคา รถปิคอัพ ราคาน้ำมันเบนซินขายปลีก ค่าใช้จ่ายในการโฆษณา จํานวนประชากร และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ โดยที่ราคารถยนต์นั่งส่วนบุคคล ราคารถปิคอัพ ค่าใช้จ่ายในการโฆษณา จํานวนประชากร และอัตราดอกเบี้ยเงิน กู้ มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับอุปสงค์รถยนต์นั่งส่วนบุคคล ซึ่งราคารถยนต์นั่งส่วนบุคคลมีความ สัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกับปริมาณอุปสงค์รถยนต์นั่งส่วนบุคคล ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 82.83 ราคารถปิคอัพ มีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกับปริมาณอุปสงค์รถยนต์นั่งส่วนบุคคล ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 64.75 ค่าใช้จ่ายในการโฆษณามีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกับปริมาณอุปสงค์รถยนต์นั่งส่วนบุคคล ที่ระดับความ เชื่อมั่นร้อยละ 85.27 จํานวนประชากรมีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกับปริมาณอุปสงค์รถยนต์นั่งส่วนบุคคล ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 99.82 และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้มีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกับปริมาณอุปสงค์ รถยนต์นั่งส่วนบุคคล ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 69.71 ส่วนราคาน้ํามันเบนซินขายปลีกมีความสัมพันธ์ไป ในทิศทางตรงกันข้ามกับปริมาณอุปสงค์รถยนต์นั่งส่วนบุคคล ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 96.12 ส่วนที่ 2 ศึกษาลักษณะและภาวะการณ์กระจุกตัวของตลาดรถยนต์นั่งส่วนบุคคลในประเทศไทย - โดยการศึกษาถึงอุตสาหกรรมรถยนต์ในประเทศไทย ด้วยวิธีการพรรณนาร่วมกับสถิติอย่างง่าย สําหรับลักษณะ และภาวะการณ์กระจุกตัวใช้ปัจจัยที่เป็นตัวชี้วัด คือ อัตราการกระจุกตัว (Concentration Ratio : CR) และ ดัชนีเฮอร์ฟินดัล (Herindahl Index) ผลการศึกษาพบว่าโครงสร้างของอุตสาหกรรมรถยนต์ในประเทศไทย มีแนวโน้มการกระจุกตัวของส่วนแบ่งตลาดเพิ่มขึ้น จากการกระจุกตัวของส่วนแบ่งตลาด 2 ราย (CR2) ร้อยละ 78.25 ในปี 2548 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 82.05 ในปี 2549 และค่าการกระจุกตัวของส่วนแบ่งการตลาด 4 ราย (CR4) เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 86.23 ในปี 2548 เป็นร้อยละ 89.60 ในปี 2549 รวมทั้งการที่ค่าดัชนี เฮอร์ฟินดัลมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากปี 2548 ที่มีค่าเท่ากับ 0.33 เป็น 0.35 ในปี 2549 แสดงโครงสร้างของ อุตสาหกรรมรถยนต์มีการแข่งขันลดลง โดยผู้ประกอบการรถยนต์นั่งส่วนบุคคลรายใหญ่ยังคงครองส่วนแบ่ง ตลาดได้เป็นส่วนใหญ่ ทั้งนี้เนื่องจากผู้ประกอบการรถยนต์นั่งส่วนบุคคลรายใหญ่จะเป็นผู้นําเข้ารายใหญ่ด้วย ดังนั้นส่วนแบ่งตลาดรถยนต์นั่งส่วนบุคคลในประเทศไทยจะถูกครอบครองโดยรถยนต์นั่งส่วนบุคคลเพียง 4-5 ยี่ห้อเท่านั้นDownloads
Published
2023-06-16
Issue
Section
Articles