การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้กลุ่มสาระ การเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) เพื่อเสริมสร้างทักษะการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

Authors

  • กรรณิกา ประพันธ์
  • วิชิต สุรัตน์เรืองชัย
  • ไพรัตน์ วงษ์นาม

Keywords:

ภาษาอังกฤษ, การศึกษาและการสอน, ประถมศึกษา, การอ่าน, ทักษะทางการอ่าน

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานที่จำเป็นในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ 2) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ 3) ประเมินผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านเกาะโพธิ์ (วันครู 2500) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรีเขต 2 จำนวน 60 คน แบ่งออกเป็นกลุ่มทดลอง 31 คน และกลุ่มควบคุม 29 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ รูปแบบการจัดการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ และแบบสอบถามเจคติต่อการเรียนภาษาอังกฤษ วิธีดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ศึกษาข้อมูลพื้นฐานที่จำเป็นในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ ระยะที่ 2 ดำเนินการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ และระยะที่ 3 ประเมินผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ Hotelling’s t2 และ t-test          ผลการวิจัยพบว่ารูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วยขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ 6 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 แนะนำสำรวจ (Introduction) ขั้นที่ 2 ตรวจความรู้เดิม (Experience) ขั้นที่ 3 เพิ่มความรู้ใหม่ (Exploration) ขั้นที่ 4 ใส่ใจฝึกอ่าน (Practice) ขั้นที่ 5 สร้างสรรค์ชิ้นงาน (Production) ขั้นที่ 6 ร่วมกันสรุป (Conclusion) ผลการประเมินผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ ดังกล่าว พบว่าสามารถเสริมสร้างทักษะการอ่านภาษาอังกฤษและเจตคติต่อการเรียนภาษาอังกฤษให้แก่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยทักษะการอ่านภาษาอังกฤษและเจตคติต่อการเรียนภาษา อังกฤษของนักเรียนหลังใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นสูงกว่าก่อนใช้รูปแบบการจัดการ เรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุม พบว่า ทักษะการอ่านภาษาอังกฤษและเจตคติต่อการเรียนภาษา อังกฤษของนักเรียนกลุ่มทดลอง ที่ใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นสูงกว่าทักษะการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนกลุ่มควบคุม ที่ใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05           The objectives of this research were to 1) study fundamental information for instructional model development 2) conduct instructional model development 3) evaluate instructional model implementation. The sample consisted of 60 PrathomSuksa 6 students of Ban Kophoe (Wankru 2500) School under Chon Buri Primary Educational Service Area Office 2, and were separated to two groups. One was an experimental group of thirty-one students, and the other one was a control group of twenty-nine students. The instruments were instructional model, teaching plan, English reading skill test, and English learning attitudes questionnaire. The research process comprised of three phases; the first phase was to study fundamental information for instructional model development, the second was conducting instructional model development, and the third was evaluation of instructional model implementation. Statistical devices used for data analysis was Hotelling’s t2 and t-test           The results of this research indicated that the instructional model developed by the researcher had six steps. The first step was Introduction, the second was Experience, the third was Exploration, the fourth was Practice, the fifth was Production, and the sixth was Conclusion. The results of implementation of the instructional model revealedthat after learning English, reading skills and attitudes towards English were statistically significantly higher than before at learning .05 level. English reading skills and attitudes towards English learning of students in experimental group were statistically significant higher than control group at .05 level.

Downloads