การพัฒนารูปแบบการบริหารคุณภาพด้านการอนุรักษ์พลังงาน กรณีศึกษา บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน)
Keywords:
บริษัท ไออาร์พีซี, การบริหาร, การอนุรักษ์พลังงาน, การจัดการองค์การ, การควบคุมคุณภาพ, รางวัลคุณภาพแห่งชาติAbstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารคุณภาพด้านการอนุรักษ์พลังงาน ของบริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) โดยใช้รูปแบบของการวิจัยเชิงผสมผสาน (Mixed Methodology Designs) ซึ่งประกอบไปด้วยการวิจัยเชิงปริมาณ สำหรับการวิจัยเชิงกึ่งทดลอง (Quasi Experimental Design) ทำการทดสอบก่อน-หลังการทดลองโดยมีกลุ่มควบคุม และใช้สิ่งที่ทดลอง (Treatment) โดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (PAR) ดำเนินการตามกระบวน การวิจัย ผู้วิจัยได้ร่วมกับทีมวิจัยศูนย์อนุรักษ์พลังงานของโรงงาน ทำการบูรณาการเครื่องมือทางการบริหาร ในการพัฒนารูปแบบการบริหารคุณภาพด้านการอนุรักษ์พลังงาน ตามเกณฑ์เพื่อการดำเนินงานที่เป็นเลิศทั้ง 7 ด้านของรางวัลคุณภาพแห่งชาติ (TQA) การบริหารแบบสมดุล (BSC) กับการจัดทำระบบจัดการพลังงาน (EMS) พัฒนาจนได้รูปแบบ การบริหารคุณภาพด้านการอนุรักษ์พลังงาน และนำไปใช้กับหน่วยงานทั้ง 5 โรงงาน ซึ่งเป็นกลุ่มทดลอง ดำเนินการตามกระบวนการ เสร็จแล้วทำการทดสอบ ประเมินผลลัพธ์ของการปฏิบัติการเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมอีก 5 โรงงานที่ไม่ให้สิ่งที่ทดลอง โดยมีผู้เกี่ยวข้องให้ข้อมูลตอบแบบสอบถาม สำหรับการทดสอบก่อนและหลังการทดลองกลุ่มละ 45 คน รวมเป็นทั้งหมด 90 คน แล้วทำการวิเคราะห์ผลเปรียบเทียบ โดยใช้โปรแกรม SPSS AMOS V.16 โดยผลการวิจัย พบว่า 1.ผลการทดสอบปรากฏว่า ค่าสัมประสิทธิ์เส้นทางระหว่าง PAR กับ Posttest มีค่าเท่ากับ 0.48 ในหน่วยคะแนนมาตรฐาน หรือ 1.06 ในหน่วยคะแนนดิบ สรุปผลได้ว่าประสิทธิภาพของรูปแบบการบริหารคุณภาพของกลุ่มทดลองภายหลังการทดลอง (Posttest) โดยให้สิ่งที่ทดลอง (Treatment) โดยกระบวนการ PAR มีค่าสูงกว่ากลุ่มควบคุม ส่วนกลุ่มควบคุมไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ และผลของการทดสอบเป็นไปตามสมมุติฐานของการวิจัยที่ตั้งไว้ 2. การทดสอบก่อนการทดลอง (Pretest) มีอิทธิพลในทางบวกต่อการทดสอบหลังการทดลอง เมื่อคะแนน Pretest เปลี่ยนแปลงไป 1 ค่าจะส่งผลให้คะแนน Posttest เปลี่ยนแปลงไปในทิศทางเดียวกัน 0.629 คะแนนดิบหรือ 0.41 คะแนนมาตรฐาน โดยควบคุมกลุ่มทั้ง 2 ให้คงที่แล้วซึ่งผลวิจัยพบว่า ภายหลังการทดลองที่มีการใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมแล้วจะมีประสิทธิภาพในการบริหารคุณภาพตามรูปแบบมากยิ่งขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับผลก่อนการทดลอง 3. ผลของการพัฒนารูปแบบการบริหารกับองค์การการจัดการด้านพลังงาน โดยบูรณาการเครื่องมือทางการบริหารในระบบจัดการพลังงาน (EMS) ทีม่ ี 8 ขัน้ ตอน การบรหิ ารตามแนวทางรางวัลคุณภาพแห่งชาติ (TQA) ที่มี 7 ด้าน การบริหารแบบสมดุล (BSC) ที่มี 4 มิติ ร่วมกันพัฒนาจนได้รูปแบบการบริหารคุณภาพด้านการอนุรักษ์พลังงาน และผลของการปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมทำให้ได้รูปแบบที่เหมาะสม และพนักงานผู้ปฏิบัติการในโรงงานต่างก็มีความพึงพอใจในคุณภาพของการให้บริการตามรูปแบบเพิ่มมากขึ้น โดยมีตัวแปรแฝงที่พนักงานผู้ปฏิบัติการด้านอนุรักษ์พลังงานในโรงงานมีความพึงพอใจมากที่สุดคือ ด้านการนำองค์การ และด้านผลลัพธ์ของการปฏิบัติการร่วมกันเป็นไปอย่างมีคุณภาพ จึงทำให้มีประสิทธิภาพของรูปแบบในการบริหารคุณภาพด้านการอนุรักษ์พลังงาน ในองค์การของโรงงานมีเพิ่มมากขึ้น The purpose of this research was to study the development of quality management model in Energy Conservation of the IRPC Public Company Limited. This research was designed and applied by using mixed methodology which consisted of quantitative quasi experimental design. The pretest and posttest were treated on control and treatment groups by using PAR process. The researcher along with the research team in the Energy Conservation Center of the plant designed and developed the research tool in the quality management based on the seven criterions of Thailand Quality Award (TQA), Balanced Score-card (BSC) and Energy Management System (EMS). After completion of formulated model, it was applied to the experimental group in five plants. Then the outcome evaluation was compared with the control group between the pretest and posttest. The sample consisted of 45 energy operators who were selected from each of the five plants by means of simple random sampling. The data were collected by seven categories of TQA’s concept and 48 questionnaires. The data were analyzed by descriptive statistics by using SPSS AMOS Version 16. The research findings were as follow: 1. The results have shown that the path coefficient of SEM between PAR and posttest were 0.48 standardized score or 1.06 unconstrained score. The meaning of this test determined that the quality management model efficiency of the experimental group by PAR showed higher than the control group, but there was nothing changed in the control group. The test results were complied with its research hypothesis. 2. The results of the pretest positively influenced the posttest whenever the pretest scores changed for one unit. It affected the posttest scores to change in the same direction to 0.629 raw score or 0.41 standardized score. It was found that the posttest through PAR showed more efficiency in quality management as compared with the pretest. 3. The operators were satisfied with the eight steps of the new model of the integration to quality management model set up from EMS, seven categories of TQA and four perspectives of BSC. The analysis of latent construction which affected the operators’ positive satisfaction . They were impressed with the importance of energy conservation management in leading organization and the results of this research affected directly to the succession of the development model and showed more efficiency and effectively.Downloads
Issue
Section
Articles