การพัฒนาหลักสูตรบูรณาการสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กรณีศึกษาโรงเรียนบ้านเขาหิน ตามแนวทฤษฎีการสร้างสรรค์ด้วยปัญญา

Authors

  • จริญญา ไศลบาท
  • ปริญญา ทองสอน
  • วิชิต สุรัตน์เรืองชัย

Keywords:

โรงเรียนบ้านเขาหิน, การศึกษา, หลักสูตร, การประเมินหลักสูตร, ทฤษฎีการสร้างสรรค์ด้วยปัญญา

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนาหลักสูตรบูรณาการ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กรณีศึกษาโรงเรียนบ้านเขาหิน ตามแนวทฤษฎีการสร้างสรรค์ด้วยปัญญา (Constructionism) และเพื่อประเมินประสิทธิภาพการใช้หลักสูตรบูรณาการ การวิจัยครั้งนี้เป็นการดำเนินการตามรูปแบบ การวิจัยและพัฒนาแบ่งการดำเนินการเป็น 3 ระยะ คือระยะที่ 1 การพัฒนาหลักสูตรบูรณาการ ระยะที่ 2 การประเมินคุณภาพหลักสูตรบูรณาการและระยะที่ 3 การประเมินประสิทธิภาพหลักสูตร โดยการทดลองใช้หลักสูตรบูรณาการ เป็นการนำหลักสูตรบูรณาการที่ปรับปรุงแล้วไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งเป็นนักเรียนโรงเรียนบ้านเขาหิน จำนวน 25 คน รูปแบบการทดลองเป็นแบบกลุ่มเดียว สอบก่อนและสอบหลังวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ t-test ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Windows          ผลการวิจัยพบว่า          1. ผลการพัฒนาหลักสูตรบูรณาการ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กรณีศึกษาโรงเรียนบ้านเขาหิน ตามแนวทฤษฎีการสร้างสรรค์ด้วยปัญญามีความสอดคล้องในการประเมินคุณภาพหลักสูตรโดยผู้เชี่ยวชาญ ในระดับมาก          2. ผลการประเมินหลักสูตรบูรณาการ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กรณีศึกษา โรงเรียนบ้านเขาหิน ตามแนวทฤษฎีการสร้างสรรค์ด้วยปัญญา มีรายละเอียดดังนี้             2.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้หลักสูตรบูรณาการหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01             2.2 เจตคติของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้หลักสูตรบูรณาการ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กรณีศึกษา โรงเรียนบ้านเขาหิน ตามแนวทฤษฎีการสร้างสรรค์ด้วยปัญญาในระดับมาก           The purposes of this research were to develop an integrated curriculum at Prathomsuksa V level effects of the learning and development program by following the research and development pattern and dividing the study into 3 phases as follows; Phase 1, integrated curriculum development. Phase 2, integrated curriculum assessment. Phase 3, course effectiveness will be assessed using the learning program try out with the sample group of 25 students in Prathomsuksa V of Bankhaohin school. The experiment pattern was One Group Pre-Test Post-Test Design with attitude measurement for sample group by SPSS for Windows, the results were:          1.  An integrated curriculum development for Prathomsuksa V students that was implemented by constructionism theory: a case study of Bankhaohin school assessed by specialists had high level of opinions.          2.  An integrated curriculum development for Prathomsuksa V students that was implemented by constructionism theory: a case study of Bankhaohin school, the results were;             2.1  Achievements of the sample group in term of posttest score were higher than pretest score with statically significant difference at the level of .01.             2.2  Attitude towards integrated curriculum development for Prathomsuksa V students that was implemented by constructionism theory: a case study of Bankhaohin school in term of mean score level was high.

Downloads