ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของปู้บริหารกับองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3

Authors

  • ชลธิชา อนันต์นาวี
  • ภารดี อนันต์นาวี
  • เจริญวิชญ์ สมพงษ์ธรรม
  • ชารี มณีศรี

Keywords:

ภาวะผู้นำ, การเปลี่ยนแปลง, องค์การแห่งการเรียนรู้, สถานศึกษา

Abstract

         วัตถุประสงค์ของการศึกษาวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารกับองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นทีการศึกษาประถมศึกษา ชลบุรี เขต 3 จำแนกตามประเภทของสถานศึกษาและประสบการณ์ของผู้บริหาร รวมทั้งเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างด้านภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุนร เขต 3 จำนวน 281 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ คะแนนเฉลี่ยและความเบี่ยงเบนมาตรบาน การทดสอบค่าที ค่าสัมประสิทธิ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า          1. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา และองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ชลบุรี เขต 3 โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก          2. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สงกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3 จำแนกตามประเภทของสถานศึกษา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และจำแนกตามประสบการณ์ของผู้บริหาร แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ          3. องค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรีเขต 3 จำแนกตามประเภทของสถานศึกษา แตกต่งกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และจำแนกตามประสบการณ์ของผู้บริหาร แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ          4. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา มีความสัมพันธ์กับองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับสูงมาก อย่างมีนัยสำตัญทางสถิติที่ระดับ .01           The purposes of this research were to study and compare the level of transformational leadership of school administrators and the level of the learning organization of school under Chon Buri Primary Educational Service Area Office 3, as classified by school type and working experiences of school administrators, and to find out the relationship between transformational leadership of school administrators and learning organization of school. The sample used in the study consisted of 281 teachers working in the schools under Chon Buri Primary Educational Service Area Office 3. The instrument used for the data collecting was a five leveled rating scale questionnaire. The statistics utilized in analyzing the data were mean, standard deviation, t-test, Pearson product moment correlation coefficient. The results of the study were as follow:          1. The transformational leadership of school administrators and the learning organization of schools under Chon Buri Primary Educational Service Area Office 3 were rated at a high level.          2. The comparison of transformational leadership of school administrators under Chon Buri Primary Educational Service Area Office 3 classified by school type was found to have statistically  significantly different at the level of .05 but when classified by working experiences of school administrators was found to have no significantly difference.          3. The comparison of learning organization of schools under Chon Buri Primary Educational Service Area Office 3 classified by school type, were found to have statistically significant difference at the level of .05 but when classified by working experiences of school administrators were found to have no statistically significant difference.          4.  The transformational leadership of school administrators and the learning organization of schools under Chon Buri Primary Educational service Area Office 3 had significantly positive relationship at the level of .01 at a highest level.

Downloads